แนวทางการบรรยายเนื้อหารายวิชากฎหมายว่าด้วยสถาบันการเงิน
-------------------------------------
นักศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชา กฎหมายสถาบันการเงิน ฯ ให้เตรียมตัวดังนี้
(๑) พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑
(๒) พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑
(สามารถติดตามได้ที่ร้านถ่ายเอกสารคณะ)
(๑) แนวทางการบรรยาย
สำหรับแนวการบรรยายมีดังต่อไปนี้ (น.ศ.สามารถโหลดข้อมูลในบล็อคหัวข้อ สถาบันการเงินไปอ่านล่วงหน้าได้) เนื้อหาแบ่งเป็น ๘ บท ดังนี้
บทที่ ๑ สังคม เศรษฐกิจและสถาบันการเงิน
๑.๑ เศรษฐกิจระดับโลกและวิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจ
๑.๒ พัฒนาการของระบบสถาบันการเงิน
๑.๓ ระบบสถาบันการเงินของประเทศไทย
บทที่ ๒ พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑
๒.๑ ความหมายของธุรกิจสถาบันการเงิน
๒.๒ การขอใบอนุญาตจัดตั้ง
๒.๓ โครงสร้าง และผู้ถือหุ้น
๒.๔ การประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน
๒.๔.๑ ธุรกิจธนาคารพาณิชย์
๒.๔.๒ ธุรกิจเงินทุน
๒.๔.๓ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
๒.๔.๔ ธุรกิจทางการเงินอื่น
๒.๕ การรับฝากเงิน
๒.๖ การให้สินเชื่อ
๒.๖.๑ นโยบายเรื่องสินเชื่อ
๒.๖.๒ การจัดชั้นสินเชื่อ
๒.๖.๓ การประเมินราคาหลักประกัน
๒.๖.๔ แนวทางการพิสูจน์สินเชื่อและการสอบทานภาระสินเชื่อ
๒.๗ ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ
๒.๗.๑ ธุรกรรมการค้ำประกัน
๒.๗.๒ ธุรกรรมการเช่าซื้อ
๒.๗.๓ ธุรกรรมการให้เช่าแบบลีสซิ่ง
๒.๗.๔ ธุรกรรมการซื้อขายล่วงหน้า
๒.๗.๕ ธุรกรรมด้านการประกันภัย
๒.๗.๖ ธุรกรรมการรับโอนลูกหนี้
๒.๗.๗ ธุรกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์
๒.๗.๘ ธุรกรรมแฟกตอริ่ง
๒.๗.๙ การให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
บทที่ ๓ ผู้บริหารสถาบันการเงิน
๓.๑ ผู้บริหารสถาบันการเงิน
๓.๒ หลักบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง
๓.๓ หลักความรับผิดชอบร่วมกัน
๓.๔ ผู้บริหารกับหลักธรรมาภิบาล
๓.๕ ความรับผิดที่เกิดจากการกระทำโดยทุจริตของผู้บริหารสถาบันการเงิน
บทที่ ๔ การกำกับดูแลสถาบันการเงินโดยทางการ
๔.๑ นโยบายการกำกับดูแลสถาบันการเงิน
๔.๒ การกำกับแบบรวมกลุ่ม
๔.๓ การกำกับลูกหนี้สถาบันการเงินรายใหญ่
๔.๔ การตรวจสอบ แก้ไข และควบคุมสถาบันการเงิน
บทที่ ๕ สถาบันการเงินกับแนวทางการบริหารความเสี่ยง
๕.๑ การดำรงเงินกองทุน
๕.๒ การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
๕.๓ แนวปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน
บทที่ ๖ การสร้างความเป็นธรรมต่อลูกค้าและคุ้มครองผู้บริโภค
๖.๑ การติดตามทวงหนี้
๖.๒ การกำหนดอัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม
๖.๓ ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
บทที่ ๗ บทบาทของสถาบันการเงินในการส่งเสริมมาตรการการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
บทที่ ๘ ธนาคารแห่งประเทศไทย
๘.๑ บทบาทหน้าที่ของธนาคารกลาง
๘.๒ ความเป็นอิสระของธนาคารกลาง
(๒) การวัดและประเมินผล
สอบเก็บคะแนน ๔๐ คะแนน (ทดสอบย่อย/นัดหมายในชั้นเรียน ๘ ครั้งๆ ละ ๕ คะแนน)
สอบปลายภาค ๖๐ คะแนน (ไม่อนุญาตให้นำเอกสารเข้าห้องสอบ)
-------------------------
กิตติบดี
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สถาบันการเงิน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สถาบันการเงิน แสดงบทความทั้งหมด
วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552
วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552
กฎหมายสถาบันการเงิน : ขอบเขตการสอบปลายภาคการศึกษาต้น/๒๕๕๒
ประเด็นทบทวน-สรุปขอบเขตการสอบ (เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๒)
(๑) ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจสถาบันการเงินกับระบบเศรษฐกิจ
(รวมถึงบทบาทสำคัญของธุรกิจสถาบันการเงินกับการพัฒนาประเทศ) มีขอบเขตเนื้อหาดังต่อไปนี้
- ประเด็นธุรกิจสถาบันการเงิน
- วิวัฒนาการ (จากสังคมเกษตรกรรม เกษตรเพื่ออุตสาหกรรม และอุตสาหกรรม)
โดยจุดเริ่มต้นของสถาบันการเงินจากนโยบายทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน ในฐานะแหล่งทุน มาจนกระทั่งสถาบันการเงินเป็นกุญแจสำคัญในการเข้าสู่ตลาดทางการค้าและปรับบทบาทมาเป็นผู้ประกอบธุรกิจการค้าและลงทุน
- ความหมายของ "ธุรกิจสถาบันการเงิน"
จากธุรกิจทางการเงินแต่ละประเภท ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ ฯลฯ
ไปสู่การประกอบธุรกรรมทางการเงินที่หลากหลายและซับซ้อนขึ้น หรือที่เรียกว่า Universal Banking /Financial Supermarket (Bazaar)
- ประเภทของสถาบันการเงิน
ให้พิจารณาจากหลัก High risk high return ซึ่งมีผลทำให้แนวทางจากเดิมที่สถาบันการเงินยึดถือตามหลัก credibility มาเป็นการสร้างเสถียรภาพ/ความมั่นคง ตามหลัก stability แทน
โดยภายใต้ความซับซ้อนและความเสี่ยงที่มากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีมาตรการทางกฎหมายมารองรับการดำเนินงานของสถาบันการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่าง //ให้นศ.ศึกษาข้อเท็็จจริงกรณี The Lehman brother groups ของประเทสสหรัฐอเมริกา//
- เพราะเหตุใดถึงต้องปรับเปลี่ยนบทบาทเป็น Universal Banking
(อธิบาย) (๑) ธนาคารพาณิชย์เป็นตัวกลางของระบบเศรษฐกิจ
(๒) ธนาคารพาิชย์เป็นระบบเศรษฐกิจ
- มาตรการรองรับในการปรับตัวเป็น Universal Banking
(๑) แผนพฒนาระบบสถาบันการเงิน (แผนแม่บท)
(๒) การควบรวมกิจการ และโอนกิจการ
(๓) นโยบายรัฐการในการให้ใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์รายใหม่
(๔) การพัฒนาระบบตลาดทุน (ตลาดหลักทรัพย์)
(๕) การปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อประโยชน์ต่อบริบททางเศรษฐกิจ
ได้แก่ กฎหมายธุรกิจสถาบันการเงิน และกฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทย (ปี ๒๕๕๑)
------------------------------------------------
(๒) สาระสำคัญของกฎหมายธุรกิจสถาบันการเงิน
หลักการ (๑) หลักความเชื่อมั่น และ (๒) หลักการสร้างเสถียรภาพ --พิจารณาจากหมายเหตุท้ายกฎหมาย
๒.๑ หลักความเชื่อมั่น (ศรัทธา)
ประการแรก การขอใบอนุญาต
- รูปแบบองค์กรธุรกิจ ?
- Good Corporate Governance (GCG.)
ประการทีสอง คน (ในฐานะเจ้าของกิจการและผู้บริหาร)
- ศักยภาพ (เงิน)
- ความสามารถ (เชี่ยวชาญทางการเงิน)
- ความน่าเชื่อถือ (ดี/โปร่งใส)
ข้อพิจารณา กรณีผู้บริหารสถาบันการเงิน Board of Director
- พิจารณาจากผู้ที่มีอำนาจจริงในการกำหนดนโยบายของธนาคาร
- พิจารณาคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (credit / good faith/ conflict of interest / good governance)
- พิจารณาถึงหลักในการบริหารงานตามมาตรา ๒๗ ได้แก่ (๑) บุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง (Professional duty of care) และ (๒) หลักความรับผิดชอบร่วมกัน
ประการที่สาม โครงสร้างและผู้ถือหุ้น
- การควบคุมโครงสร้าง เพื่อป้องกันการครอบงำทางธุรกิจ และผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
- ผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๕ มีข้อยกเว้น?
- การถือครองหุ้นสถาบันการเงินในแต่ละรายต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ มีข้อยกเว้น?
ประการที่สี่ การตรวจสอบโดยทางการ
- การตรวจสอบและสอบทางการให้สินเชื่อ (มาตรา ๔๘-๕๒) และการกำกับทั่วไป (มาตรา ๘๐-๘๓)
- มาตรการทางกฎหมายในการรองรับความเสี่ยง (ตามหลักเกณฑ์บาสเซิล ๒)
ได้แก่ การดำรงเงินกองทุนและสินทรัพย์สภาพคล่อง (มาตรา ๒๙-๓๒)
การจัดชั้นสินทรัพย์และการกันเงินสำรอง (มาตรา ๖๐-๖๒)
การบริหารสินทรัพย์และการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (มาตรา ๖๓-๖๕)
- การเข้าควบคุมและแก้ไขสถานะ
ได้แก่ (๑) มาตรการให้สถาบันการเงินต้องจัดทำบัญชีและรายงาน สอบบัญชีตามมาตรฐานวิชาชีพและหลักสากล
(๒) การนำระบบบริหารจัดการที่ดี ตามมาตรา ๘๔
(๓) การแต่งตั้งผู้ตรวจการสถาบันการเงิน (การเตือน/การมีคำสั่งห้าม/การมีคำสั่งถอดถอน/การมีคำสั่งแก้ไข/การระงับการดำเนินการ/การสั่งควบคุม และการสั่งปิดสถาบันการเงิน ///ขอให้เทียบเคียงกับกรณีที่ยกตัวอย่างในชั้นเรียน Federal Deposit Insurance Corporation, FDIC (สถาบันประกันเงินฝาก) และกรณีการจัดตั้ง Bridge Bank เพื่อแก้ไขปัญหาธนาคารที่ปิดกิจการ
๒.๒ การสร้างเสถียรภาพของสถาบันการเงิน
มีประเด็นพิจารณาดังนี้
- การดำรงเงินทุนสำรอง
- การควบรวมโอนกิจการ
- การขยายขอบเขตธุรกิจสถาบันการเงินและธุรกรรมทางการเงิน (ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ)
------------------------------------------------------
(๓) กฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทย
หลักการ ธนาคารกลาง?
ระบบการเงินภายในประเทศที่ดำเนินงานโดยคณะรัฐบาล ?
(Owned by the national government)
เป็นเครื่องมือในการบริหารนโยบายทางการเงินของรัฐบาล? (มาตรา ๒๔)
- หลัก don't stay too close and don't stay too faraway.
- ประเด็น ความเป็นอิสระของธนาคารกลาง (Independent Central Bank) ?
- ความรับผิดชอบของผู้ว่าการ/วาระการดำรงตำแหน่ง/คุณสมบัติ/การแบ่งส่วนงานเป็นคณะกรรมการชุดต่าง ๆ (นโยบายทางการเงิน/นโยบายสถาบันการเงิน/ระบบการชำระเงิน)
หมายเหตุ : มาตราที่น่าสนใจ ได้แก่ มาตรา ๕, ๗, ๘, ๑๗, ๒๔, ๒๕, ๒๘, ๒๘/๗, ๒๘/๑๐, ๒๘/๑๒, ๒๘/๑๓-๑๘, และหมายเหตุท้ายกฎหมาย
--------------------------------------------
สำหรับนักศึกษาที่ยังขาดส่งงานไม่ครบตามที่มอบหมาย ให้ติดต่อก่อนวันสอบ
ขอให้โชคดีในการสอบทุกท่าน
(กิตติบดี)
วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
คำถาม - งานวิชาสถาบันการเงิน--
วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒
คำถาม
(๑) โปรดอธิบายถึงปัจจัยสำคัญในการพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามพัฒนาการในแต่ละระยะของสถาบันการเงิน
(๒) โปรดอธิบายถึง หลักการสำคัญและรายละเอียดมาตรการทางกฎหมายในการพัฒนาสถาบันการเงินให้มีศักยภาพที่เข้มแข็งในยุคการแข่งขันอย่างเสรี
คำตอบ
ข้อ ๑ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า พัฒนาการของสถาบันการเงินนั้นแบ่งออกเป็น ๓ ระยะ ได้แก่
ระยะที่ ๑ การสร้างความเชื่อมั่นต่อสังคม
ระยะที่ ๒ การสร้างเสถียรภาพของสถาบันการเงิน
ระยะที่ ๓ การพัฒนาศักยภาพเพื่อรองรับต่อการแข่งขัน
โดยในระยะที่ ๑ นั้น เป็นผลมาจากปัจจัยของหลักความเป็นสากลเรื่องนโยบายเศรษฐกิจโลกที่ว่า "ภาคเอกชนมีหน้าที่สร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ" ซึ่งส่งผลให้ประเทศต้องสร้างแหล่งทุนให้แก่ภาคธุรกิจเอกชน ได้แก่ "ระบบสถาบันการเงิน" ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ออมกับผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการแหล่งทุน
จะเห็นได้ว่า หลักการสำคัญที่ถูกนำมาพัฒนาเป็นมาตรการทางกฎหมาย ได้แก่ "หลักความเชื่อมั่น" (Credibility) โดยประเทศไทยได้ตราพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ (๑) สร้างหลักประกันความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ฝากเงิน (ผู้บริโภค) และ (๒) สร้างแหล่งทุนเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ
ภายหลังจากได้เกิดการลงทุนและพัฒนาประเทศ จากยุคเกษตรกรรม เข้าสู่ยุคเกษตรอุตสาหกรรม ตลอดจนยุดอุตสากรรม พัฒนาการของสถาบันการเงินจากเป็นเพียงแหล่งทุน ได้ขยายบทบาทเป็นผู้สร้างเครื่องมือทางการเงินเพื่อเอื้อต่อการค้าและการลงทุน ดังจะเห็นได้ว่า ธนาคารได้พัฒนารูปแบบธุรกรรมทางการเงิน ไม่ว่า การรับฝากเงิน การให้สินเชื่อ การสร้างตราสารเปลี่ยนมือ อาทิ เช็ค ตั๋วเงิน ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน การซื้อขายปริวรรตเงินตราต่างประเทศ การแลกเปลี่ยน การค้ำประกันธุรกิจ การซื้อขายระบบออนไลน์ ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวข้างต้นเพื่อรองรับและเอื้อต่อภาคธุรกิจ
ต่อมา เมื่อเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการเคลื่อนย้ายเงินตราข้ามประเทศ การลงทุนข้ามชาติ ทำให้รูปแบบของการให้บริการทางการเงินของสถาบันการเงินภายใต้กรอบแนวทางการเปิดเสรีภาคการเงินต้องปรับเปลี่ยนบทบาท นอกเหนือจากการเป็นแหล่งทุน และการสร้างเครื่องมือทางการเงินใหม่ ๆ แล้ว ในโลกยุคการลงทุนข้ามรัฐต้องอาศัยธนาคารพาณิชย์เป็นทุนให้แก่นักลงทุนของคนชาติ รวมถึงการเปลี่ยนบทบาทจากแหล่งทุนมาเป็นผู้ลงทุนเอง
ดังนั้น จึงพอสรุปได้ว่าปัจจัยสำคัญของแต่ละระยะมีดังต่อไปนี้
ระยะที่ ๑ การเป็นแหล่งทุนให้ภาคธุรกิจ
ระยะที่ ๒ การเป็นแหล่งทุนและสร้างเครื่องมือทางการเงิน
ระยะที่ ๓ การเป็นแหล่งทุนในยุคการลงทุนข้ามชาติ การสร้างเครื่องมือและรูปแบบธุรกรรมทางการเงินใหม่ และบทบาทของการเป็นนักลงทุนโดยสถาบันการเงินเอง
-----------------------
ข้อ ๒
การพัฒนาศักยภาพของสถาบันการเงิน ภายใต้บริบทเศรษฐกิจแบบทุนนิยม อาศัย ๒ หลักการ ได้แก่
(๑) หลักความเชื่อมั่น (Credibility)
กล่าวคือ ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้สถาบันการเงินมีต่อสังคมและรัฐ
(๒) หลักการมีเสถียรภาพ (Stabitility)
กล่าวคือ ต้องสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงทางการเงินให้แก่สถาบันการเงิน (หลักการนี้เริ่มต้นตั้งแต่การกำหนดให้สถาบันการเงินต้องเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการระดมทุนให้มีศักยภาพทางการเงินเพิ่มมากขึ้น)
ทั้งสองหลักการข้างต้น ประเทศไทยได้วางมาตราการทางกฎหมายไว้ดังต่อไปนี้
๑. พระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สถาบันการเงิน กฎหมายได้วางมาตรการไว้ ๔ เรื่อง ได้แก่ การขอจัดตั้งและรับใบอนุญาต โครงสร้างของสถาบันการเงิน (การควบคุมโครงสร้างและพฤติกรรม) การตรวจสอบสถาบันการเงินโดยทางการ (ธนาคารแห่งประเทศไทย) และการเข้าควบคุมและแก้ไขฐานะของสถาบันการเงิน
๒. พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อสร้างเสถียรภาพและศักยภาพให้แก่สถาบันการเงิน
โดยกฎหมายฉบับนี้ได้ยกเลิกกฎหมายเดิม (พระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕) และนำหลักความเชื่อมั่นมาเขียนรวมได้กับหลักเสถียรภาพ โดยเฉพาะในส่วนเรื่องหลักการสร้างเสถียรภาพ ได้กำหนดตาม Basel II ไว้ ดังนี้ (๑) การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำ (๒) การกำกับโดยทางการ (๓) การควบคุมโดยตลาด ได้แก่
(๑) มาตราการการกำกับสถาบันการเงิน เรื่อง การดำรงเงินกองทุนและสินทรัพย์ (ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด) การกำกับการลงทุนของสถาบันการเงิน การประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน ข้อห้ามในการให้สินเชื่อ การกำกับพฤติกรรมของสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน การจัดชั้นสินทรัพย์และการกันเงินสำรอง การบริหารสินทรัพย์และการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง การจัดทำบัญชีและรายงานสถานะทางการเงิน
(๒) มาตรการเพิ่มศักยภาพ ได้แก่
๒.๑ การควบ รวม และโอนกิจการ
๒.๒ การขยายขอบเขตของการประกอบธุรกิจธนาคาร ให้ครอบคลุมธุรกรรมทางการเงิน ทั้งนี้ ตามศักยภาพของแต่ละสถาบันการเงิน
---------------------------------
กิตติบดี
คำถาม
(๑) โปรดอธิบายถึงปัจจัยสำคัญในการพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามพัฒนาการในแต่ละระยะของสถาบันการเงิน
(๒) โปรดอธิบายถึง หลักการสำคัญและรายละเอียดมาตรการทางกฎหมายในการพัฒนาสถาบันการเงินให้มีศักยภาพที่เข้มแข็งในยุคการแข่งขันอย่างเสรี
คำตอบ
ข้อ ๑ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า พัฒนาการของสถาบันการเงินนั้นแบ่งออกเป็น ๓ ระยะ ได้แก่
ระยะที่ ๑ การสร้างความเชื่อมั่นต่อสังคม
ระยะที่ ๒ การสร้างเสถียรภาพของสถาบันการเงิน
ระยะที่ ๓ การพัฒนาศักยภาพเพื่อรองรับต่อการแข่งขัน
โดยในระยะที่ ๑ นั้น เป็นผลมาจากปัจจัยของหลักความเป็นสากลเรื่องนโยบายเศรษฐกิจโลกที่ว่า "ภาคเอกชนมีหน้าที่สร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ" ซึ่งส่งผลให้ประเทศต้องสร้างแหล่งทุนให้แก่ภาคธุรกิจเอกชน ได้แก่ "ระบบสถาบันการเงิน" ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ออมกับผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการแหล่งทุน
จะเห็นได้ว่า หลักการสำคัญที่ถูกนำมาพัฒนาเป็นมาตรการทางกฎหมาย ได้แก่ "หลักความเชื่อมั่น" (Credibility) โดยประเทศไทยได้ตราพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ (๑) สร้างหลักประกันความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ฝากเงิน (ผู้บริโภค) และ (๒) สร้างแหล่งทุนเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ
ภายหลังจากได้เกิดการลงทุนและพัฒนาประเทศ จากยุคเกษตรกรรม เข้าสู่ยุคเกษตรอุตสาหกรรม ตลอดจนยุดอุตสากรรม พัฒนาการของสถาบันการเงินจากเป็นเพียงแหล่งทุน ได้ขยายบทบาทเป็นผู้สร้างเครื่องมือทางการเงินเพื่อเอื้อต่อการค้าและการลงทุน ดังจะเห็นได้ว่า ธนาคารได้พัฒนารูปแบบธุรกรรมทางการเงิน ไม่ว่า การรับฝากเงิน การให้สินเชื่อ การสร้างตราสารเปลี่ยนมือ อาทิ เช็ค ตั๋วเงิน ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน การซื้อขายปริวรรตเงินตราต่างประเทศ การแลกเปลี่ยน การค้ำประกันธุรกิจ การซื้อขายระบบออนไลน์ ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวข้างต้นเพื่อรองรับและเอื้อต่อภาคธุรกิจ
ต่อมา เมื่อเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการเคลื่อนย้ายเงินตราข้ามประเทศ การลงทุนข้ามชาติ ทำให้รูปแบบของการให้บริการทางการเงินของสถาบันการเงินภายใต้กรอบแนวทางการเปิดเสรีภาคการเงินต้องปรับเปลี่ยนบทบาท นอกเหนือจากการเป็นแหล่งทุน และการสร้างเครื่องมือทางการเงินใหม่ ๆ แล้ว ในโลกยุคการลงทุนข้ามรัฐต้องอาศัยธนาคารพาณิชย์เป็นทุนให้แก่นักลงทุนของคนชาติ รวมถึงการเปลี่ยนบทบาทจากแหล่งทุนมาเป็นผู้ลงทุนเอง
ดังนั้น จึงพอสรุปได้ว่าปัจจัยสำคัญของแต่ละระยะมีดังต่อไปนี้
ระยะที่ ๑ การเป็นแหล่งทุนให้ภาคธุรกิจ
ระยะที่ ๒ การเป็นแหล่งทุนและสร้างเครื่องมือทางการเงิน
ระยะที่ ๓ การเป็นแหล่งทุนในยุคการลงทุนข้ามชาติ การสร้างเครื่องมือและรูปแบบธุรกรรมทางการเงินใหม่ และบทบาทของการเป็นนักลงทุนโดยสถาบันการเงินเอง
-----------------------
ข้อ ๒
การพัฒนาศักยภาพของสถาบันการเงิน ภายใต้บริบทเศรษฐกิจแบบทุนนิยม อาศัย ๒ หลักการ ได้แก่
(๑) หลักความเชื่อมั่น (Credibility)
กล่าวคือ ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้สถาบันการเงินมีต่อสังคมและรัฐ
(๒) หลักการมีเสถียรภาพ (Stabitility)
กล่าวคือ ต้องสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงทางการเงินให้แก่สถาบันการเงิน (หลักการนี้เริ่มต้นตั้งแต่การกำหนดให้สถาบันการเงินต้องเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการระดมทุนให้มีศักยภาพทางการเงินเพิ่มมากขึ้น)
ทั้งสองหลักการข้างต้น ประเทศไทยได้วางมาตราการทางกฎหมายไว้ดังต่อไปนี้
๑. พระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สถาบันการเงิน กฎหมายได้วางมาตรการไว้ ๔ เรื่อง ได้แก่ การขอจัดตั้งและรับใบอนุญาต โครงสร้างของสถาบันการเงิน (การควบคุมโครงสร้างและพฤติกรรม) การตรวจสอบสถาบันการเงินโดยทางการ (ธนาคารแห่งประเทศไทย) และการเข้าควบคุมและแก้ไขฐานะของสถาบันการเงิน
๒. พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อสร้างเสถียรภาพและศักยภาพให้แก่สถาบันการเงิน
โดยกฎหมายฉบับนี้ได้ยกเลิกกฎหมายเดิม (พระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕) และนำหลักความเชื่อมั่นมาเขียนรวมได้กับหลักเสถียรภาพ โดยเฉพาะในส่วนเรื่องหลักการสร้างเสถียรภาพ ได้กำหนดตาม Basel II ไว้ ดังนี้ (๑) การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำ (๒) การกำกับโดยทางการ (๓) การควบคุมโดยตลาด ได้แก่
(๑) มาตราการการกำกับสถาบันการเงิน เรื่อง การดำรงเงินกองทุนและสินทรัพย์ (ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด) การกำกับการลงทุนของสถาบันการเงิน การประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน ข้อห้ามในการให้สินเชื่อ การกำกับพฤติกรรมของสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน การจัดชั้นสินทรัพย์และการกันเงินสำรอง การบริหารสินทรัพย์และการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง การจัดทำบัญชีและรายงานสถานะทางการเงิน
(๒) มาตรการเพิ่มศักยภาพ ได้แก่
๒.๑ การควบ รวม และโอนกิจการ
๒.๒ การขยายขอบเขตของการประกอบธุรกิจธนาคาร ให้ครอบคลุมธุรกรรมทางการเงิน ทั้งนี้ ตามศักยภาพของแต่ละสถาบันการเงิน
---------------------------------
กิตติบดี
วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ตัวอย่างข้อสอบวิชากฎหมายสถาบันการเงินฯ
ข้อสอบรายวิชาสถาบันการเงิน
ส่วนที่หนึ่ง ให้นักศึกษาทุกคนทำข้อสอบข้อ ๑ และ ๒ (ข้อละ ๑๕ คะแนน)
ข้อ ๑ . ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ให้ความหมายของคำว่า “ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หมายความถึง ธุรกิจแฟ็กเตอริง ธุรกรรมการใช้เช่าซื้อ ธุรกรรมการให้เช่าแบบลิสซิ่ง และธุรกรรมอื่นที่มีลักษณะการให้สินเชื่อตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด”
ดังนี้
(๑) โปรดอธิบายถึงสาระสำคัญทางกฎหมายของธุรกรรมแฟ็กเตอริง
(๒) ธุรกรรมการให้เช่าซื้อมีข้อแตกต่างกับธุรกรรมการให้เช่าแบบลิสซิ่ง อย่างไร
ข้อ ๒. โปรดอธิบายความหมายของผู้บริหารสถาบันการเงิน และความรับผิดชอบของผู้บริหารสถาบันการเงินในการบริหารงานสถาบันการเงินมีข้อกำหนดไว้อย่างไร รวมถึงคุณสมบัติต้องห้ามที่กฎหมายกำหนดไว้มีประการใดบ้าง
ส่วนที่สอง ข้อ ๓-๖ ให้นักศึกษาเลือกทำเพียง ๒ ข้อ (ข้อละ ๑๐ คะแนน)
ข้อ ๓. แนวทางปฏิบัติในการติดตามทวงหนี้ มีหลักการและแนวปฏิบัติอย่างไร
ข้อ ๔. เพราะเหตุใดในปัจจุบันจึงได้มีการอนุญาตให้ธุรกิจธนาคารพาณิชย์สามารถประกอบกิจการได้อย่างหลากหลายขึ้น และขอให้ยกตัวอย่างธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจธนาคารพาณิชย์มาให้ทราบ ๓ธุรกิจ
ข้อ ๕. บาสเซิล 2 (BASEL II) คืออะไร และโปรดอธิบายให้ทราบถึงรายละเอียดของแต่ละหลักการ (Pillar) ว่าเป็นอย่างไร
ข้อ ๖. พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยในการกำหนดโครงสร้างของคณะกรรมการและกรรมการชุดย่อยคณะต่าง ๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ในการบริหารงานสถาบันการเงิน ดังนี้
(๑) ขอให้ท่านอธิบายถึงหลักการและหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ และยกตัวอย่างคณะกรรมการ
(๒) ยกตัวอย่างคณะกรรมการชุดย่อย ๒ ชุด พร้อมอธิบายหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละชุด
--------------------------
กิตติบดี ใยพูล
ส่วนที่หนึ่ง ให้นักศึกษาทุกคนทำข้อสอบข้อ ๑ และ ๒ (ข้อละ ๑๕ คะแนน)
ข้อ ๑ . ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ให้ความหมายของคำว่า “ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หมายความถึง ธุรกิจแฟ็กเตอริง ธุรกรรมการใช้เช่าซื้อ ธุรกรรมการให้เช่าแบบลิสซิ่ง และธุรกรรมอื่นที่มีลักษณะการให้สินเชื่อตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด”
ดังนี้
(๑) โปรดอธิบายถึงสาระสำคัญทางกฎหมายของธุรกรรมแฟ็กเตอริง
(๒) ธุรกรรมการให้เช่าซื้อมีข้อแตกต่างกับธุรกรรมการให้เช่าแบบลิสซิ่ง อย่างไร
ข้อ ๒. โปรดอธิบายความหมายของผู้บริหารสถาบันการเงิน และความรับผิดชอบของผู้บริหารสถาบันการเงินในการบริหารงานสถาบันการเงินมีข้อกำหนดไว้อย่างไร รวมถึงคุณสมบัติต้องห้ามที่กฎหมายกำหนดไว้มีประการใดบ้าง
ส่วนที่สอง ข้อ ๓-๖ ให้นักศึกษาเลือกทำเพียง ๒ ข้อ (ข้อละ ๑๐ คะแนน)
ข้อ ๓. แนวทางปฏิบัติในการติดตามทวงหนี้ มีหลักการและแนวปฏิบัติอย่างไร
ข้อ ๔. เพราะเหตุใดในปัจจุบันจึงได้มีการอนุญาตให้ธุรกิจธนาคารพาณิชย์สามารถประกอบกิจการได้อย่างหลากหลายขึ้น และขอให้ยกตัวอย่างธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจธนาคารพาณิชย์มาให้ทราบ ๓ธุรกิจ
ข้อ ๕. บาสเซิล 2 (BASEL II) คืออะไร และโปรดอธิบายให้ทราบถึงรายละเอียดของแต่ละหลักการ (Pillar) ว่าเป็นอย่างไร
ข้อ ๖. พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยในการกำหนดโครงสร้างของคณะกรรมการและกรรมการชุดย่อยคณะต่าง ๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ในการบริหารงานสถาบันการเงิน ดังนี้
(๑) ขอให้ท่านอธิบายถึงหลักการและหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ และยกตัวอย่างคณะกรรมการ
(๒) ยกตัวอย่างคณะกรรมการชุดย่อย ๒ ชุด พร้อมอธิบายหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละชุด
--------------------------
กิตติบดี ใยพูล
วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
สถาบันการเงิน : โครงสร้างระบบเศรษฐกิจ
โครงสร้างระบบเศรษฐกิจของไทย
กรณีความสัมพันธ์กับระบบสถาบันการเงิน
----------------------------------------------------
นายพอล ครุกส์แมน นักเศรษฐศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา กล่าวไว้ว่าโลกปัจจุบัน (โลกาภิวัฒน์) ได้มีการตระเตรียมการล่วงหน้ามานานแล้ว มิใช่เป็นอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นฉับพลัน
นับเนื่องจากการที่ประเทศไทยได้ตกลงทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง (ร.๔) ซึ่งสังคมไทยได้เรียนรู้กับการเป็นสังคมแห่งอารยประเทศ หรือ Civilization อันมีระบบกฎหมาย การศาล และระบบการเมืองเป็นประเด็นสำคัญในการเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูปแล้ว รูปแบบของการขยายตัวทางการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ การผลิตสินค้าเกษตรกรรมเพื่อการค้าขายมิใช่เพียงเพื่อบริโภคตนเองเท่านั้น ยังมีการผลิตเพื่อการค้าและการส่งออก ขอให้สังเกตในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการลงทุนเพื่อนำความเจริญทางเทคโนโลยีเครื่องจักรอยู่มาก มีการนำระบบการเงินมาเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า มีความต้องการสถาบันการเงินเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในด้านเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (พ.ศ. ๒๔๓๑ มีการจัดตั้งแบงค์หลวงแห่งกรุงสยามขึ้น ดำเนินงานด้านการเงินแทนรัฐบาล เช่น การจัดเก็บภาษี พิมพ์ธนบัตร ให้การกู้ยืม ฯลฯ หรือ ธนาคารฮ่องกงแอนด์เซี่ยงไฮ้) ในยุคนี้ประเทศไทยคุ้นเคยกับคำว่า “พัฒนา” หรือ Development ได้เกิดการแบ่งแยกระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็น ๒ ภาค ได้แก่ ภาคเกษตรกรรม และ ภาคอุตสาหกรรม
เมื่อมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น รัฐต้องสร้างระบบมาตรฐานในการกำกับดูแลกิจการธนาคาร ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล (นโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยม) ดังนั้น พ.ศ. 2505 ได้มีการตราพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ขึ้น เพื่อ
๑. สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ฝากเงิน
๒. สร้างกลไกทำหน้าที่ในการเอื้อประโยชน์ในการลงทุนประกอบธุรกิจ
ขอให้พิจารณาเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับดังกล่าว ดังนี้
“เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ ในปัจจุบันการธนาคารและการเศรษฐกิจได้ขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ จึงสมควรได้ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ให้เหมาะสม เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ ตลอดจนให้ความคุ้มครองแก่ผู้ฝากเงินกับธนาคาร”
หมายเหตุ
ระยะแรกของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ (พ.ศ. ๒๕๐๕) ได้ใช้วิธีการนำเงินฝากของประชาชนไปแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และกลุ่มของบริษัทในเครือญาติหรือที่เกี่ยวเนื่อง ทำให้ธนาคารมีผลประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และสามารถควบคุมแหล่งเงินทุนที่สำคัญภายในระบบเศรษฐกิจได้ ซึ่งพอทำให้เห็นว่า การลงทุนของรัฐนั้น มีลักษณะของการเอื้อประโยชน์ให้กับธนาคารพาณิชย์ หรือกลุ่มผลประโยชน์ที่ธนาคารพาณิชย์มีส่วนได้เสียด้วย ในขณะเดียวกัน ธนาคารพาณิชย์ก็จะเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มการเมือง หรือตอบแทนด้วยการสนับสนุนงบประมาณเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเมืองต่อไป ในลักษณะของ “การต่างตอบแทน” หรือ เรียกว่า “ระบบอุปถัมภ์” ทั้งนี้ ขอให้ศึกษากรณีดังต่อไปนี้เพื่อเป็นอุทาหรณ์ประกอบการพิจารณา
๑. นโยบายกีดกันไม่ให้คนต่างด้าวจัดตั้ง หรือได้ผลประโยชน์ในวิสาหกิจ
๒. การใช้เงินภาษีของราษฎร์สนับสนุนกิจการของธนาคารพาณิชย์ (กรณีวิกฤติเศรษฐกิจช่วงปี ๒๕๔๐)
๓. นโยบายวิเทศธนกิจ หรือ Bangkok International Banking Facility : BIBF
ระบบการต่างตอบแทนดังกล่าว หากนักศึกษาลองศึกษาถึงประวัติศาสตร์จะพบว่า กลุ่มการเมืองพยายามยึดธนาคารพาณิชย์เป็นฐานทางเศรษฐกิจมาโดยตลอด เพราะถือว่า ธนาคารพาณิชย์เป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม (ทุนนิยม) (ขอให้ศึกษาจากหนังสือหรือตำราที่เกี่ยวข้องกับ “พัฒนาการของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย”)
กรณีความสัมพันธ์กับระบบสถาบันการเงิน
----------------------------------------------------
นายพอล ครุกส์แมน นักเศรษฐศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา กล่าวไว้ว่าโลกปัจจุบัน (โลกาภิวัฒน์) ได้มีการตระเตรียมการล่วงหน้ามานานแล้ว มิใช่เป็นอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นฉับพลัน
นับเนื่องจากการที่ประเทศไทยได้ตกลงทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง (ร.๔) ซึ่งสังคมไทยได้เรียนรู้กับการเป็นสังคมแห่งอารยประเทศ หรือ Civilization อันมีระบบกฎหมาย การศาล และระบบการเมืองเป็นประเด็นสำคัญในการเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูปแล้ว รูปแบบของการขยายตัวทางการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ การผลิตสินค้าเกษตรกรรมเพื่อการค้าขายมิใช่เพียงเพื่อบริโภคตนเองเท่านั้น ยังมีการผลิตเพื่อการค้าและการส่งออก ขอให้สังเกตในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการลงทุนเพื่อนำความเจริญทางเทคโนโลยีเครื่องจักรอยู่มาก มีการนำระบบการเงินมาเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า มีความต้องการสถาบันการเงินเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในด้านเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (พ.ศ. ๒๔๓๑ มีการจัดตั้งแบงค์หลวงแห่งกรุงสยามขึ้น ดำเนินงานด้านการเงินแทนรัฐบาล เช่น การจัดเก็บภาษี พิมพ์ธนบัตร ให้การกู้ยืม ฯลฯ หรือ ธนาคารฮ่องกงแอนด์เซี่ยงไฮ้) ในยุคนี้ประเทศไทยคุ้นเคยกับคำว่า “พัฒนา” หรือ Development ได้เกิดการแบ่งแยกระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็น ๒ ภาค ได้แก่ ภาคเกษตรกรรม และ ภาคอุตสาหกรรม
ภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมมีลักษณะของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวจึงเกิดกลุ่มคนที่ทำหน้าที่เป็นคนกลาง ระหว่างทั้งสองภาคส่วนนั้น โดยในสังคมระบบอุปถัมภ์นั้น ผู้ที่มีอำนาจทางการเมือง (ชนชั้นปกครอง) จะมีผลประโยชน์ร่วมกับกลุ่มทุนอย่างแนบแน่น ได้แพร่ขยายอิทธิพลเหนืออำนาจทางเศรษฐกิจ และมีความพยายามในการรักษาฐานอำนาจดังกล่าวไว้ กล่าวคือ สร้างภาวะให้อยู่เหนือปัจจัยการผลิตและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต นอกจากนี้มีการใช้อำนาจทางการเมืองเป็นเครื่องมือในการแสวงหาอำนาจและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเรื่อยมาทุกยุคสมัย โดยตัวละครที่หมุนผ่านมาขึ้นอยู่กับปัจจัยว่ากลุ่มใดเป็นผู้มีอำนาจทางการเมือง
ก่อนพ.ศ. ๒๔๗๕ กลุ่มเจ้าขนมูลนาย
พ.ศ. ๒๔๗๕ กลุ่มชนชั้นปกครอง
พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๘๙ กลุ่มชนชั้นปกครอง
พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๕๐๐ กลุ่มทหาร
พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๑๖ กลุ่มทหารและกลุ่มเจ้าขนมูลนาย
พ.ศ.๒๕๑๗-๒๕๓๕ กลุ่มทหารและกลุ่มทุน
พ.ศ. ๒๕๓๖-ปัจจุบัน กลุ่มธุรกิจการเมือง
ขอให้สังเกตว่า ในปี ๒๕๐๓ (จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์) ยุคกลุ่มทหารและกลุ่มเจ้าขุนมูลนาย เข้ามีอำนาจทางการเมือง ระบบเศรษฐกิจนั้นได้มีการริเริ่มนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของเอกชนขึ้น
การลงทุนโดยรัฐบาลpublic sector
· การวางรากฐานระบอบประชาธิปไตย
· การจัดระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (เสรีนิยม)
· การวางรากฐานระบอบประชาธิปไตย
· การจัดระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (เสรีนิยม)
การลงทุนโดยเอกชนprivate sector
· การลงทุนประกอบธุรกิจต่าง ๆ ทั้งภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม
· การจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ ในฐานะที่เป็นแหล่งเงินทุนให้แก่ภาค ธุรกิจ
· การลงทุนประกอบธุรกิจต่าง ๆ ทั้งภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม
· การจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ ในฐานะที่เป็นแหล่งเงินทุนให้แก่ภาค ธุรกิจ
ซึ่งจะพบว่า รัฐส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ขอให้ศึกษากรณีสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่มาเปิดสาขาในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นสาขาของธนาคารตะวันตก หรือ ธนาคารของชาวจีนที่จดทะเบียนในประเทศไทย เช่น ธนาคารหวั่งหลีจั่น จำกัด (ธนาคารนครธน) ธนาคารตันเป็งชุน (ธนาคารมหานคร จำกัด) บริษัทจีนสยาม ฯลฯ หรือ ธนาคารของชาวจีนโพ้นทะเล หรือ ธนาคารของประเทศญี่ปุ่น หรือ ธนาคารที่คนไทยเป็นเจ้าของ ได้แก่ ธนาคารสยามกัมมาจล จำกัด (ธนาคารไทยพาณิชย์) ธนาคารแห่งเอเชียเพื่อการอุตสาหกรรมและพาณิชยการ จำกัด (ธนาคารเอเชีย) ธนาคารนครหลวงไทย และในช่วงพ.ศ. ๒๔๙๐ – ๒๕๐๓ (โดยประมาณ) องค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่ ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ได้ผลักดันให้ประเทศไทยปฏิบัติตามระเบียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (ขอให้นักศึกษาศึกษาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ เป็นต้นมา แล้วจะเห็นพัฒนาการของสังคมไทย)
เมื่อมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น รัฐต้องสร้างระบบมาตรฐานในการกำกับดูแลกิจการธนาคาร ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล (นโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยม) ดังนั้น พ.ศ. 2505 ได้มีการตราพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ขึ้น เพื่อ
๑. สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ฝากเงิน
๒. สร้างกลไกทำหน้าที่ในการเอื้อประโยชน์ในการลงทุนประกอบธุรกิจ
ขอให้พิจารณาเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับดังกล่าว ดังนี้
“เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ ในปัจจุบันการธนาคารและการเศรษฐกิจได้ขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ จึงสมควรได้ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ให้เหมาะสม เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ ตลอดจนให้ความคุ้มครองแก่ผู้ฝากเงินกับธนาคาร”
หมายเหตุ
ระยะแรกของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ (พ.ศ. ๒๕๐๕) ได้ใช้วิธีการนำเงินฝากของประชาชนไปแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และกลุ่มของบริษัทในเครือญาติหรือที่เกี่ยวเนื่อง ทำให้ธนาคารมีผลประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และสามารถควบคุมแหล่งเงินทุนที่สำคัญภายในระบบเศรษฐกิจได้ ซึ่งพอทำให้เห็นว่า การลงทุนของรัฐนั้น มีลักษณะของการเอื้อประโยชน์ให้กับธนาคารพาณิชย์ หรือกลุ่มผลประโยชน์ที่ธนาคารพาณิชย์มีส่วนได้เสียด้วย ในขณะเดียวกัน ธนาคารพาณิชย์ก็จะเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มการเมือง หรือตอบแทนด้วยการสนับสนุนงบประมาณเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเมืองต่อไป ในลักษณะของ “การต่างตอบแทน” หรือ เรียกว่า “ระบบอุปถัมภ์” ทั้งนี้ ขอให้ศึกษากรณีดังต่อไปนี้เพื่อเป็นอุทาหรณ์ประกอบการพิจารณา
๑. นโยบายกีดกันไม่ให้คนต่างด้าวจัดตั้ง หรือได้ผลประโยชน์ในวิสาหกิจ
๒. การใช้เงินภาษีของราษฎร์สนับสนุนกิจการของธนาคารพาณิชย์ (กรณีวิกฤติเศรษฐกิจช่วงปี ๒๕๔๐)
๓. นโยบายวิเทศธนกิจ หรือ Bangkok International Banking Facility : BIBF
ระบบการต่างตอบแทนดังกล่าว หากนักศึกษาลองศึกษาถึงประวัติศาสตร์จะพบว่า กลุ่มการเมืองพยายามยึดธนาคารพาณิชย์เป็นฐานทางเศรษฐกิจมาโดยตลอด เพราะถือว่า ธนาคารพาณิชย์เป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม (ทุนนิยม) (ขอให้ศึกษาจากหนังสือหรือตำราที่เกี่ยวข้องกับ “พัฒนาการของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย”)
--------------------------------------------------
กิตติบดี
วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
สถาบันการเงิน : หลักการพื้นฐานตามพรบ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑
หลักการพื้นฐานศึกษาตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑
----------------------------------------------------
สรุปประเด็น : เพื่อให้เห็นภาพโดยรวมของกฎหมาย
พัฒนาการของสถาบันการเงิน
ระยะที่ ๑ การสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบสถาบันการเงิน
ระยะที่ ๒ การสร้างเสถียรภาพของสถาบันการเงินเพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม
หลักการ : หลักความเชื่อมั่น การบริหารความเสี่ยงบนพื้นฐานของความเป็นไปได้ การบริหารสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ และการคุ้มครองผู้บริโภค
"เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี จึงทำให้การกำกับดูแลแตกต่างกัน แต่โดยที่การดำเนินกิจการของสถาบันการเงินควรมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอันมีผลกระทบโดยตรงต่อสถาบันการเงิน และกระทบกระเทือนความเชื่อมั่นของประชาชนและผู้ฝากเงินที่มีต่อระบบสถาบันการเงินโดยรวม ดังนั้น สมควรปรับปรุงมาตรการในการกำกับดูแลสถาบันการเงินดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และรวมเป็นฉบับเดียวกัน เพื่อให้การควบคุมดูแลเป็นมาตรฐานเดียวกัน ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษสำหรับความผิดที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น"
------------------------------------------
(๑) หลักความเชื่อมั่น
-- การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน--
มาตรา ๙ การประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์จะกระทำได้เฉพาะนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด โดยได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ในการอนุญาตดังกล่าวรัฐมนตรีจะกำหนดหลักเกณฑ์ตามที่เห็นสมควรก็ได้
การยื่นคำขอจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อประกอบธุรกิจตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับความเห็นชอบในการจัดตั้งจากรัฐมนตรีก่อน
เมื่อได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดแล้ว ให้บริษัทมหาชนจำกัดนั้นยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดต่อรัฐมนตรีโดยผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ตลอดจนเสียค่าธรรมเนียมตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย
มาตรา ๑๐ ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศจะตั้งสาขาเพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยตามพระราชบัญญัตินี้ได้ เมื่อได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ในการอนุญาตดังกล่าว รัฐมนตรีจะกำหนดหลักเกณฑ์ตามที่เห็นสมควรก็ได้ในการขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศแสดงหนังสือยินยอมให้ยื่นคำขอจัดตั้งสาขาจากหน่วยงานผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศนั้นต่อรัฐมนตรีโดยผ่านธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตลอดจนเสียค่าธรรมเนียมตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย
มาตรา ๑๑ สถาบันการเงินต้องใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า “ธนาคาร” “บริษัทเงินทุน” หรือ “บริษัทเครดิตฟองซิเอร์” นำหน้า ตามที่ระบุในใบอนุญาต แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๒ ห้ามผู้ใดนอกจากสถาบันการเงินใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจทางการเงินว่า “ธนาคาร” “เงินทุน” “การเงิน” “การลงทุน” “เครดิต” “ทรัสต์” “ไฟแนนซ์” “บริษัทเครดิตฟองซิเอร์” หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๑๓ การจัดตั้ง หรือย้ายสำนักงานใหญ่หรือสาขา หรือการเลิกสาขาของสถาบันการเงินต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
มาตรา ๑๔ การตั้งสำนักงานผู้แทนของสถาบันการเงินในต่างประเทศ และการตั้งสำนักงานผู้แทนของสถาบันการเงินต่างประเทศในประเทศ จะกระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกำหนดหลักเกณฑ์ให้ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
สำนักงานผู้แทนตามวรรคหนึ่ง จะรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ไม่ได้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
--โครงสร้างหุ้นและผู้ถือหุ้น--
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อการครอบงำธุรกิจที่มีผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
มาตรา ๑๕ หุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิของสถาบันการเงินต้องเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อผู้ถือมีมูลค่าของหุ้นไม่เกินหุ้นละหนึ่งร้อยบาท และข้อบังคับของสถาบันการเงินต้องไม่มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น เว้นแต่จะเป็นข้อจำกัดเพื่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
สถาบันการเงินอาจออกหุ้นบุริมสิทธิที่ไม่มีสิทธิออกเสียง หรือหุ้นบุริมสิทธิอื่นได้เมื่อได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดหลักเกณฑ์ที่สถาบันการเงินต้องปฏิบัติก็ได้
มาตรา ๑๖ สถาบันการเงินต้องมีจำนวนหุ้นที่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยถืออยู่ไม่ต่ำกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และต้องมีกรรมการเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควร ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจอนุญาตให้บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นได้ถึงร้อยละสี่สิบเก้าของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และให้มีกรรมการที่เป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยได้เกินกว่าหนึ่งในสี่แต่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องแก้ไขฐานะการดำเนินการหรือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันการเงินใด หรือเพื่อความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจผ่อนผันให้มีจำนวนหุ้นหรือกรรมการแตกต่างไปจากที่กำหนดตามวรรคสองได้ในการผ่อนผันนั้นจะกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนเวลาไว้ด้วยก็ได้
มาตรา ๑๗ บุคคลใดถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่งไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ตั้งแต่ร้อยละห้าขึ้นไปของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด บุคคลนั้นต้องรายงานการถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นดังกล่าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
จำนวนหุ้นตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลตามวรรคหนึ่งถืออยู่หรือมีไว้ด้วย
หุ้นตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงหุ้นบุริมสิทธิที่ไม่มีสิทธิออกเสียง
ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งไม่รายงานตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ให้นำความในมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับแก่หุ้นที่ไม่รายงานนั้น โดยอนุโลม
มาตรา ๑๘ ห้ามมิให้บุคคลใดถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่งไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยหรือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
จำนวนหุ้นตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลตามวรรคหนึ่งถืออยู่หรือมีไว้ด้วย
หุ้นตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงหุ้นบุริมสิทธิที่ไม่มีสิทธิออกเสียง
มาตรา ๑๙ บุคคลใดได้มาซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่งจนเป็นเหตุให้จำนวนหุ้นที่ตนถืออยู่หรือมีไว้เป็นไปโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๘ บุคคลนั้นจะต้องนำหุ้นในส่วนที่เกินออกจำหน่ายแก่บุคคลอื่นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหุ้นนั้นมา เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งจะผ่อนผันได้อีกไม่เกินเก้าสิบวัน
ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งไม่จำหน่ายหุ้นในส่วนที่เกินภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยอาจร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้ขายหุ้นในส่วนที่เกินดังกล่าวได้ และถ้าศาลเห็นว่าการถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นนั้นเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๘ ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นก็ได้
มาตรา ๒๐ ห้ามมิให้สถาบันการเงินจำหน่ายหุ้นของตนแก่บุคคลใดจนเป็นเหตุให้จำนวนหุ้นที่บุคคลนั้นถืออยู่หรือมีไว้เป็นไปโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๘
การนับจำนวนหุ้นตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมถึงหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลตามวรรคหนึ่งถืออยู่หรือมีไว้ด้วย
ทุกครั้งที่มีการชี้ชวนให้เข้าชื่อซื้อหุ้นของสถาบันการเงินใด ให้สถาบันการเงินนั้นระบุหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ ไว้ในคำชี้ชวนด้วย
มาตรา ๒๑ บุคคลใดถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินใดโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๘ บุคคลนั้นจะยกเอาการถือหุ้นในส่วนที่เกินนั้นใช้ยันต่อสถาบันการเงินดังกล่าวมิได้ และสถาบันการเงินนั้นจะจ่ายเงินปันผลหรือผลตอบแทนอื่นใดให้แก่บุคคลนั้น หรือให้บุคคลนั้นออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามจำนวนหุ้นในส่วนที่เกินมิได้
ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งได้รับหุ้นมาโดยสุจริตจากการรับมรดก หากสถาบันการเงินนั้นได้ประกาศจ่ายเงินปันผลในช่วงระยะเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหุ้นมาหรือภายในระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยตามมาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง ให้มีสิทธิรับเงินปันผลในหุ้นส่วนที่เกินร้อยละสิบตามมาตรา ๑๘ ได้ แต่บุคคลนั้นจะออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามจำนวนหุ้นในส่วนที่เกินมิได้
มาตรา ๒๒ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ ให้สถาบันการเงินตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นทุกครั้งก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นหรือก่อนจ่ายเงินปันผลหรือผลตอบแทนอื่นใดแก่ผู้ถือหุ้น แล้วให้แจ้งผลการตรวจสอบต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ถือหุ้นรายใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๘ ให้สถาบันการเงินมีหนังสือแจ้งให้ผู้นั้นดำเนินการจำหน่ายหุ้นในส่วนที่เกินภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา ๑๙ พร้อมกับแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบด้วย
มาตรา ๒๓ มิให้นำมาตรา ๑๕ ถึงมาตรา ๒๒ มาใช้บังคับกับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
--ความเชื่อมั่นเชื่อถือต่อผู้บริหารสถาบันการเงิน--
เพื่อเป็นการเสริมสร้างระบบธรรมาภิบาล Good Governance ให้แก่สถาบันการเงิน จึงกำหนดให้มีกระบวนการแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารสถาบันการเงิน รวมตลอดถึงการกำหนดมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสาธารณะ
มาตรา ๒๔ ห้ามมิให้สถาบันการเงินแต่งตั้งหรือยอมให้บุคคลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นหรือทำหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน
(๑) เป็นบุคคลล้มละลายหรือพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายมาแล้วไม่ถึงห้าปี
(๒) เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต ไม่ว่าจะมีการรอการลงโทษหรือไม่ก็ตาม
(๓) เคยถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ องค์การ หรือหน่วยงานของรัฐฐานทุจริตต่อหน้าที่
(๔) เคยเป็นผู้มีอำนาจในการจัดการซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(๕) เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ตามมาตรา ๘๙ (๓) หรือมาตรา ๙๐ (๔) หรือตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(๖) เป็นกรรมการ ผู้จัดการ พนักงาน หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงินแห่งอื่นอีกในเวลาเดียวกัน เว้นแต่ได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(๗) เป็นผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการนอกเหนือจากตำแหน่งกรรมการของบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการค้ำประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงินนั้น เว้นแต่
(ก) เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินซึ่งไม่ใช่กรรมการที่เป็นผู้บริหาร
(ข) เป็นกรณีที่ได้รับยกเว้นตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๘) เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นใดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๙) เป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยหรือเป็นผู้ที่พ้นจากการเป็นพนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด เว้นแต่ได้รับแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้เข้าไปแก้ไขฐานะการเงินหรือการดำเนินการของสถาบันการเงิน หรือเป็นการดำรงตำแหน่งในสถาบันการเงินที่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย หรือผู้ที่พ้นจากการเป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยแต่ยังต้องห้ามไม่ให้รับตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดดังกล่าว ไม่มีสิทธิที่จะได้รับสิทธิในการซื้อหุ้นของสถาบันการเงินนั้น
(๑๐) เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามหรือขาดคุณสมบัติอื่นใด ทั้งนี้ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
มาตรา ๒๕ การแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน จะต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งบุคคลใหม่หรือแต่งตั้งบุคคลเดิมให้ดำรงตำแหน่งต่อไป
ในการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับคำขอและเอกสารที่เกี่ยวข้องครบถ้วนตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด หากธนาคารแห่งประเทศไทยมิได้แจ้งผลการพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งนั้นแล้ว
สินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ประกอบด้วย
(๑) เงินที่นำเข้ามาจากสำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นของสถาบันการเงินต่างประเทศซึ่งตั้งอยู่นอกประเทศไทย
(๒) เงินสำรองต่างๆ แต่ไม่รวมถึงเงินสำรองสำหรับการลดค่าของสินทรัพย์และเงินสำรองเพื่อการชำระหนี้ หรือ(๓) เงินกำไรสุทธิแต่ละรอบปีบัญชีของสาขาหลังจากหักผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกรอบปีบัญชีแล้ว และให้รวมถึงเงินกำไรที่ได้โอนไปเป็นส่วนของสำนักงานใหญ่ในทางบัญชีแล้วแต่ยังไม่ได้จำหน่ายออกนอกราชอาณาจักร
ในกรณีที่ปรากฏว่า เมื่อนำสินทรัพย์จัดชั้นหรือภาระผูกพันในส่วนที่ยังมิได้ตัดออกจากบัญชีหรือกันเงินสำรองไว้มาหักออกจากเงินกองทุนแล้ว เงินกองทุนมีจำนวนต่ำกว่าที่ต้องดำรงไว้ตามมาตรา ๓๐ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สถาบันการเงินนั้นถือปฏิบัติจนกว่าจะได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง
หากหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่งมีผลให้สถาบันการเงินต้องเพิ่มการตัดสินทรัพย์ออกจากบัญชีหรือเพิ่มการกันเงินสำรอง จะต้องประกาศล่วงหน้าก่อนวันใช้บังคับไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
มาตรา ๖๑ ให้สถาบันการเงินกันเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์และภาระผูกพันอื่นที่ไม่เสียหายตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด แต่ทั้งนี้จะกำหนดอัตราเกินร้อยละห้าของสินทรัพย์และภาระผูกพันอื่นที่ไม่เสียหายมิได้
มาตรา ๖๒ ให้สถาบันการเงินระงับการรับรู้และยกเลิกรายการดอกเบี้ยค้างรับที่เคยรับรู้เป็นรายได้สำหรับสินทรัพย์ที่ถูกจัดชั้นตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
“ธุรกิจธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นโดยวิธีหนึ่งวิธีใด เช่น ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ
“ธุรกิจเงินทุน” หมายความว่า การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ ซึ่งมิใช่การรับฝากเงินหรือรับเงินไว้ในบัญชีที่จะเบิกถอนโดยใช้เช็ค และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นโดยวิธีหนึ่งวิธีใด เช่น ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด
“ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์” หมายความว่า การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่จะจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(๑) การให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์
(๒) การรับซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยวิธีขายฝาก
“ธุรกิจทางการเงิน” หมายความว่า ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือธุรกิจอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๑) ให้สินเชื่อ ทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หรือประกันหนี้แก่กรรมการผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงินหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว เว้นแต่การให้สินเชื่อในรูปของบัตรเครดิตตามอัตราขั้นสูงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด หรือการให้สินเชื่อเพื่อเป็นสวัสดิการแก่บุคคลดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๒) รับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงินที่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงินหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว เป็นผู้สั่งจ่าย ผู้ออกตั๋ว หรือผู้สลักหลัง
(๓) จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นแก่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงินหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว เป็นค่าตอบแทนสำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจใดๆ ของสถาบันการเงินนั้น ซึ่งมิใช่บำเหน็จ เงินเดือน รางวัล และเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ
(๔) ขาย ให้ หรือให้เช่าทรัพย์สินใดๆ แก่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการผู้ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว หรือรับซื้อ หรือเช่าทรัพย์สินใดๆ จากบุคคลดังกล่าวมีมูลค่ารวมกันสูงกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(๕) ให้ผลประโยชน์อื่นใดแก่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
มาตรา ๔๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๙ ห้ามมิให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือแก่กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันเมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ ในแต่ละรายเกินร้อยละห้าของเงินกองทุนชนิดหนึ่งชนิดใดของสถาบันการเงินนั้น หรือเกินร้อยละยี่สิบห้าของหนี้สินทั้งหมดของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือของกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องนั้น แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ ให้นับการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่นั้นด้วย
อัตราค่าบริการรายปีตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นที่สถาบันการเงินเรียกเก็บจากประชาชนและลูกค้าต่อปีในการให้สินเชื่อ ซึ่งรวมถึงดอกเบี้ย ส่วนลด และค่าบริการ
----------------------------------------------------
สรุปประเด็น : เพื่อให้เห็นภาพโดยรวมของกฎหมาย
พัฒนาการของสถาบันการเงิน
ระยะที่ ๑ การสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบสถาบันการเงิน
ระยะที่ ๒ การสร้างเสถียรภาพของสถาบันการเงินเพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม
หลักการ : หลักความเชื่อมั่น การบริหารความเสี่ยงบนพื้นฐานของความเป็นไปได้ การบริหารสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ และการคุ้มครองผู้บริโภค
"เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี จึงทำให้การกำกับดูแลแตกต่างกัน แต่โดยที่การดำเนินกิจการของสถาบันการเงินควรมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอันมีผลกระทบโดยตรงต่อสถาบันการเงิน และกระทบกระเทือนความเชื่อมั่นของประชาชนและผู้ฝากเงินที่มีต่อระบบสถาบันการเงินโดยรวม ดังนั้น สมควรปรับปรุงมาตรการในการกำกับดูแลสถาบันการเงินดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และรวมเป็นฉบับเดียวกัน เพื่อให้การควบคุมดูแลเป็นมาตรฐานเดียวกัน ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษสำหรับความผิดที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น"
------------------------------------------
(๑) หลักความเชื่อมั่น
-- การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน--
มาตรา ๙ การประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์จะกระทำได้เฉพาะนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด โดยได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ในการอนุญาตดังกล่าวรัฐมนตรีจะกำหนดหลักเกณฑ์ตามที่เห็นสมควรก็ได้
การยื่นคำขอจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อประกอบธุรกิจตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับความเห็นชอบในการจัดตั้งจากรัฐมนตรีก่อน
เมื่อได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดแล้ว ให้บริษัทมหาชนจำกัดนั้นยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดต่อรัฐมนตรีโดยผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ตลอดจนเสียค่าธรรมเนียมตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย
มาตรา ๑๐ ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศจะตั้งสาขาเพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยตามพระราชบัญญัตินี้ได้ เมื่อได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ในการอนุญาตดังกล่าว รัฐมนตรีจะกำหนดหลักเกณฑ์ตามที่เห็นสมควรก็ได้ในการขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศแสดงหนังสือยินยอมให้ยื่นคำขอจัดตั้งสาขาจากหน่วยงานผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศนั้นต่อรัฐมนตรีโดยผ่านธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตลอดจนเสียค่าธรรมเนียมตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย
มาตรา ๑๑ สถาบันการเงินต้องใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า “ธนาคาร” “บริษัทเงินทุน” หรือ “บริษัทเครดิตฟองซิเอร์” นำหน้า ตามที่ระบุในใบอนุญาต แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๒ ห้ามผู้ใดนอกจากสถาบันการเงินใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจทางการเงินว่า “ธนาคาร” “เงินทุน” “การเงิน” “การลงทุน” “เครดิต” “ทรัสต์” “ไฟแนนซ์” “บริษัทเครดิตฟองซิเอร์” หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๑๓ การจัดตั้ง หรือย้ายสำนักงานใหญ่หรือสาขา หรือการเลิกสาขาของสถาบันการเงินต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
มาตรา ๑๔ การตั้งสำนักงานผู้แทนของสถาบันการเงินในต่างประเทศ และการตั้งสำนักงานผู้แทนของสถาบันการเงินต่างประเทศในประเทศ จะกระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกำหนดหลักเกณฑ์ให้ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
สำนักงานผู้แทนตามวรรคหนึ่ง จะรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ไม่ได้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
--โครงสร้างหุ้นและผู้ถือหุ้น--
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อการครอบงำธุรกิจที่มีผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
มาตรา ๑๕ หุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิของสถาบันการเงินต้องเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อผู้ถือมีมูลค่าของหุ้นไม่เกินหุ้นละหนึ่งร้อยบาท และข้อบังคับของสถาบันการเงินต้องไม่มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น เว้นแต่จะเป็นข้อจำกัดเพื่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
สถาบันการเงินอาจออกหุ้นบุริมสิทธิที่ไม่มีสิทธิออกเสียง หรือหุ้นบุริมสิทธิอื่นได้เมื่อได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดหลักเกณฑ์ที่สถาบันการเงินต้องปฏิบัติก็ได้
มาตรา ๑๖ สถาบันการเงินต้องมีจำนวนหุ้นที่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยถืออยู่ไม่ต่ำกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และต้องมีกรรมการเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควร ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจอนุญาตให้บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นได้ถึงร้อยละสี่สิบเก้าของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และให้มีกรรมการที่เป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยได้เกินกว่าหนึ่งในสี่แต่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องแก้ไขฐานะการดำเนินการหรือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันการเงินใด หรือเพื่อความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจผ่อนผันให้มีจำนวนหุ้นหรือกรรมการแตกต่างไปจากที่กำหนดตามวรรคสองได้ในการผ่อนผันนั้นจะกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนเวลาไว้ด้วยก็ได้
มาตรา ๑๗ บุคคลใดถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่งไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ตั้งแต่ร้อยละห้าขึ้นไปของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด บุคคลนั้นต้องรายงานการถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นดังกล่าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
จำนวนหุ้นตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลตามวรรคหนึ่งถืออยู่หรือมีไว้ด้วย
หุ้นตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงหุ้นบุริมสิทธิที่ไม่มีสิทธิออกเสียง
ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งไม่รายงานตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ให้นำความในมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับแก่หุ้นที่ไม่รายงานนั้น โดยอนุโลม
มาตรา ๑๘ ห้ามมิให้บุคคลใดถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่งไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยหรือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
จำนวนหุ้นตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลตามวรรคหนึ่งถืออยู่หรือมีไว้ด้วย
หุ้นตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงหุ้นบุริมสิทธิที่ไม่มีสิทธิออกเสียง
มาตรา ๑๙ บุคคลใดได้มาซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่งจนเป็นเหตุให้จำนวนหุ้นที่ตนถืออยู่หรือมีไว้เป็นไปโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๘ บุคคลนั้นจะต้องนำหุ้นในส่วนที่เกินออกจำหน่ายแก่บุคคลอื่นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหุ้นนั้นมา เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งจะผ่อนผันได้อีกไม่เกินเก้าสิบวัน
ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งไม่จำหน่ายหุ้นในส่วนที่เกินภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยอาจร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้ขายหุ้นในส่วนที่เกินดังกล่าวได้ และถ้าศาลเห็นว่าการถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นนั้นเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๘ ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นก็ได้
มาตรา ๒๐ ห้ามมิให้สถาบันการเงินจำหน่ายหุ้นของตนแก่บุคคลใดจนเป็นเหตุให้จำนวนหุ้นที่บุคคลนั้นถืออยู่หรือมีไว้เป็นไปโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๘
การนับจำนวนหุ้นตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมถึงหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลตามวรรคหนึ่งถืออยู่หรือมีไว้ด้วย
ทุกครั้งที่มีการชี้ชวนให้เข้าชื่อซื้อหุ้นของสถาบันการเงินใด ให้สถาบันการเงินนั้นระบุหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ ไว้ในคำชี้ชวนด้วย
มาตรา ๒๑ บุคคลใดถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินใดโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๘ บุคคลนั้นจะยกเอาการถือหุ้นในส่วนที่เกินนั้นใช้ยันต่อสถาบันการเงินดังกล่าวมิได้ และสถาบันการเงินนั้นจะจ่ายเงินปันผลหรือผลตอบแทนอื่นใดให้แก่บุคคลนั้น หรือให้บุคคลนั้นออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามจำนวนหุ้นในส่วนที่เกินมิได้
ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งได้รับหุ้นมาโดยสุจริตจากการรับมรดก หากสถาบันการเงินนั้นได้ประกาศจ่ายเงินปันผลในช่วงระยะเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหุ้นมาหรือภายในระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยตามมาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง ให้มีสิทธิรับเงินปันผลในหุ้นส่วนที่เกินร้อยละสิบตามมาตรา ๑๘ ได้ แต่บุคคลนั้นจะออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามจำนวนหุ้นในส่วนที่เกินมิได้
มาตรา ๒๒ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ ให้สถาบันการเงินตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นทุกครั้งก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นหรือก่อนจ่ายเงินปันผลหรือผลตอบแทนอื่นใดแก่ผู้ถือหุ้น แล้วให้แจ้งผลการตรวจสอบต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ถือหุ้นรายใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๘ ให้สถาบันการเงินมีหนังสือแจ้งให้ผู้นั้นดำเนินการจำหน่ายหุ้นในส่วนที่เกินภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา ๑๙ พร้อมกับแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบด้วย
มาตรา ๒๓ มิให้นำมาตรา ๑๕ ถึงมาตรา ๒๒ มาใช้บังคับกับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
--ความเชื่อมั่นเชื่อถือต่อผู้บริหารสถาบันการเงิน--
เพื่อเป็นการเสริมสร้างระบบธรรมาภิบาล Good Governance ให้แก่สถาบันการเงิน จึงกำหนดให้มีกระบวนการแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารสถาบันการเงิน รวมตลอดถึงการกำหนดมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสาธารณะ
มาตรา ๒๔ ห้ามมิให้สถาบันการเงินแต่งตั้งหรือยอมให้บุคคลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นหรือทำหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน
(๑) เป็นบุคคลล้มละลายหรือพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายมาแล้วไม่ถึงห้าปี
(๒) เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต ไม่ว่าจะมีการรอการลงโทษหรือไม่ก็ตาม
(๓) เคยถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ องค์การ หรือหน่วยงานของรัฐฐานทุจริตต่อหน้าที่
(๔) เคยเป็นผู้มีอำนาจในการจัดการซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(๕) เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ตามมาตรา ๘๙ (๓) หรือมาตรา ๙๐ (๔) หรือตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(๖) เป็นกรรมการ ผู้จัดการ พนักงาน หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงินแห่งอื่นอีกในเวลาเดียวกัน เว้นแต่ได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(๗) เป็นผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการนอกเหนือจากตำแหน่งกรรมการของบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการค้ำประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงินนั้น เว้นแต่
(ก) เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินซึ่งไม่ใช่กรรมการที่เป็นผู้บริหาร
(ข) เป็นกรณีที่ได้รับยกเว้นตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๘) เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นใดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๙) เป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยหรือเป็นผู้ที่พ้นจากการเป็นพนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด เว้นแต่ได้รับแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้เข้าไปแก้ไขฐานะการเงินหรือการดำเนินการของสถาบันการเงิน หรือเป็นการดำรงตำแหน่งในสถาบันการเงินที่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย หรือผู้ที่พ้นจากการเป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยแต่ยังต้องห้ามไม่ให้รับตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดดังกล่าว ไม่มีสิทธิที่จะได้รับสิทธิในการซื้อหุ้นของสถาบันการเงินนั้น
(๑๐) เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามหรือขาดคุณสมบัติอื่นใด ทั้งนี้ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
มาตรา ๒๕ การแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน จะต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งบุคคลใหม่หรือแต่งตั้งบุคคลเดิมให้ดำรงตำแหน่งต่อไป
ในการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับคำขอและเอกสารที่เกี่ยวข้องครบถ้วนตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด หากธนาคารแห่งประเทศไทยมิได้แจ้งผลการพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งนั้นแล้ว
ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าบุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๔ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเพิกถอนการให้ความเห็นชอบที่ได้ให้ไว้แล้ว
มาตรา ๒๖ ในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี สถาบันการเงินมีหน้าที่แจ้งหรือแสดงให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบเกี่ยวกับผลประโยชน์และค่าตอบแทนที่กรรมการ ผู้จัดการ และผู้มีอำนาจในการจัดการได้รับจากสถาบันการเงิน และมีหน้าที่แจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบถึงการเป็นกรรมการในธุรกิจอื่นด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
มาตรา ๒๖ ในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี สถาบันการเงินมีหน้าที่แจ้งหรือแสดงให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบเกี่ยวกับผลประโยชน์และค่าตอบแทนที่กรรมการ ผู้จัดการ และผู้มีอำนาจในการจัดการได้รับจากสถาบันการเงิน และมีหน้าที่แจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบถึงการเป็นกรรมการในธุรกิจอื่นด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้กรรมการมีหน้าที่แจ้งการเป็นกรรมการในธุรกิจอื่นแก่สถาบันการเงิน
มาตรา ๒๗ ในการดำเนินกิจการของสถาบันการเงิน กรรมการต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง และต้องรับผิดชอบร่วมกันในการบริหารงานสถาบันการเงินนั้น ซึ่งรวมถึงเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) การให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) การจัดทำและเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่แท้จริงของสถาบันการเงิน โดยต้องเปิดเผยให้ผู้ถือหุ้น ผู้ฝากเงิน และประชาชนได้รับทราบและสามารถตรวจสอบได้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๓) การให้สถาบันการเงินเรียกประชุมผู้ถือหุ้นภายในสี่เดือนนับแต่สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือน เมื่อปรากฏว่าสถาบันการเงินนั้นประสบการขาดทุนจนทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาหกเดือนตามมาตรา ๖๗ ลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละห้าสิบของทุนที่ชำระแล้ว และให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนที่ชำระแล้วเพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินตามความเป็นจริง
มาตรา ๒๗ ในการดำเนินกิจการของสถาบันการเงิน กรรมการต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง และต้องรับผิดชอบร่วมกันในการบริหารงานสถาบันการเงินนั้น ซึ่งรวมถึงเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) การให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) การจัดทำและเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่แท้จริงของสถาบันการเงิน โดยต้องเปิดเผยให้ผู้ถือหุ้น ผู้ฝากเงิน และประชาชนได้รับทราบและสามารถตรวจสอบได้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๓) การให้สถาบันการเงินเรียกประชุมผู้ถือหุ้นภายในสี่เดือนนับแต่สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือน เมื่อปรากฏว่าสถาบันการเงินนั้นประสบการขาดทุนจนทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาหกเดือนตามมาตรา ๖๗ ลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละห้าสิบของทุนที่ชำระแล้ว และให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนที่ชำระแล้วเพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินตามความเป็นจริง
มาตรา ๒๘ กรรมการต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อผู้ถือหุ้น หรือผู้ฝากเงิน หรือผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการระดมเงินจากประชาชนของสถาบันการเงิน เพื่อความเสียหายใดๆ อันเกิดจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้ตรวจการสถาบันการเงินสั่งการตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ทุจริตหรือมีส่วนในการไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
--การเพิ่มมาตรการในการกำกับดูแลสถาบันการเงินให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล (Internationalization)--
มาตรการดังกล่าวเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านต่าง ๆ อาทิ ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ ความเสี่ยงด้านตลาด ฯลฯ ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่สถาบันการเงินอาจได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดต่อประชาชน
การดำรงเงินกองทุนและสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงิน
มาตรา ๒๙ สถาบันการเงินต้องดำรงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจประกาศกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุนรวมทั้งหลักเกณฑ์ในการคำนวณเงินกองทุนของสถาบันการเงิน
มาตรา ๓๐ สถาบันการเงินต้องดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ หนี้สิน ภาระผูกพัน หรือตัวแปรและความเสี่ยงอื่นใดตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจประกาศกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุนรวมทั้งหลักเกณฑ์ในการคำนวณเงินกองทุนของสถาบันการเงิน
มาตรา ๓๐ สถาบันการเงินต้องดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ หนี้สิน ภาระผูกพัน หรือตัวแปรและความเสี่ยงอื่นใดตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
การประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจประกาศกำหนดเป็นการทั่วไปให้สถาบันการเงินดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ หนี้สิน ภาระผูกพัน หรือตัวแปรและความเสี่ยงอื่นใด ตามขนาดหรือประเภทของสินทรัพย์ หนี้สิน ภาระผูกพัน หรือตัวแปรและความเสี่ยงรวมทุกประเภทหรือแต่ละประเภทได้ หรือในกรณีที่ปรากฏว่าสถาบันการเงินใดมีความเสี่ยงสูง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะสั่งการให้สถาบันการเงินนั้นดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควรก็ได้
มาตรา ๓๑ ให้สถาบันการเงินเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำรงเงินกองทุนและข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของสถาบันการเงินหรือกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
มาตรา ๓๒ สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตามความในพระราชบัญญัตินี้ ต้องดำรงสินทรัพย์ไว้ในประเทศไทยหรือมีหลักทรัพย์ในต่างประเทศตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด และให้ถือว่าสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นเงินกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๑ ให้สถาบันการเงินเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำรงเงินกองทุนและข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของสถาบันการเงินหรือกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
มาตรา ๓๒ สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตามความในพระราชบัญญัตินี้ ต้องดำรงสินทรัพย์ไว้ในประเทศไทยหรือมีหลักทรัพย์ในต่างประเทศตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด และให้ถือว่าสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นเงินกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
สินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ประกอบด้วย
(๑) เงินที่นำเข้ามาจากสำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นของสถาบันการเงินต่างประเทศซึ่งตั้งอยู่นอกประเทศไทย
(๒) เงินสำรองต่างๆ แต่ไม่รวมถึงเงินสำรองสำหรับการลดค่าของสินทรัพย์และเงินสำรองเพื่อการชำระหนี้ หรือ(๓) เงินกำไรสุทธิแต่ละรอบปีบัญชีของสาขาหลังจากหักผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกรอบปีบัญชีแล้ว และให้รวมถึงเงินกำไรที่ได้โอนไปเป็นส่วนของสำนักงานใหญ่ในทางบัญชีแล้วแต่ยังไม่ได้จำหน่ายออกนอกราชอาณาจักร
การจัดชั้นสินทรัพย์และการกันเงินสำรอง
มาตรา ๖๐ ให้สถาบันการเงินจัดชั้นสินทรัพย์และภาระผูกพันที่เสียหายหรืออาจเสียหายและให้ตัดออกจากบัญชีหรือกันเงินสำรองไว้สำหรับสินทรัพย์และภาระผูกพันดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
ในกรณีที่ปรากฏว่า เมื่อนำสินทรัพย์จัดชั้นหรือภาระผูกพันในส่วนที่ยังมิได้ตัดออกจากบัญชีหรือกันเงินสำรองไว้มาหักออกจากเงินกองทุนแล้ว เงินกองทุนมีจำนวนต่ำกว่าที่ต้องดำรงไว้ตามมาตรา ๓๐ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สถาบันการเงินนั้นถือปฏิบัติจนกว่าจะได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง
หากหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่งมีผลให้สถาบันการเงินต้องเพิ่มการตัดสินทรัพย์ออกจากบัญชีหรือเพิ่มการกันเงินสำรอง จะต้องประกาศล่วงหน้าก่อนวันใช้บังคับไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
มาตรา ๖๑ ให้สถาบันการเงินกันเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์และภาระผูกพันอื่นที่ไม่เสียหายตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด แต่ทั้งนี้จะกำหนดอัตราเกินร้อยละห้าของสินทรัพย์และภาระผูกพันอื่นที่ไม่เสียหายมิได้
มาตรา ๖๒ ให้สถาบันการเงินระงับการรับรู้และยกเลิกรายการดอกเบี้ยค้างรับที่เคยรับรู้เป็นรายได้สำหรับสินทรัพย์ที่ถูกจัดชั้นตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
การบริหารสินทรัพย์และดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
มาตรา ๖๓ ให้สถาบันการเงินบริหารสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพัน ให้มีความสัมพันธ์กับการรับฝากเงิน การกู้ยืมเงิน หรือการรับเงินจากประชาชน ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
มาตรา ๖๔ ให้สถาบันการเงินดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นอัตราส่วนกับยอดเงินรับฝากหรือยอดเงินกู้ยืมทั้งหมดหรือแต่ละประเภทในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
มาตรา ๖๔ ให้สถาบันการเงินดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นอัตราส่วนกับยอดเงินรับฝากหรือยอดเงินกู้ยืมทั้งหมดหรือแต่ละประเภทในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจประกาศกำหนดให้สถาบันการเงินดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องแต่เพียงบางประเภทหรือทุกประเภท หรือประกาศกำหนดอัตราส่วนของแต่ละประเภทในอัตราใดเป็นการทั่วไป หรือในกรณีที่มีเหตุอันสมควรจะกำหนดเป็นการเฉพาะรายก็ได้
การประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หากมีผลให้สถาบันการเงินต้องเพิ่มอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง จะต้องประกาศล่วงหน้าก่อนวันใช้บังคับไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
มาตรา ๖๕ สินทรัพย์สภาพคล่อง ได้แก่
(๑) เงินสด
(๒) เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
(๓) เงินฝากสุทธิที่สถาบันการเงินอื่น
(๔) บัตรเงินฝากที่ปราศจากภาระผูกพัน
(๕) หลักทรัพย์รัฐบาลไทย หลักทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือหลักทรัพย์กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ที่ปราศจากภาระผูกพัน
(๖) หุ้นกู้หรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ค้ำประกันเฉพาะต้นเงินหรือรวมทั้งดอกเบี้ย และปราศจากภาระผูกพัน
(๗) สินทรัพย์อื่นใดที่กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน รับภาระสุดท้ายที่จะชดใช้ความเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๘) สินทรัพย์อื่นที่มีสภาพคล่องและความน่าเชื่อถือตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดสินทรัพย์สภาพคล่องตาม (๔) (๕) (๖) และ (๘) ต้องสามารถโอนเปลี่ยนมือได้
มาตรา ๖๕ สินทรัพย์สภาพคล่อง ได้แก่
(๑) เงินสด
(๒) เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
(๓) เงินฝากสุทธิที่สถาบันการเงินอื่น
(๔) บัตรเงินฝากที่ปราศจากภาระผูกพัน
(๕) หลักทรัพย์รัฐบาลไทย หลักทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือหลักทรัพย์กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ที่ปราศจากภาระผูกพัน
(๖) หุ้นกู้หรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ค้ำประกันเฉพาะต้นเงินหรือรวมทั้งดอกเบี้ย และปราศจากภาระผูกพัน
(๗) สินทรัพย์อื่นใดที่กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน รับภาระสุดท้ายที่จะชดใช้ความเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๘) สินทรัพย์อื่นที่มีสภาพคล่องและความน่าเชื่อถือตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดสินทรัพย์สภาพคล่องตาม (๔) (๕) (๖) และ (๘) ต้องสามารถโอนเปลี่ยนมือได้
----------------------------------
(๒) การบริหารความเสี่ยงบนพื้นฐานของความเป็นไปได้
เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจสถาบันการเงินและธุรกรรมทางการเงิน ตามแนวทางการเป็น Universial Bank หรือให้สถาบันการเงินมีความยืดหยุ่นได้มากขึ้น
-- มีการจัดตั้งกลุ่มธุรกรรมทางการเงินให้ครบวงจรตามแนวทาง Universial Bank--
ขยายกิจการจาก ๒ ขา (ขารับฝากเงิน ขานำเงินออกใช้ประโยชน์) ให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้หลากหลายขึ้น (ความเป็นไปได้) แต่ต้องคำนึงถึงศักยภาพของธุรกิจตน (พิจารณาจากมาตรา ๓๖ ตอนท้าย และคำนิยามศัพท์ธุรกิจทางการเงิน)
มาตรา ๓๖ ให้ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ประกอบธุรกิจได้เฉพาะธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง หรือจำเป็นต่อการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศกำหนดธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องหรือจำเป็นโดยแยกตามประเภทสถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์แต่ละชนิดก็ได้ และจะกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องหรือจำเป็นนั้นด้วยก็ได้
“ธุรกิจสถาบันการเงิน” หมายความว่า ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และให้หมายความรวมถึงการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
“ธุรกิจธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นโดยวิธีหนึ่งวิธีใด เช่น ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ
“ธุรกิจเงินทุน” หมายความว่า การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ ซึ่งมิใช่การรับฝากเงินหรือรับเงินไว้ในบัญชีที่จะเบิกถอนโดยใช้เช็ค และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นโดยวิธีหนึ่งวิธีใด เช่น ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด
“ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์” หมายความว่า การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่จะจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(๑) การให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์
(๒) การรับซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยวิธีขายฝาก
“ธุรกิจทางการเงิน” หมายความว่า ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือธุรกิจอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
นอกจากนี้ ยังได้กำหนดให้สถาบันการเงินยังสามารถใช้บริการจากบุคคลภายนอกมาประกอบธุรกิจได้ มาตรา ๔๗ สถาบันการเงินอาจใช้บริการจากบุคคลภายนอกในการประกอบธุรกิจตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
--การขยายฐานการลงทุนบนพื้นฐานของการป้องกันความเสี่ยง--
มาตรการการดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
มาตรา ๕๓ กลุ่มธุรกิจทางการเงิน ประกอบด้วยสถาบันการเงินและบริษัทอื่นที่ประกอบธุรกิจทางการเงิน หรือธุรกิจที่เป็นการสนับสนุนธุรกิจทางการเงินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(๑) กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ประกอบด้วยสถาบันการเงินเป็นบริษัทแม่และมีบริษัทอื่นเป็นบริษัทลูกบริษัทเดียวหรือหลายบริษัท หรือ
(๒) กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ประกอบด้วยบริษัทแม่ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินแต่มีสถาบันการเงินเป็นบริษัทลูก โดยจะมีบริษัทลูกเพียงบริษัทเดียวหรือหลายบริษัทเป็นบริษัทร่วมก็ได้
มาตรา ๕๔ ห้ามมิให้จัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
มาตรา ๕๕ ให้นำความในมาตรา ๑๖ ถึงมาตรา ๒๒ มาใช้บังคับกับการถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นในบริษัทแม่ของสถาบันการเงิน โดยอนุโลม
(๑) กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ประกอบด้วยสถาบันการเงินเป็นบริษัทแม่และมีบริษัทอื่นเป็นบริษัทลูกบริษัทเดียวหรือหลายบริษัท หรือ
(๒) กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ประกอบด้วยบริษัทแม่ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินแต่มีสถาบันการเงินเป็นบริษัทลูก โดยจะมีบริษัทลูกเพียงบริษัทเดียวหรือหลายบริษัทเป็นบริษัทร่วมก็ได้
มาตรา ๕๔ ห้ามมิให้จัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
มาตรา ๕๕ ให้นำความในมาตรา ๑๖ ถึงมาตรา ๒๒ มาใช้บังคับกับการถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นในบริษัทแม่ของสถาบันการเงิน โดยอนุโลม
ให้นำความในมาตรา ๒๕ มาใช้บังคับกับการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของบริษัทแม่ของสถาบันการเงินและบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงิน โดยอนุโลม
มิให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับกับบริษัทแม่หรือบริษัทลูกของสถาบันการเงินในกรณีที่มีกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของบริษัทแม่หรือบริษัทลูกของสถาบันการเงินกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องนั้นไว้เป็นการเฉพาะแล้ว
มาตรา ๕๖ บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินจะประกอบธุรกิจได้แต่เฉพาะธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจที่เป็นการสนับสนุนตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดเท่านั้นแต่จะประกอบการค้าหรือธุรกิจอื่นมิได้
มาตรา ๕๖ บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินจะประกอบธุรกิจได้แต่เฉพาะธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจที่เป็นการสนับสนุนตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดเท่านั้นแต่จะประกอบการค้าหรือธุรกิจอื่นมิได้
ในการประกอบธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจที่เป็นการสนับสนุนตามวรรคหนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจดังกล่าวไว้ด้วยก็ได้ เว้นแต่กฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจนั้นจะได้กำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจในเรื่องนั้นไว้เป็นการเฉพาะแล้ว
มาตรา ๕๗ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบความมั่นคงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมของสถาบันการเงินนั้นในลักษณะเหมือนกับเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด เว้นแต่กฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจนั้นจะได้กำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจในเรื่องนั้นไว้เป็นการเฉพาะแล้ว
มาตรา ๕๗ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบความมั่นคงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมของสถาบันการเงินนั้นในลักษณะเหมือนกับเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด เว้นแต่กฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจนั้นจะได้กำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจในเรื่องนั้นไว้เป็นการเฉพาะแล้ว
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดอัตราส่วนเงินกองทุนหรือทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินนั้นเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ หนี้สินภาระผูกพัน หรือตัวแปรและความเสี่ยงอื่นใด หรือกำหนดอัตราส่วนอื่นๆ ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินนั้นได้ รวมทั้งมีอำนาจกำหนดให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินเปิดเผยข้อมูลระหว่างกันได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
มาตรา ๕๘ ห้ามมิให้สถาบันการเงินจัดตั้งหรือมีบริษัทลูก เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
มาตรา ๕๘ ห้ามมิให้สถาบันการเงินจัดตั้งหรือมีบริษัทลูก เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเงื่อนไขอื่นใดให้สถาบันการเงินหรือบริษัทลูกต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
ห้ามมิให้สถาบันการเงินซื้อหรือมีหุ้นในบริษัทลูกโดยมีมูลค่าของหุ้นรวมกันทั้งสิ้นเกินอัตราส่วนกับเงินกองทุนทั้งหมดหรือเงินกองทุนชนิดหนึ่งชนิดใด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
มาตรา ๕๙ สถาบันการเงินอาจให้สินเชื่อหรือทำธุรกรรมกับบริษัทแม่ บริษัทลูก หรือบริษัทร่วมของสถาบันการเงินได้ แต่จะให้สินเชื่อหรือทำธุรกรรมเกินกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
มาตรา ๕๙ สถาบันการเงินอาจให้สินเชื่อหรือทำธุรกรรมกับบริษัทแม่ บริษัทลูก หรือบริษัทร่วมของสถาบันการเงินได้ แต่จะให้สินเชื่อหรือทำธุรกรรมเกินกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
การทำธุรกรรมตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึง
(๑) การซื้อหรือขายสินทรัพย์ และรวมถึงสินทรัพย์ที่มีสัญญาซื้อคืนจากบริษัทแม่ บริษัทลูกหรือบริษัทร่วม
(๒) การรับหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทแม่ บริษัทลูก หรือบริษัทร่วมเป็นหลักประกันการให้สินเชื่อ หรือการออกหนังสือคํ้าประกัน หรือเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อบริษัทแม่ บริษัทลูกหรือบริษัทร่วม
(๓) การทำธุรกรรมใดๆ ที่เป็นผลให้บริษัทแม่ บริษัทลูก หรือบริษัทร่วมได้รับประโยชน์
การให้สินเชื่อหรือการทำธุรกรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทแม่ บริษัทลูก หรือบริษัทร่วม ให้ถือว่าเป็นการให้สินเชื่อหรือการทำธุรกรรมกับบริษัทดังกล่าวด้วย
(๑) การซื้อหรือขายสินทรัพย์ และรวมถึงสินทรัพย์ที่มีสัญญาซื้อคืนจากบริษัทแม่ บริษัทลูกหรือบริษัทร่วม
(๒) การรับหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทแม่ บริษัทลูก หรือบริษัทร่วมเป็นหลักประกันการให้สินเชื่อ หรือการออกหนังสือคํ้าประกัน หรือเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อบริษัทแม่ บริษัทลูกหรือบริษัทร่วม
(๓) การทำธุรกรรมใดๆ ที่เป็นผลให้บริษัทแม่ บริษัทลูก หรือบริษัทร่วมได้รับประโยชน์
การให้สินเชื่อหรือการทำธุรกรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทแม่ บริษัทลูก หรือบริษัทร่วม ให้ถือว่าเป็นการให้สินเชื่อหรือการทำธุรกรรมกับบริษัทดังกล่าวด้วย
--มาตรฐานการให้สินเชื่อ--
ได้มีการกำหนดถึงข้อห้ามการให้สินเชื่อ ไว้ดังนี้
มาตรา ๔๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๙ ห้ามมิให้สถาบันการเงินไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
(๑) ให้สินเชื่อ ทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หรือประกันหนี้แก่กรรมการผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงินหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว เว้นแต่การให้สินเชื่อในรูปของบัตรเครดิตตามอัตราขั้นสูงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด หรือการให้สินเชื่อเพื่อเป็นสวัสดิการแก่บุคคลดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๒) รับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงินที่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงินหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว เป็นผู้สั่งจ่าย ผู้ออกตั๋ว หรือผู้สลักหลัง
(๓) จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นแก่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงินหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว เป็นค่าตอบแทนสำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจใดๆ ของสถาบันการเงินนั้น ซึ่งมิใช่บำเหน็จ เงินเดือน รางวัล และเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ
(๔) ขาย ให้ หรือให้เช่าทรัพย์สินใดๆ แก่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการผู้ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว หรือรับซื้อ หรือเช่าทรัพย์สินใดๆ จากบุคคลดังกล่าวมีมูลค่ารวมกันสูงกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(๕) ให้ผลประโยชน์อื่นใดแก่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
มาตรา ๔๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๙ ห้ามมิให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือแก่กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันเมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ ในแต่ละรายเกินร้อยละห้าของเงินกองทุนชนิดหนึ่งชนิดใดของสถาบันการเงินนั้น หรือเกินร้อยละยี่สิบห้าของหนี้สินทั้งหมดของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือของกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องนั้น แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ ให้นับการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่นั้นด้วย
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดอัตราขั้นสูงในการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือแก่กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องให้สูงกว่าอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่งได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง หมายความว่า บริษัทที่สถาบันการเงิน กรรมการของสถาบันการเงิน ผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านี้ ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
มาตรา ๕๐ ห้ามมิให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใด หรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน เมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ เกินร้อยละยี่สิบห้าของเงินกองทุนชนิดหนึ่งชนิดใด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
มาตรา ๕๐ ห้ามมิให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใด หรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน เมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ เกินร้อยละยี่สิบห้าของเงินกองทุนชนิดหนึ่งชนิดใด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
การกำหนดตามวรรคหนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกำหนดเป็นจำนวนเงินหรืออัตราส่วนต่ำกว่าอัตราที่กำหนดไว้ก็ได้
ในกรณีที่สถาบันการเงินใด ควบรวมกิจการ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือจำหน่าย จ่ายโอนสินทรัพย์ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ หรือกรณีมีเหตุอันสมควรอื่นใด ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจผ่อนผันให้สถาบันการเงินนั้นไม่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่งเป็นการชั่วคราวได้
ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นบริษัท จำนวนเงินที่ให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ต้องไม่เกินอัตราส่วนกับทุน หรือเงินกองทุนของบริษัทนั้นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด เว้นแต่ได้รับผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ในกรณีที่มีการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่นิติบุคคลใด ให้นับรวมการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วม เป็นของนิติบุคคลนั้นด้วย
ในกรณีที่มีการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลใด ให้นับรวมการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น เป็นของบุคคลนั้นด้วย
การให้สินเชื่อโดยรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงินตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเป็นการให้สินเชื่อแก่ผู้ทรงซึ่งขายตั๋วเงินและบุคคลซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วเงินทุกทอดด้วย เว้นแต่เป็นตั๋วเงินตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
ในกรณีที่สถาบันการเงินใดได้รับการประกันความเสี่ยงในการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อจากสถาบันการเงินหรือบริษัทอื่นตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ให้ถือว่าสถาบันการเงินนั้นให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงินหรือบริษัทผู้ประกันความเสี่ยงดังกล่าวตามวรรคหนึ่งด้วย
มาตรา ๕๑ ห้ามมิให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจแต่ละประเภทเกินอัตราส่วนกับเงินกองทุนหรือสินทรัพย์ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
มาตรา ๕๒ มิให้นำความในมาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ มาใช้บังคับกับสถาบันการเงินในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ให้สินเชื่อหรือก่อภาระผูกพันที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย ทั้งนี้ เท่าที่ไม่เกินจำนวนที่ได้รับการค้ำประกัน
(๒) ให้สินเชื่อหรือก่อภาระผูกพันแก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินหรือธนาคารแห่งประเทศไทย
(๓) ลงทุนโดยการซื้อหลักทรัพย์รัฐบาลไทย หลักทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย หลักทรัพย์กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือหลักทรัพย์สถาบันคุ้มครองเงินฝากหลักทรัพย์ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยโดยกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ทั้งนี้ เท่าที่ไม่เกินราคาที่ตราไว้
(๔) ให้สินเชื่อโดยมีเงินฝากของสถาบันการเงินนั้น หลักทรัพย์รัฐบาลไทย หลักทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย หลักทรัพย์กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินหรือหลักทรัพย์สถาบันคุ้มครองเงินฝาก หลักทรัพย์ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยโดยกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือสถาบันคุ้มครองเงินฝาก เป็นประกัน ทั้งนี้ เท่าที่ไม่เกินจำนวนเงินฝากที่เป็นประกันหรือราคาหลักทรัพย์ที่ตราไว้
(๕) ค้ำประกันการขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๖) ให้กู้ยืมระหว่างสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๗) ให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อที่มีความเสี่ยงน้อยหรือมีความเสี่ยงเทียบเท่าหลักทรัพย์รัฐบาล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๘) ออกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการค้า
มาตรา ๕๑ ห้ามมิให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจแต่ละประเภทเกินอัตราส่วนกับเงินกองทุนหรือสินทรัพย์ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
มาตรา ๕๒ มิให้นำความในมาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ มาใช้บังคับกับสถาบันการเงินในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ให้สินเชื่อหรือก่อภาระผูกพันที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย ทั้งนี้ เท่าที่ไม่เกินจำนวนที่ได้รับการค้ำประกัน
(๒) ให้สินเชื่อหรือก่อภาระผูกพันแก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินหรือธนาคารแห่งประเทศไทย
(๓) ลงทุนโดยการซื้อหลักทรัพย์รัฐบาลไทย หลักทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย หลักทรัพย์กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือหลักทรัพย์สถาบันคุ้มครองเงินฝากหลักทรัพย์ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยโดยกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ทั้งนี้ เท่าที่ไม่เกินราคาที่ตราไว้
(๔) ให้สินเชื่อโดยมีเงินฝากของสถาบันการเงินนั้น หลักทรัพย์รัฐบาลไทย หลักทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย หลักทรัพย์กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินหรือหลักทรัพย์สถาบันคุ้มครองเงินฝาก หลักทรัพย์ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยโดยกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือสถาบันคุ้มครองเงินฝาก เป็นประกัน ทั้งนี้ เท่าที่ไม่เกินจำนวนเงินฝากที่เป็นประกันหรือราคาหลักทรัพย์ที่ตราไว้
(๕) ค้ำประกันการขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๖) ให้กู้ยืมระหว่างสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๗) ให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อที่มีความเสี่ยงน้อยหรือมีความเสี่ยงเทียบเท่าหลักทรัพย์รัฐบาล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๘) ออกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการค้า
--------------------------------
(๓) การบริหารสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ
มาตรา ๔๒ เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขภาวะเศรษฐกิจ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจประกาศกำหนดในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดวงเงินที่สถาบันการเงินจะให้สินเชื่อ ทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อรับรอง หรือรับอาวัลตั๋วเงินสำหรับกิจการประเภทหนึ่งประเภทใด ทั้งนี้ จะกำหนดเป็นอัตราส่วนกับยอดเงินทั้งหมดที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ รับรองรับอาวัลตั๋วเงิน หรือเป็นอัตราส่วนกับเงินกองทุนของสถาบันการเงินหรือยอดเงินที่ได้กู้ยืมและรับจากประชาชน ณ ขณะหนึ่งขณะใดก็ได้
(๒) ห้ามมิให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อ หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อในกิจการประเภทใดๆ เพิ่มขึ้นหรือสูงกว่าอัตราที่กำหนด ทั้งนี้ จะกำหนดเป็นอัตราส่วนกับยอดเงินทั้งหมดที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อ หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อในแต่ละกิจการ ณ ขณะหนึ่งขณะใดก็ได้
(๑) กำหนดวงเงินที่สถาบันการเงินจะให้สินเชื่อ ทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อรับรอง หรือรับอาวัลตั๋วเงินสำหรับกิจการประเภทหนึ่งประเภทใด ทั้งนี้ จะกำหนดเป็นอัตราส่วนกับยอดเงินทั้งหมดที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ รับรองรับอาวัลตั๋วเงิน หรือเป็นอัตราส่วนกับเงินกองทุนของสถาบันการเงินหรือยอดเงินที่ได้กู้ยืมและรับจากประชาชน ณ ขณะหนึ่งขณะใดก็ได้
(๒) ห้ามมิให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อ หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อในกิจการประเภทใดๆ เพิ่มขึ้นหรือสูงกว่าอัตราที่กำหนด ทั้งนี้ จะกำหนดเป็นอัตราส่วนกับยอดเงินทั้งหมดที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อ หรือทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อในแต่ละกิจการ ณ ขณะหนึ่งขณะใดก็ได้
-------------------------------
(๔) มาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภค
ได้มีการกำหนดกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพ
(๑) การกำหนดให้สถาบันการเงินต้องเปิดเผยข้อมูลให้แก่ประชาชน ทั้งในฐานะผู้ฝากเงิน ผู้ขอรับสินเชื่อ หรือในฐานะผู้ติดต่อกับสถาบันการเงิน
(๒) กรณีค่าธรรมเนียม อัตราดอกเบี้ย เบี้ยปรับ หรือค่าฤชาธรรมเนียมอื่น
(๓) การทำสัญญา รวมถึงเรื่องข้อสัญญาที่มีลักษณะไม่เป็นธรรม
มาตรา ๓๙ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจประกาศกำหนดให้สถาบันการเงินประเภทหนึ่งประเภทใดถือปฏิบัติในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) การรับฝากเงิน การรับเงินจากประชาชน การกู้ยืมเงิน การลงทุน การให้สินเชื่อการก่อภาระผูกพัน และการประกอบธุรกิจอื่นที่สถาบันการเงินนั้นดำเนินการได้
(๒) การทำนิติกรรมหรือสัญญากับประชาชน ผู้บริโภค หรือลูกค้ารายย่อยในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน ซึ่งมีทุนทรัพย์หรือมูลค่าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ไม่ว่าจะเป็นในเนื้อหาสาระ วิธีการคำนวณผลประโยชน์หรือแบบสัญญา
(๓) การทำสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคล โดยให้มีการระบุวงเงินของต้นเงินในสัญญา หรือมิให้มีการทำข้อตกลงให้ผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันแบบไม่จำกัดจำนวน
ในกรณีที่เป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลาที่มีกำหนดแน่นอน และสถาบันการเงินยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้น แต่ไม่สามารถจะตกลงกันได้ภายในเวลาหกเดือน ให้สถาบันการเงินแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบ
(๔) ข้อที่ต้องปฏิบัติหากนิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นนั้นให้สิทธิแก่สถาบันการเงินที่จะเปลี่ยนแปลงสัญญาได้ฝ่ายเดียว
(๕) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการเงิน
มาตรา ๔๐ ให้สถาบันการเงินแจ้งและแสดงวิธีการและรายละเอียดในการคำนวณอัตราค่าบริการรายปีให้ประชาชนและลูกค้าผู้มาขอสินเชื่อทราบ
(๑) การรับฝากเงิน การรับเงินจากประชาชน การกู้ยืมเงิน การลงทุน การให้สินเชื่อการก่อภาระผูกพัน และการประกอบธุรกิจอื่นที่สถาบันการเงินนั้นดำเนินการได้
(๒) การทำนิติกรรมหรือสัญญากับประชาชน ผู้บริโภค หรือลูกค้ารายย่อยในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน ซึ่งมีทุนทรัพย์หรือมูลค่าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ไม่ว่าจะเป็นในเนื้อหาสาระ วิธีการคำนวณผลประโยชน์หรือแบบสัญญา
(๓) การทำสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคล โดยให้มีการระบุวงเงินของต้นเงินในสัญญา หรือมิให้มีการทำข้อตกลงให้ผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันแบบไม่จำกัดจำนวน
ในกรณีที่เป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลาที่มีกำหนดแน่นอน และสถาบันการเงินยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้น แต่ไม่สามารถจะตกลงกันได้ภายในเวลาหกเดือน ให้สถาบันการเงินแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบ
(๔) ข้อที่ต้องปฏิบัติหากนิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นนั้นให้สิทธิแก่สถาบันการเงินที่จะเปลี่ยนแปลงสัญญาได้ฝ่ายเดียว
(๕) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการเงิน
มาตรา ๔๐ ให้สถาบันการเงินแจ้งและแสดงวิธีการและรายละเอียดในการคำนวณอัตราค่าบริการรายปีให้ประชาชนและลูกค้าผู้มาขอสินเชื่อทราบ
อัตราค่าบริการรายปีตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นที่สถาบันการเงินเรียกเก็บจากประชาชนและลูกค้าต่อปีในการให้สินเชื่อ ซึ่งรวมถึงดอกเบี้ย ส่วนลด และค่าบริการ
ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจประกาศกำหนดวิธีการคำนวณอัตราค่าบริการรายปีให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติได้
---------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง : พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑
ภาพประกอบจาก http://managed-forex-accounts.net/images/home-1-125x188.jpgกิตติบดี
สถาบันการเงิน : คุณสมบัติของผู้บริหารสถาบันการเงิน
คุณสมบัติของผู้บริหารสถาบันการเงิน
(๒) เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต ไม่ว่าจะมีการรอการลงโทษหรือไม่ก็ตาม
(๒) การจัดทำและเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่แท้จริงของสถาบันการเงิน โดยต้องเปิดเผยให้ผู้ถือหุ้น ผู้ฝากเงิน และประชาชนได้รับทราบและสามารถตรวจสอบได้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๓) การให้สถาบันการเงินเรียกประชุมผู้ถือหุ้นภายในสี่เดือนนับแต่สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือน เมื่อปรากฏว่าสถาบันการเงินนั้นประสบการขาดทุนจนทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาหกเดือนตามมาตรา ๖๗ ลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละห้าสิบของทุนที่ชำระแล้ว และให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนที่ชำระแล้วเพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินตามความเป็นจริง
ด้วยเหตุที่การประกอบธุรกิจสถาบันการเงินต้องอยู่บนพื้นฐานของ หลักความน่าเชื่อถือ (Credibility) ดังนั้น การพิจารณาถึงคุณสมบัติที่เหมาะสมของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารสถาบันการเงินต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สังคม โดยคำนึงถึง ความรู้ความสามารถ ศักยภาพ และคุณธรรมจริยธรรม (การมีส่วนได้เสีย /สุจริต)
ผู้บริหารสถาบันการเงิน หมายถึง
บุคคลที่เป็นหรือมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย บริหารงาน หรือการดำเนินงานของสถาบันการเงิน
ตามมาตรา ๒๕ ในการแต่งตั้งผู้บริหารฯ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งบุคคลใหม่หรือแต่งตั้งบุคคลเดิมให้ดำรงตำแหน่งต่อไป
ตำแหน่ง (ชื่อเรียก)
ผู้บริหารฯ อาจมีชื่อเรียกตำแหน่ง เช่น กรรมการผู้บริหาร กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ* หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน** แต่ประเด็นสำคัญให้พิจารณาถึง อำนาจในการกำหนดนโยบาย บริหารงาน หรือการดำเนินงานของสถาบันการเงิน
*"ผู้มีอำนาจในการจัดการ" หมายความว่า
(๑) ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ กรรมการที่เป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินหรือบริษัท แล้วแต่กรณี หรือผู้ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
(๒) บุคคลซึ่งสถาบันการเงินหรือบริษัททำสัญญาให้มีอำนาจในการบริหารงานทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ
(๓) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีอำนาจควบคุมหรือครอบงำผู้จัดการหรือกรรมการ หรือการจัดการของสถาบันการเงินหรือบริษัท ให้ปฏิบัติตามคำสั่งของตนในการกำหนดนโยบายหรือการดำเนินงานของสถาบันการเงินหรือบริษัท
(๑) ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ กรรมการที่เป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินหรือบริษัท แล้วแต่กรณี หรือผู้ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
(๒) บุคคลซึ่งสถาบันการเงินหรือบริษัททำสัญญาให้มีอำนาจในการบริหารงานทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ
(๓) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีอำนาจควบคุมหรือครอบงำผู้จัดการหรือกรรมการ หรือการจัดการของสถาบันการเงินหรือบริษัท ให้ปฏิบัติตามคำสั่งของตนในการกำหนดนโยบายหรือการดำเนินงานของสถาบันการเงินหรือบริษัท
**"ที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน" ในที่นี้มีความหมายแตกต่างจาก การที่สถาบันการเงินว่าจ้างผู้ที่เชี่ยวชาญเฉพาะสาขามาทำงานให้แก่สถาบันการเงิน อาทิ
- ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
- ที่ปรึกษาด้าน IT
- ที่ปรึกษาด้านการลงทุนและเครือข่าย
- ที่ปรึกษาด้านภาษี
- ที่ปรึกษาด้านการเงินการธนาคาร
หรือ ที่ปรึกษาด้านงานอื่นที่ผู้บริหารให้ความสำคัญตามภารกิจและเป้าหมายของสถาบันการเงิน
สำหรับที่ปรึกษาของสถาบันการเงินที่อยู่ในข่ายของผู้บริหารนี้ ต้องเป็นผู้ที่ทำหน้าที่เป็นหรือเสมือนเป็นกรรมการผู้บริหาร กรรมการ รองผู้จัดการ หรือผู้ช่วยผู้จัดการ เพราะในบางสถาบันการเงินเพียงใช้ชื่อเรียกตำแหน่งว่าที่ปรึกษา แทนที่จะเรียกชื่อกรรมการ รองผู้จัดการ หรืออื่นใด แต่แท้จริงทำงานในบทบาทของผู้บริหาร
คุณสมบัติของผู้บริหารสถาบันการเงิน
ตามมาตรา ๒๔ ได้กำหนดคุณสมบัติต้องห้ามของผู้บริหารสถาบันการเงินไว้ดังนี้
ห้ามมิให้สถาบันการเงินแต่งตั้งหรือยอมให้บุคคลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นหรือทำหน้าที่ผู้บริหารสถาบันการเงิน
(๑) เป็นบุคคลล้มละลายหรือพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายมาแล้วไม่ถึงห้าปี
(๒) เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต ไม่ว่าจะมีการรอการลงโทษหรือไม่ก็ตาม
(๓) เคยถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ องค์การ หรือหน่วยงานของรัฐฐานทุจริตต่อหน้าที่
(๔) เคยเป็นผู้มีอำนาจในการจัดการซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(๕) เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ตามมาตรา ๘๙ (๓) หรือมาตรา ๙๐ (๔) หรือตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(๖) เป็นกรรมการ ผู้จัดการ พนักงาน หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงินแห่งอื่นอีกในเวลาเดียวกัน เว้นแต่ได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(๗) เป็นผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการนอกเหนือจากตำแหน่งกรรมการของบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการค้ำประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงินนั้น เว้นแต่
(ก) เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินซึ่งไม่ใช่กรรมการที่เป็นผู้บริหาร
(ข) เป็นกรณีที่ได้รับยกเว้นตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(ก) เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินซึ่งไม่ใช่กรรมการที่เป็นผู้บริหาร
(ข) เป็นกรณีที่ได้รับยกเว้นตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(ปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการที่ได้รับสินเชื่อ หรือได้รับการค้ำประกัน หรืออาวัล หรือมีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงินนั้น สามารถเป็นหรือทำหน้าที่ผู้บริหารสถาบันการเงินได้)
(๘) เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นใดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๙) เป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยหรือเป็นผู้ที่พ้นจากการเป็นพนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด เว้นแต่ได้รับแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้เข้าไปแก้ไขฐานะการเงินหรือการดำเนินการของสถาบันการเงิน หรือเป็นการดำรงตำแหน่งในสถาบันการเงินที่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย หรือผู้ที่พ้นจากการเป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยแต่ยังต้องห้ามไม่ให้รับตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดดังกล่าว ไม่มีสิทธิที่จะได้รับสิทธิในการซื้อหุ้นของสถาบันการเงินนั้น
(๑๐) เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามหรือขาดคุณสมบัติอื่นใด ทั้งนี้ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ยังได้มีการกำหนดคุณสมบัติต้องห้ามเพิ่มเติม ได้แก่
(๑) เป็นบุคคลที่มีปัญหาในการชำระต้นเงิน หรือดอกเบี้ยกับสถาบันการเงิน
(๒) เป็นบุคคลที่เคยถูกธนาคารแห่งประเทศไทยหรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สั่งถอดถอนจากการเป็นผู้บริหารสถาบันการเงิน หรือบริษัทหลักทรัพย์ใดมาก่อน เว้นแต่จะพ้นระยะเวลาที่กำหนดห้ามเป็นผู้บริหารมาแล้ว หรือได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยหรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี
(๓) เป็นบุคคลที่เคยถูกธนาคารแห่งประเทศไทย หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานของรัฐทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่กำกับและควบคุมสถาบันการเงิน กล่าวโทษ ร้องทุกข์ หรือกำลังถูกดำเนินคดีในความผิดฐานฉ้อโกง หรือทุจริตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสถาบันการเงิน และหลักทรัพย์ และกฎหมายอื่น เว้นแต่ปรากฎว่าคดีถึงที่สุดโดยไม่มีความผิด
(๔) เป็นบุคคลที่เคยทำหรือเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการใด ๆ ที่มีลักษณะอันเป็นการหลอกลวงผู้อื่นหรือประชาชน
(๕) เป็นบุคคลที่มีประวัติเสียหาย หรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงวิธีการทำธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่น่าเชื่อถือ
(๖) เป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมที่แสดงถึงการทำงานอันส่อไปในทางไม่สุจริต
(๗) เป็นบุคคลที่มีการทำงานที่แสดงถึงการขาดจรรยาบรรณหรือขาดมาตรฐานในการประกอบธุรกิจสถาบันการเงินหรือการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเงิน
(๘) เป็นบุคคลที่มีการบริหารงานที่แสดงถึงการละเลยการทำหน้าที่ตามสมควรในการกลั่นกรองหรือตรวจสอบดูแลมิให้บุคคลที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาฝ่าฝืน หรือปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือขาดจรรยาบรรณ หรือขาดความรอบคอบที่พึงมีในการปฏิบัติหน้าที่อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจสถาบันการเงินโดยรวม หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะหรือการดำเนินธุรกิจสถาบันการเงินอย่างมีนัยสำคัญ หรือต่อลูกค้าของธุรกิจสถาบันการเงิน
(๙) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(๑๐) เป็นบุคคลที่พ้นจากการเป็นพนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่ครบ ๑ ปี ในตำแหน่งผู้อำนวยการขึ้นไป หรือตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นของส่วนงานต่าง ๆ หรือผู้บริหารส่วนหรือตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นในส่วนงานที่สามารถล่วงรู้ข้อมูลของกิจการสถาบันการเงินตามอำนาจหน้าที่
อำนาจของผู้บริหารสถาบันการเงิน
---มีอำนาจในการกำหนดนโยบาย บริหารจัดการสถาบันการเงิน---
หน้าที่ของผู้บริหารสถาบันการเงิน
(๑) หน้าที่ดำเนินกิจการของธุรกิจสถาบันการเงิน
(๒) หน้าที่ประกอบธุรกิจโดยอาศัยหลัก "บุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง" (Professional Duty of Care)
(๓) หน้าที่รับผิดชอบร่วมกันในการบริหารสถาบันการเงิน
มาตรา ๒๗ ในการดำเนินกิจการของสถาบันการเงิน กรรมการต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง และต้องรับผิดชอบร่วมกันในการบริหารงานสถาบันการเงินนั้น ซึ่งรวมถึงเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) การให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๑) การให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) การจัดทำและเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่แท้จริงของสถาบันการเงิน โดยต้องเปิดเผยให้ผู้ถือหุ้น ผู้ฝากเงิน และประชาชนได้รับทราบและสามารถตรวจสอบได้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๓) การให้สถาบันการเงินเรียกประชุมผู้ถือหุ้นภายในสี่เดือนนับแต่สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือน เมื่อปรากฏว่าสถาบันการเงินนั้นประสบการขาดทุนจนทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาหกเดือนตามมาตรา ๖๗ ลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละห้าสิบของทุนที่ชำระแล้ว และให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนที่ชำระแล้วเพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินตามความเป็นจริง
มาตรา ๒๘ กรรมการต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อผู้ถือหุ้น หรือผู้ฝากเงิน หรือผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการระดมเงินจากประชาชนของสถาบันการเงิน เพื่อความเสียหายใดๆ อันเกิดจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้ตรวจการสถาบันการเงินสั่งการตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ทุจริตหรือมีส่วนในการไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
-------------------------------
หมายเหตุ มาตราตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑
ภาพประกอบจาก
กิตติบดี
วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
สถาบันการเงิน : การคุ้มครองผู้บริโภค เรื่อง การติดตามทวงหนี้
การทวงหนี้ของสถาบันการเงิน
---------------------------------------------------
---------------------------------------------------
ในทางปกติการใช้ประโยชน์จากเงินของธนาคาร คือการนำเงินไปให้สินเชื่อ ซึ่งอาจจะประสบปัญหาลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ทำให้ต้องมีการบอกกล่าว ทวงถาม ติดตามให้ชำระหนี้ ก่อนดำเนินการฟ้องร้องบังคับชำระหนี้ต่อไป
ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฏในหลายกรณีว่า ในการติดตามทวงหนี้ได้มีการกระทบกระทั่งกันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ หรือสร้างความเดือดร้อนเกินสมควรให้แก่ลูกหนี้ หรือ เจ้าหนี้อาจจะใช้สิทธิที่เกินพอดีไป ดังนั้น จึงได้มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติในการติดตามทวงหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน ให้ได้มาตรฐานและไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับลูกหนี้
รูปแบบ
๑. ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ดำเนินการทวงหนี้เอง
๒. ผู้ประกอบธุรกิจว่าจ้างบุคคลภายนอกเป็นผู้ดำเนินการทวงหนี้
วิธีการ
"ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ลูกหนี้จนเกินควร"
ขอบเขต
หลักการนี้ใช้กับผู้ประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือ Non Bank
แนวปฏิบัติในการติดตามทวงหนี้ มีดังต่อไปนี้
๑. ผู้ประกอบธุรกิจควรคำนึงถึงเวลาและความถี่ในการติดตามเพื่อการติดตามทวงหนี้
ให้ดำเนินการภายใน ๘.๐๐-๒๐.๐๐ น. ในวันธรรดา ส่วนวันหยุดราชการ ให้ดำเนินการภายในเวลา ๘.๐๐- ๑๘.๐๐ น. ทั้งนี้ ความถี่ให้คำนึงถึงความเหมาะสม
๒. การแสดงตัวเพื่อวัตถุประสงค์ในการติดตามทวงหนี้
๓. วิธีการเรียกเก็บหนี้
ต้องไม่เรียกเก็บหนี้จากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้ ไม่ใช้ความรุนแรงอันเป็นการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล ไม่ปลอมแปลงบิดเบือนข้อมูล เอกสารและแสดงท่าทางอันทำให้ลูกหนี้สำคัญผิด การทวงหนี้ไม่มีลักษณะของการข่มขู่ หรือคุกคามในลักษณะที่ผิดกฎหมาย รวมถึงการกระทำใด ๆ ที่มีลักษณะของการรบกวนสิทธิ หรือรังควานลูกหนี้โดยไม่มีเหตุอันสมควร ในที่นี้ หมายถึงการใช้คำที่สุภาพ หรือไม่ใช้คำหยาบคายที่มีลักษณะเป็นการข่มขู่ลูกหนี้
ประเด็นสำคัญ
๔. ต้องมีการเก็บรักษาความลับของลูกหนี้ กล่าวคือ ผู้ประกอบธุรกิจต้องใช้ความระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในการเก็บรักษาความลับของลูกค้า (ลูกหนี้) ไม่เปิดเผยข้อความในการมีหนี้สินให้ลูกหนี้อับอาย หรือรบกวนสิทธิตามปกติสุขของคนทั่วไป
๕. การรับเงินจากลูกหนี้
ต้องมีหลักฐานการรับเงินที่เหมาะสมและมีผลในการชำระหนี้ตามกฎหมาย
ข้อสังเกต
ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเลือกผู้ว่าจ้างให้ดำเนินการแทนตนนั้น ต้องรับผิดชอบในผลของการกระทำที่ผู้ว่าจ้างได้กระทำเสมือนว่าตนเป็นผู้ดำเนินการเอง ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจสถาบันการเงินจะต้องให้ความใส่ใจและพิถีพิถันในการเลือกผู้ว่าจ้างที่ให้บริการเรียกเก็บหนี้ (พิจารณาคุณสมบัติ ระบบงาน ความน่าเชื่อถือ และระบบการเก็บรักษาความลับ เป็นต้น)
-----------------------------------------------
สภาพปัจจุบัน ลูกหนี้ได้รับความเดือดร้อนจากการทวงหนี้อยู่หลายราย เนื่องจาก การติดตามทวงหนี้ที่ไม่คำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน หลายคนอาจแย้งว่า หากลูกหนี้ไม่ผิดนัดก็คงไม่มีปัญหาอะไร กรณีเช่นนี้ ต้องจำแนกแยกแยะให้ชัดว่า การเป็นลูกหนี้ กับการละเมิดสิทธิของลูกหนี้เป็นคนละเรื่องกัน เหมือนกับนิติกรรม-นิติเหตุ หมายความว่า การเป็นลูกหนี้ไม่ได้หมายความว่าเจ้าหนี้จะมีอำนาจในการกระทบสิทธิของลูกหนี้ได้
ประการสำคัญ ผมว่าเรื่องดังกล่าวต้องพิเคราะห์ให้ดีว่า ความผิดจากการผิดนัดคงไม่ได้อยู่ที่ลูกหนี้อย่างเดียว ปัจจัยอาจเกิดจากตัวเจ้าหนี้เอง ทำไมเจ้าหนี้ไม่วิเคราะห์ถึงศักยภาพของการชำระคืน หรือการเรียกหลักประกันเพื่อบังคับเอาแก่หลักประกัน หรือแม้แต่นโยบายการให้สินเชื่อที่คำนึงถึงเรื่องการตลาด จนมอมเมาให้คนหลายคนเป็นหนี้ทั้ง ๆ ที่ตนมีศักยภาพน้อย/จำกั หรือบางรายไม่มี เป็นต้น รวมถึงการเรียกให้ชำระหนี้ ซึ่งตามกฎหมาย "เจ้าหนี้ต้องบังคับชำระหนี้เอากับลูกหนี้โดยพลัน" แต่ข้อเท็จจริง เจ้าหนี้บางรายรอให้เกือบครบอายุความแล้วค่อยดำเนินการทางกฎหมาย เพื่อหวังผลเรื่องดอกเบี้ยผิดนัด และ/หรือเบี้ยปรับ จนทำให้ยอดหนี้ท่วมมูลหนี้หลายเท่าตัว อย่างนี้....ท่านว่าเป็นธรรมหรือไม่....
........................................................
หมายเหตุ
มาตรา ๒๗ ในการดำเนินกิจการของสถาบันการเงิน กรรมการต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง และต้องรับผิดชอบร่วมกันในการบริหารงานสถาบันการเงินนั้น ซึ่งรวมถึงเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) การให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) การจัดทำและเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่แท้จริงของสถาบันการเงิน โดยต้องเปิดเผยให้ผู้ถือหุ้น ผู้ฝากเงิน และประชาชนได้รับทราบและสามารถตรวจสอบได้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๓) การให้สถาบันการเงินเรียกประชุมผู้ถือหุ้นภายในสี่เดือนนับแต่สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือน เมื่อปรากฏว่าสถาบันการเงินนั้นประสบการขาดทุนจนทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาหกเดือนตามมาตรา ๖๗ ลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละห้าสิบของทุนที่ชำระแล้ว และให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนที่ชำระแล้วเพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินตามความเป็นจริง
(๑) การให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) การจัดทำและเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่แท้จริงของสถาบันการเงิน โดยต้องเปิดเผยให้ผู้ถือหุ้น ผู้ฝากเงิน และประชาชนได้รับทราบและสามารถตรวจสอบได้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๓) การให้สถาบันการเงินเรียกประชุมผู้ถือหุ้นภายในสี่เดือนนับแต่สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือน เมื่อปรากฏว่าสถาบันการเงินนั้นประสบการขาดทุนจนทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาหกเดือนตามมาตรา ๖๗ ลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละห้าสิบของทุนที่ชำระแล้ว และให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนที่ชำระแล้วเพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินตามความเป็นจริง
มาตรา ๓๙ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจประกาศกำหนดให้สถาบันการเงินประเภทหนึ่งประเภทใดถือปฏิบัติในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) การรับฝากเงิน การรับเงินจากประชาชน การกู้ยืมเงิน การลงทุน การให้สินเชื่อการก่อภาระผูกพัน และการประกอบธุรกิจอื่นที่สถาบันการเงินนั้นดำเนินการได้
(๒) การทำนิติกรรมหรือสัญญากับประชาชน ผู้บริโภค หรือลูกค้ารายย่อยในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน ซึ่งมีทุนทรัพย์หรือมูลค่าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ไม่ว่าจะเป็นในเนื้อหาสาระ วิธีการคำนวณผลประโยชน์หรือแบบสัญญา
(๓) การทำสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคล โดยให้มีการระบุวงเงินของต้นเงินในสัญญา หรือมิให้มีการทำข้อตกลงให้ผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันแบบไม่จำกัดจำนวน
ในกรณีที่เป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลาที่มีกำหนดแน่นอน และสถาบันการเงินยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้น แต่ไม่สามารถจะตกลงกันได้ภายในเวลาหกเดือน ให้สถาบันการเงินแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบ
(๔) ข้อที่ต้องปฏิบัติหากนิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นนั้นให้สิทธิแก่สถาบันการเงินที่จะเปลี่ยนแปลงสัญญาได้ฝ่ายเดียว
(๕) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการเงิน
(๑) การรับฝากเงิน การรับเงินจากประชาชน การกู้ยืมเงิน การลงทุน การให้สินเชื่อการก่อภาระผูกพัน และการประกอบธุรกิจอื่นที่สถาบันการเงินนั้นดำเนินการได้
(๒) การทำนิติกรรมหรือสัญญากับประชาชน ผู้บริโภค หรือลูกค้ารายย่อยในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน ซึ่งมีทุนทรัพย์หรือมูลค่าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ไม่ว่าจะเป็นในเนื้อหาสาระ วิธีการคำนวณผลประโยชน์หรือแบบสัญญา
(๓) การทำสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคล โดยให้มีการระบุวงเงินของต้นเงินในสัญญา หรือมิให้มีการทำข้อตกลงให้ผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันแบบไม่จำกัดจำนวน
ในกรณีที่เป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลาที่มีกำหนดแน่นอน และสถาบันการเงินยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้น แต่ไม่สามารถจะตกลงกันได้ภายในเวลาหกเดือน ให้สถาบันการเงินแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบ
(๔) ข้อที่ต้องปฏิบัติหากนิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นนั้นให้สิทธิแก่สถาบันการเงินที่จะเปลี่ยนแปลงสัญญาได้ฝ่ายเดียว
(๕) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการเงิน
-----------------------------------
(อ้างอิง : แหล่งข้อมูลจากแนวปฏิบัติในการติดตามทวงถามหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย)
กิตติบดี
สถาบันการเงิน : ขอบเขตการสอบปลายภาค
ขอบเขตการสอบปลายภาควิชากฎหมายว่าด้วยสถาบันการเงิน
ประเด็น
๑. การประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน
๒. ขอบเขตของธุรกิจธนาคารพาณิชย์
๓. ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ประกอบด้วย ธุรกรรม Factoring ธุรกรรมการให้เช่าซื้อ ธุรกรรมการให้เช่าแบบ Leasing
๔. กรรมการผู้บริหารสถาบันการเงิน
๕. การกำกับสถาบันการเงิน ประเด็น การดำรงเงินสำรองตาม Basel II
๖. การให้สินเชื่อ
๗. ธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน
๘. การคุ้มครองผู้บริโภค กรณีการทวงหนี้ลูกหนี้
สอบปลายภาค : ๕๐ คะแนน
ไม่อนุญาตให้ใช้เอกสารเข้าห้องสอบ
พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๔, ๕, ๙,๑๑,๑๒,๒๔,๒๕,๒๗,๒๙,๓๐,๓๑,๓๖,๓๙,๔๑,๔๘ รวม ๑๕ มาตรา
----------------------------------
กิตติบดี
ประเด็น
๑. การประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน
๒. ขอบเขตของธุรกิจธนาคารพาณิชย์
๓. ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ประกอบด้วย ธุรกรรม Factoring ธุรกรรมการให้เช่าซื้อ ธุรกรรมการให้เช่าแบบ Leasing
๔. กรรมการผู้บริหารสถาบันการเงิน
๕. การกำกับสถาบันการเงิน ประเด็น การดำรงเงินสำรองตาม Basel II
๖. การให้สินเชื่อ
๗. ธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน
๘. การคุ้มครองผู้บริโภค กรณีการทวงหนี้ลูกหนี้
สอบปลายภาค : ๕๐ คะแนน
ไม่อนุญาตให้ใช้เอกสารเข้าห้องสอบ
พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๔, ๕, ๙,๑๑,๑๒,๒๔,๒๕,๒๗,๒๙,๓๐,๓๑,๓๖,๓๙,๔๑,๔๘ รวม ๑๕ มาตรา
----------------------------------
กิตติบดี
วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
กฎหมายสถาบันการเงิน : ถาม-ตอบ สถาบันการเงินกับระบบเศรษฐกิจ
สถาบันการเงินกับระบบเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ของสถาบันการเงินกับระบบเศรษฐกิจ
๑. สถาบันการเงิน หมายความว่า
“ธุรกิจสถาบันการเงิน” หมายความว่า ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และให้หมายความรวมถึงการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
๑.๑ ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ หมายความว่า การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นโดยวิธีหนึ่งวิธีใด เช่น ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ
๑.๒ ธุรกิจเงินทุน หมายความว่า การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ ซึ่งมิใช่การรับฝากเงินหรือรับเงินไว้ในบัญชีที่จะเบิกถอนโดใช้เช็ค และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นโดยวิธีหนึ่งวิธีใด เช่น ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด
๑.๓ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์” หมายความว่า การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่จะจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
๑) การให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์
๒) การรับซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยวิธีขายฝาก
๑.๔ ธุรกิจทางการเงิน หมายความว่า ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือธุรกิจอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
ข้อสังเกต ธุรกิจสถาบันการเงินนั้นจะมีลักษณะของ (๑) การระดมทุน และ (๒) การกระจายเงิน หรือเรียกรวม ๆ ว่า “การบริหารสภาพคล่อง” ซึ่งหากจะกล่าวจำเพาะบุคคลเรียกว่า “การบริหารสภาพคล่องของปัจเจก” หรือกล่าวถึงภาพรวมของระบบเศรษฐกิจเรียกว่า “การบริหารสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ” ซึ่งจะเห็นได้ว่า เครื่องมือที่รัฐบาลใช้ให้เกิดสภาพคล่องตามหลักเศรษฐศาสตร์ คือ “นโยบายเรื่องดอกเบี้ย” โดยคำนึงถึงภาวะทางเศรษฐกิจ (เงินเฟ้อ/เงินฝืด)
๒. ระบบเศรษฐกิจ หมายความว่า
อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ระบบเศรษฐกิจคือภาพรวมของภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีการไหลเวียนของเงิน โดยมีตลาดการเงินทำหน้าที่เป็นตัวจักรสำคัญ (หัวใจ) ในการกระจายเงินไปยังภาคส่วนต่าง ๆ (และยิ่งมีความสำคัญมาก หากภาคส่วนใดต้องการเงินมาเสริมความมั่นคง) ภาคส่วนดังกล่าวได้แก่
๑. ภาคครัวเรือน หรือ ภาคประชาชน (ในความหมายของการจับจ่ายใช้สอยของปัจเจกชน)
๒. ภาคธุรกิจ หรือ ผู้ประกอบกิจการห้างร้าน ทั้งในรูปนิติบุคคลหรือไม่ก็ตาม
๓. ภาคต่างประเทศ หรือ ผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้า
๔. ภาครัฐบาล
ขอให้ท่านลอง ไล่สายถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งจะมีผลเชื่อมโยงกันหมด ตัวอย่าง นายกิตติ เป็นข้าราชการ มีเงินเดือน (ภาคครัวเรือน) ต้องนำไปจับจ่ายใช้สอยซื้อหาเครื่องอุปโภคบริโภค (ภาคธุรกิจ....สัมพันธ์กับภาคต่างประเทศ) โดยที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อสินค้าและบริการ และต้องเสียภาษีรายได้เมื่อถึงกำหนดชำระภาษีประจำปี (ภาครัฐบาล) ....สมมติว่านายกิตติ ต้องการซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค แต่มีปัจจัยไม่เพียงพอ นายกิตติ สามารถไปติดต่อเพื่อเสริมสภาพคล่องของตนได้ที่ตลาดการเงิน เช่นกัน เมื่อนายกิตติต้องการเพิ่มรายได้ (ดอกเบี้ย) หรือลงทุน (เงินปันผล) ก็สามารถดำเนินการได้โดยผ่านตลาดการเงิน ขอให้พิจารณาตามแผนภาพเรื่องชนิดของผลตอบแทนประกอบ
๓. ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเงินกับระบบเศรษฐกิจ
๑. ทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้แก่ภาคส่วนต่าง ๆ
๒. ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการบริหารสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ
๓. ทำหน้าที่เชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจของประเทศ
๔. ตลาดการเงิน คืออะไร
ทำความเข้าจอย่างง่าย ก็คือ แหล่งรวมของเงินของทั้งผู้ต้องการออม ต้องการเงิน หรือ ต้องการลงทุน แบ่งตลาดการเงิน ออกเป็นสองประเภท ได้แก่ ตลาดเงิน (สถาบันการเงิน...ต้องการออม ระดมทุน หรือต้องการเงิน) และตลาดทุน (ตลาดหลักทรัพย์...การลงทุน)
๕. สถาบันการเงินสามารถเข้าไปลงทุนได้หรือไม่
ได้ เพราะ สถาบันการเงินเป็นธุรกิจประเภทหนึ่ง ที่มีความจำเป็นต้องระดมทุนมาใช้ในการดำเนินกิจการ การระดมทุนของสถาบันการเงินมีหลายแบบ เช่น การรับฝากเงิน (การออม) ผลตอบแทน ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินฝาก หรือ การเข้าไปลงทุนในตลาดทุน (ซื้อหุ้นสถาบันการเงิน) ผลตอบแทน ได้แก่ เงินปันผล หรือ การกู้ยืมเงิน ผลตอบแทน ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินกู้
๖. ตลาดเงินกับตลาดทุน มีความแตกต่างกันหรือไม่
---มี--- จากการเปรียบเทียบข้างต้น จะเห็นได้ว่า โดยหลักแล้ว ตลาดเงิน (ธนาคาร) จะมีบทบาทในการเคลื่อนย้ายเงินในลักษณะคล่องตัวเพื่อเสริมสภาพคล่อง ส่วนตลาดทุน คือ การระดมทุนไปใช้ประโยชน์ในการสร้างความมั่นคั่งหรือเสถียรภาพของธุรกิจ (การขยายตัวของธุรกิจ) ซึ่งบทบาทมีความแตกต่างกันไป แต่อย่างไรก็ตามก็เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมีการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ
๗. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถาบันการเงินมีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจ
ได้แก่ (๑) ลัทธิพาณิชย์นิยม/ทุนนิยม
(๒) การค้าระหว่างประเทศ
(๓) การเปิดเสรีทางการค้า
จากเดิม รัฐบาลมีหน้าที่ทั้ง “สร้างความมั่นคง ปลอดภัย” และ “สร้างความมั่งคั่ง”
แต่ภายหลังมีการจัดระเบียบโลก โดยมีกติกาสากลว่า “รัฐบาลมีหน้าที่เพียงสร้างความมั่นคง ปลอดภัยให้แก่ประชาชน” ส่วนหน้าที่ “สร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศ” เป็นหน้าที่ของภาคเอกชน รัฐบาลทำหน้าที่เป็นแต่เพียงผู้กำกับภาคเอกชนให้ดำเนินการไปตามกรอบกติกาเท่านั้น
สังเกตได้จากพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจ ดังนี้
(๑) ยุคของการล่าอาณานิคม
(๒) ยุคของการพัฒนา (เครื่องจักร)
(๓) ยุคของการพัฒนา (เครื่องจักรชั้นสูง)
(๔) ยุคโลกไร้พรมแดน (เทคโนโลยี)
๘. ประเทศไทยมีวิวัฒนาการตามข้อ ๗ หรือไม่
---มี---
สังเกตได้จาก พัฒนาการของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับแรกจนกระทั่งแผนฯปัจจุบัน ซึ่งมีพัฒนาการเป็นไปตามลำดับยุคต่าง ๆ ตามข้อ ๗
โปรดศึกษาเพิ่มเติม
§ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๐๖- ๒๕๐๙
§ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๐- ๒๕๑๔
§ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๑๕- ๒๕๑๙
§ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๒๐- ๒๕๒๔
§ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๒๕- ๒๕๒๙
§ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๓๐- ๒๕๓๔
§ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕- ๒๕๓๙
§ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๔๕- ๒๕๔๙
§ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๕๐- ๒๕๕๔
ซึ่งมีข้อน่าสังเกตว่า ในแผนฯ ฉบับต่าง ๆ นั้น เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศและการค้าระหว่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญ
๙. ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ ๑๐ มีแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินอย่างไร
แนวทางการพัฒนาด้านการเงิน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจสนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิตไปสู่ระบบการผลิตที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้นและช่วยกระจายความเจริญและความเป็นธรรมไปสู่ภาคส่วนต่างๆ ของสังคม โดยการดำเนินนโยบายการเงินที่โปร่งใสตรวจสอบได้และมีความสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและอัตราแลกเปลี่ยน การกำกับดูแลสถาบันการเงินให้มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ การดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศไม่ให้ผันผวน การพัฒนาตลาดทุนให้ก้าวหน้าและมีการกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพทำให้การพึ่งพาแหล่งเงินทุนมีความสมดุลมากขึ้นระหว่างระบบธนาคารและตลาดทุน การส่งเสริมการออมทำให้การพึ่งพาเงินทุนในประเทศและการระดมทุนจากต่างประเทศมีความสมดุลมากขึ้นและลดความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตดุลการชำระเงิน การสร้างความร่วมมือทางการเงินกับประเทศในภูมิภาคเพื่อรองรับวิกฤตจะช่วยให้ประเทศไทยมีความสามารถในการเผชิญวิกฤตได้ดีขึ้น การส่งเสริมระบบสถาบันการเงินให้มีความมั่นคงมากขึ้นจากการปรับโครงสร้างระบบสถาบันการเงินซึ่งจะทำให้สถาบันการเงินมีแนวโน้มที่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นจากการรวมตัวและควบรวม การดำเนินงานของระบบประกันเงินฝาก การดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลเครดิตและการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพเงินกองทุนของสถาบันการเงินที่สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการออมและสนับสนุนให้มีการระดมทุนไปสู่ภาคเศรษฐกิจจริงอย่างเหมาะสม
นอกจากนี้มีการพัฒนาระบบสถาบันการเงินและตลาดทุนให้มีความมั่นคง มีเสถียรภาพกลไกตลาดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพทำให้เงินออมของประชาชนมีความมั่นคง ปลอดภัย และมีผลตอบแทน รวมถึงการปรับโครงสร้างสถาบันการเงินตามแผนพัฒนาสถาบันการเงิน และเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสของการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางการเงินที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อให้ระบบสถาบันการเงินมีความมั่นคง และการสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งของสถาบันการเงินภายใต้บรรยากาศทางการเงินที่การแข่งขันมากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
กิตติบดี
ความสัมพันธ์ของสถาบันการเงินกับระบบเศรษฐกิจ
๑. สถาบันการเงิน หมายความว่า
“ธุรกิจสถาบันการเงิน” หมายความว่า ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และให้หมายความรวมถึงการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
๑.๑ ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ หมายความว่า การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นโดยวิธีหนึ่งวิธีใด เช่น ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ
๑.๒ ธุรกิจเงินทุน หมายความว่า การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ ซึ่งมิใช่การรับฝากเงินหรือรับเงินไว้ในบัญชีที่จะเบิกถอนโดใช้เช็ค และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นโดยวิธีหนึ่งวิธีใด เช่น ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด
๑.๓ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์” หมายความว่า การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่จะจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
๑) การให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์
๒) การรับซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยวิธีขายฝาก
๑.๔ ธุรกิจทางการเงิน หมายความว่า ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือธุรกิจอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
ข้อสังเกต ธุรกิจสถาบันการเงินนั้นจะมีลักษณะของ (๑) การระดมทุน และ (๒) การกระจายเงิน หรือเรียกรวม ๆ ว่า “การบริหารสภาพคล่อง” ซึ่งหากจะกล่าวจำเพาะบุคคลเรียกว่า “การบริหารสภาพคล่องของปัจเจก” หรือกล่าวถึงภาพรวมของระบบเศรษฐกิจเรียกว่า “การบริหารสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ” ซึ่งจะเห็นได้ว่า เครื่องมือที่รัฐบาลใช้ให้เกิดสภาพคล่องตามหลักเศรษฐศาสตร์ คือ “นโยบายเรื่องดอกเบี้ย” โดยคำนึงถึงภาวะทางเศรษฐกิจ (เงินเฟ้อ/เงินฝืด)
๒. ระบบเศรษฐกิจ หมายความว่า
อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ระบบเศรษฐกิจคือภาพรวมของภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีการไหลเวียนของเงิน โดยมีตลาดการเงินทำหน้าที่เป็นตัวจักรสำคัญ (หัวใจ) ในการกระจายเงินไปยังภาคส่วนต่าง ๆ (และยิ่งมีความสำคัญมาก หากภาคส่วนใดต้องการเงินมาเสริมความมั่นคง) ภาคส่วนดังกล่าวได้แก่
๑. ภาคครัวเรือน หรือ ภาคประชาชน (ในความหมายของการจับจ่ายใช้สอยของปัจเจกชน)
๒. ภาคธุรกิจ หรือ ผู้ประกอบกิจการห้างร้าน ทั้งในรูปนิติบุคคลหรือไม่ก็ตาม
๓. ภาคต่างประเทศ หรือ ผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้า
๔. ภาครัฐบาล
ขอให้ท่านลอง ไล่สายถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งจะมีผลเชื่อมโยงกันหมด ตัวอย่าง นายกิตติ เป็นข้าราชการ มีเงินเดือน (ภาคครัวเรือน) ต้องนำไปจับจ่ายใช้สอยซื้อหาเครื่องอุปโภคบริโภค (ภาคธุรกิจ....สัมพันธ์กับภาคต่างประเทศ) โดยที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อสินค้าและบริการ และต้องเสียภาษีรายได้เมื่อถึงกำหนดชำระภาษีประจำปี (ภาครัฐบาล) ....สมมติว่านายกิตติ ต้องการซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค แต่มีปัจจัยไม่เพียงพอ นายกิตติ สามารถไปติดต่อเพื่อเสริมสภาพคล่องของตนได้ที่ตลาดการเงิน เช่นกัน เมื่อนายกิตติต้องการเพิ่มรายได้ (ดอกเบี้ย) หรือลงทุน (เงินปันผล) ก็สามารถดำเนินการได้โดยผ่านตลาดการเงิน ขอให้พิจารณาตามแผนภาพเรื่องชนิดของผลตอบแทนประกอบ
๓. ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเงินกับระบบเศรษฐกิจ
๑. ทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้แก่ภาคส่วนต่าง ๆ
๒. ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการบริหารสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ
๓. ทำหน้าที่เชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจของประเทศ
๔. ตลาดการเงิน คืออะไร
ทำความเข้าจอย่างง่าย ก็คือ แหล่งรวมของเงินของทั้งผู้ต้องการออม ต้องการเงิน หรือ ต้องการลงทุน แบ่งตลาดการเงิน ออกเป็นสองประเภท ได้แก่ ตลาดเงิน (สถาบันการเงิน...ต้องการออม ระดมทุน หรือต้องการเงิน) และตลาดทุน (ตลาดหลักทรัพย์...การลงทุน)
๕. สถาบันการเงินสามารถเข้าไปลงทุนได้หรือไม่
ได้ เพราะ สถาบันการเงินเป็นธุรกิจประเภทหนึ่ง ที่มีความจำเป็นต้องระดมทุนมาใช้ในการดำเนินกิจการ การระดมทุนของสถาบันการเงินมีหลายแบบ เช่น การรับฝากเงิน (การออม) ผลตอบแทน ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินฝาก หรือ การเข้าไปลงทุนในตลาดทุน (ซื้อหุ้นสถาบันการเงิน) ผลตอบแทน ได้แก่ เงินปันผล หรือ การกู้ยืมเงิน ผลตอบแทน ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินกู้
๖. ตลาดเงินกับตลาดทุน มีความแตกต่างกันหรือไม่
---มี--- จากการเปรียบเทียบข้างต้น จะเห็นได้ว่า โดยหลักแล้ว ตลาดเงิน (ธนาคาร) จะมีบทบาทในการเคลื่อนย้ายเงินในลักษณะคล่องตัวเพื่อเสริมสภาพคล่อง ส่วนตลาดทุน คือ การระดมทุนไปใช้ประโยชน์ในการสร้างความมั่นคั่งหรือเสถียรภาพของธุรกิจ (การขยายตัวของธุรกิจ) ซึ่งบทบาทมีความแตกต่างกันไป แต่อย่างไรก็ตามก็เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมีการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ
๗. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถาบันการเงินมีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจ
ได้แก่ (๑) ลัทธิพาณิชย์นิยม/ทุนนิยม
(๒) การค้าระหว่างประเทศ
(๓) การเปิดเสรีทางการค้า
จากเดิม รัฐบาลมีหน้าที่ทั้ง “สร้างความมั่นคง ปลอดภัย” และ “สร้างความมั่งคั่ง”
แต่ภายหลังมีการจัดระเบียบโลก โดยมีกติกาสากลว่า “รัฐบาลมีหน้าที่เพียงสร้างความมั่นคง ปลอดภัยให้แก่ประชาชน” ส่วนหน้าที่ “สร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศ” เป็นหน้าที่ของภาคเอกชน รัฐบาลทำหน้าที่เป็นแต่เพียงผู้กำกับภาคเอกชนให้ดำเนินการไปตามกรอบกติกาเท่านั้น
สังเกตได้จากพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจ ดังนี้
(๑) ยุคของการล่าอาณานิคม
(๒) ยุคของการพัฒนา (เครื่องจักร)
(๓) ยุคของการพัฒนา (เครื่องจักรชั้นสูง)
(๔) ยุคโลกไร้พรมแดน (เทคโนโลยี)
๘. ประเทศไทยมีวิวัฒนาการตามข้อ ๗ หรือไม่
---มี---
สังเกตได้จาก พัฒนาการของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับแรกจนกระทั่งแผนฯปัจจุบัน ซึ่งมีพัฒนาการเป็นไปตามลำดับยุคต่าง ๆ ตามข้อ ๗
โปรดศึกษาเพิ่มเติม
§ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๐๖- ๒๕๐๙
§ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๐- ๒๕๑๔
§ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๑๕- ๒๕๑๙
§ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๒๐- ๒๕๒๔
§ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๒๕- ๒๕๒๙
§ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๓๐- ๒๕๓๔
§ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕- ๒๕๓๙
§ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๔๕- ๒๕๔๙
§ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๕๐- ๒๕๕๔
ซึ่งมีข้อน่าสังเกตว่า ในแผนฯ ฉบับต่าง ๆ นั้น เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศและการค้าระหว่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญ
๙. ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ ๑๐ มีแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินอย่างไร
แนวทางการพัฒนาด้านการเงิน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจสนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิตไปสู่ระบบการผลิตที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้นและช่วยกระจายความเจริญและความเป็นธรรมไปสู่ภาคส่วนต่างๆ ของสังคม โดยการดำเนินนโยบายการเงินที่โปร่งใสตรวจสอบได้และมีความสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและอัตราแลกเปลี่ยน การกำกับดูแลสถาบันการเงินให้มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ การดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศไม่ให้ผันผวน การพัฒนาตลาดทุนให้ก้าวหน้าและมีการกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพทำให้การพึ่งพาแหล่งเงินทุนมีความสมดุลมากขึ้นระหว่างระบบธนาคารและตลาดทุน การส่งเสริมการออมทำให้การพึ่งพาเงินทุนในประเทศและการระดมทุนจากต่างประเทศมีความสมดุลมากขึ้นและลดความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตดุลการชำระเงิน การสร้างความร่วมมือทางการเงินกับประเทศในภูมิภาคเพื่อรองรับวิกฤตจะช่วยให้ประเทศไทยมีความสามารถในการเผชิญวิกฤตได้ดีขึ้น การส่งเสริมระบบสถาบันการเงินให้มีความมั่นคงมากขึ้นจากการปรับโครงสร้างระบบสถาบันการเงินซึ่งจะทำให้สถาบันการเงินมีแนวโน้มที่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นจากการรวมตัวและควบรวม การดำเนินงานของระบบประกันเงินฝาก การดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลเครดิตและการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพเงินกองทุนของสถาบันการเงินที่สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการออมและสนับสนุนให้มีการระดมทุนไปสู่ภาคเศรษฐกิจจริงอย่างเหมาะสม
นอกจากนี้มีการพัฒนาระบบสถาบันการเงินและตลาดทุนให้มีความมั่นคง มีเสถียรภาพกลไกตลาดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพทำให้เงินออมของประชาชนมีความมั่นคง ปลอดภัย และมีผลตอบแทน รวมถึงการปรับโครงสร้างสถาบันการเงินตามแผนพัฒนาสถาบันการเงิน และเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสของการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางการเงินที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อให้ระบบสถาบันการเงินมีความมั่นคง และการสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งของสถาบันการเงินภายใต้บรรยากาศทางการเงินที่การแข่งขันมากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
กิตติบดี
สรุปการบรรยาย เรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศไทย
ห้อข้อการบรรยาย “แนวทางการพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กรณีศึกษาประเทศไทย”
ประเด็นศึกษา
๑. รูปแบบของการให้บริการทางการเงินของสถาบันการเงิน ภายใต้กรอบแนวทางการเปิดเสรีภาคการเงิน (Financial Supermarket หรือ Universal Bank)
๒. แนวทางการพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
รายละเอียด
รูปแบบของการให้บริการทางการเงินของสถาบันการเงิน ภายใต้กรอบแนวทางการเปิดเสรีภาคการเงิน (Financial Supermarket หรือ Universal Bank)[1]
ปัจจัยสำคัญ
๑) ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลก (การค้าเสรี) เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการประกอบธุรกรรมระหว่างประเทศ (เปิดตลาดการค้า) ซึ่งในที่นี้หมายความทั้งตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน (Trade = goods & services)
๒) การเปิดเสรีภาคการเงิน
นโยบายการเปิดเสรีภาคการเงินเป็นแนวทางหนึ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเคลื่อนย้ายของปริมาณเงินตรา
ความเปลี่ยนแปลง
อาจกล่าวได้ว่า การประกอบธุรกิจสถาบันการเงินในยุคนี้ (โลกาภิวัตน์) อยู่ในห้วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง การแข่งขัน อย่างต่อเนื่องและรุนแรง เพื่อรองรับปัจจัยข้างต้นดังกล่าว การก้าวเข้ามาลงทุนของสถาบันการเงินต่างประเทศที่มีปัจจัยเรื่อง “ทุน” มากกว่า จึงมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ของประเทศไทยต้องปรับเปลี่ยนในเรื่องของ “ทุน” เช่นกัน โดยไล่เรียงตั้งแต่ การควบรวมกิจการ การขยายทุนในตลาดทุน (กิจการมหาชน)
กอปรกับ การสร้างมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ ที่จะเอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพหรือความสามารถในการแข่งขันของธพ.ไทย หรือการตรากฎหมายเพื่อปรับโครงสร้างพื้นฐานของระบบการเงินในยุคเปิดเสรีนี้ เช่น กฎหมายธุรกิจสถาบันการเงิน กฎหมายว่าด้วยเงินตรา กฎหมายว่าด้วยสถาบันประกันเงินฝาก เป็นต้น ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมานี้ ก็เพื่อทำให้สภาพของการแข่งขันเป็นไปอย่างเหมาะสม นำประโยชน์สู่ประชาชนผู้บริโภค และให้ระบบการเงินภายในประเทศมีเสถียรภาพต่อไป
แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยยอมรับแนวทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือ รับสภาพเรื่องการแข่งขัน แต่ก่อนที่จะเปิดการแข่งขันกับนักลงทุนต่างชาติ รัฐบาลจะต้องสร้างกลไกหรือเตรียมความพร้อมภายในประเทศก่อน
บทบาทของธพ.
๑. ในโลกยุคทุนข้ามรัฐนี้ ได้มีการอาศัยธพ.เป็นเสมือนทัพหน้า สำหรับนักลงทุนต่างชาติ การประกอบกิจการธพ.ต่างชาติ ก็เพื่อเอื้อต่อการลงทุนของนักลงทุนคนชาติของตน ซึ่งมีความเกี่ยวพันในเรื่องความเชื่อมั่น และการเคลื่อนย้ายเงินตรา
๒. รูปแบบและวิธีการทำธุรกิจการเงินการธนาคารได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ที่ธพ.ทำหน้าที่ ๒ ขา (ฝากเงิน และนำเงินไปใช้ประโยชน์ (สินเชื่อ)) โดยธพ.สามารถให้บริการทางการเงินอย่างครบวงจร ที่เรียกว่า Supermarket ทางการเงิน หรือ ธนาคารครบวงจร
เมื่อพิจารณาได้ดังนี้ รัฐฯ จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายใหม่ขึ้น เพื่อให้
(๑) กิจการธนาคารพาณิชย์ ได้ขยายขอบเขตเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕
(๒) มาตรฐานการกำกับสถาบันการเงินต้องมีความชัดเจน และไม่เลือกปฏิบัติ
(๓) การสร้างกลไกให้เกิดเสถียรภาพของสถาบันการเงิน (ระบบการตรวจสอบที่ดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้น)
หมายเหตุ
[1] เปิดเสรี หมายถึง การเปิดตลาดให้นักลงทุนต่างประเทศได้มีโอกาสเข้ามาแข่งขันได้มากขึ้น แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาแข่งขันได้อย่างอิสระตามอำเภอใจ โดยไม่มีเงื่อนไขแต่ประการใด.
กิตติบดี
ประเด็นศึกษา
๑. รูปแบบของการให้บริการทางการเงินของสถาบันการเงิน ภายใต้กรอบแนวทางการเปิดเสรีภาคการเงิน (Financial Supermarket หรือ Universal Bank)
๒. แนวทางการพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
รายละเอียด
รูปแบบของการให้บริการทางการเงินของสถาบันการเงิน ภายใต้กรอบแนวทางการเปิดเสรีภาคการเงิน (Financial Supermarket หรือ Universal Bank)[1]
ปัจจัยสำคัญ
๑) ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลก (การค้าเสรี) เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการประกอบธุรกรรมระหว่างประเทศ (เปิดตลาดการค้า) ซึ่งในที่นี้หมายความทั้งตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน (Trade = goods & services)
๒) การเปิดเสรีภาคการเงิน
นโยบายการเปิดเสรีภาคการเงินเป็นแนวทางหนึ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเคลื่อนย้ายของปริมาณเงินตรา
ความเปลี่ยนแปลง
อาจกล่าวได้ว่า การประกอบธุรกิจสถาบันการเงินในยุคนี้ (โลกาภิวัตน์) อยู่ในห้วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง การแข่งขัน อย่างต่อเนื่องและรุนแรง เพื่อรองรับปัจจัยข้างต้นดังกล่าว การก้าวเข้ามาลงทุนของสถาบันการเงินต่างประเทศที่มีปัจจัยเรื่อง “ทุน” มากกว่า จึงมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ของประเทศไทยต้องปรับเปลี่ยนในเรื่องของ “ทุน” เช่นกัน โดยไล่เรียงตั้งแต่ การควบรวมกิจการ การขยายทุนในตลาดทุน (กิจการมหาชน)
กอปรกับ การสร้างมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ ที่จะเอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพหรือความสามารถในการแข่งขันของธพ.ไทย หรือการตรากฎหมายเพื่อปรับโครงสร้างพื้นฐานของระบบการเงินในยุคเปิดเสรีนี้ เช่น กฎหมายธุรกิจสถาบันการเงิน กฎหมายว่าด้วยเงินตรา กฎหมายว่าด้วยสถาบันประกันเงินฝาก เป็นต้น ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมานี้ ก็เพื่อทำให้สภาพของการแข่งขันเป็นไปอย่างเหมาะสม นำประโยชน์สู่ประชาชนผู้บริโภค และให้ระบบการเงินภายในประเทศมีเสถียรภาพต่อไป
แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยยอมรับแนวทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือ รับสภาพเรื่องการแข่งขัน แต่ก่อนที่จะเปิดการแข่งขันกับนักลงทุนต่างชาติ รัฐบาลจะต้องสร้างกลไกหรือเตรียมความพร้อมภายในประเทศก่อน
บทบาทของธพ.
๑. ในโลกยุคทุนข้ามรัฐนี้ ได้มีการอาศัยธพ.เป็นเสมือนทัพหน้า สำหรับนักลงทุนต่างชาติ การประกอบกิจการธพ.ต่างชาติ ก็เพื่อเอื้อต่อการลงทุนของนักลงทุนคนชาติของตน ซึ่งมีความเกี่ยวพันในเรื่องความเชื่อมั่น และการเคลื่อนย้ายเงินตรา
๒. รูปแบบและวิธีการทำธุรกิจการเงินการธนาคารได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ที่ธพ.ทำหน้าที่ ๒ ขา (ฝากเงิน และนำเงินไปใช้ประโยชน์ (สินเชื่อ)) โดยธพ.สามารถให้บริการทางการเงินอย่างครบวงจร ที่เรียกว่า Supermarket ทางการเงิน หรือ ธนาคารครบวงจร
เมื่อพิจารณาได้ดังนี้ รัฐฯ จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายใหม่ขึ้น เพื่อให้
(๑) กิจการธนาคารพาณิชย์ ได้ขยายขอบเขตเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕
(๒) มาตรฐานการกำกับสถาบันการเงินต้องมีความชัดเจน และไม่เลือกปฏิบัติ
(๓) การสร้างกลไกให้เกิดเสถียรภาพของสถาบันการเงิน (ระบบการตรวจสอบที่ดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้น)
หมายเหตุ
[1] เปิดเสรี หมายถึง การเปิดตลาดให้นักลงทุนต่างประเทศได้มีโอกาสเข้ามาแข่งขันได้มากขึ้น แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาแข่งขันได้อย่างอิสระตามอำเภอใจ โดยไม่มีเงื่อนไขแต่ประการใด.
กิตติบดี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย "ความหมายของประชาธิปไตย" ตอน ๑
กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย ตอน ๑ ศึกษาจากมุมมองของผู้ช่วยศาสตราจารย์จรัล ดิษฐาอภิชัย ประธานมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย/อจ.บรรยายรายวิชา...
-
โรงเรียนสอนกฎหมายภายใต้บริบทของสังคมไทย หากจะกล่าวถึงสัญลักษณ์ในแวดวงกฎหมายหรือคนในกระบวนการยุติธรรมคงหนีไม่พ้นรูปตราชู หรือเทพีถือตราชู เพ...
-
การแบ่งประเภทกฎหมาย มีดังนี้ (๑) พิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี (๒) พิจารณาโดยพิจารณาจากลักษณะแห่งการใช้กฎหมาย ๑. การแบ่งแยกประเภทโดย...
-
ข้อแนะนำถึงเรื่องการปรับใช้กฎหมาย หลักการ “กฎหมายนั้นต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใด ๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายขอ...