วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กฎหมายสถาบันการเงิน : แนวทางการบรรยาย ภาคปลาย/๒๕๕๒

แนวทางการบรรยายเนื้อหารายวิชากฎหมายว่าด้วยสถาบันการเงิน
-------------------------------------
นักศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชา กฎหมายสถาบันการเงิน ฯ ให้เตรียมตัวดังนี้
(๑) พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑
(๒) พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑
(สามารถติดตามได้ที่ร้านถ่ายเอกสารคณะ)

(๑) แนวทางการบรรยาย
สำหรับแนวการบรรยายมีดังต่อไปนี้ (น.ศ.สามารถโหลดข้อมูลในบล็อคหัวข้อ สถาบันการเงินไปอ่านล่วงหน้าได้) เนื้อหาแบ่งเป็น ๘ บท ดังนี้
บทที่ ๑ สังคม เศรษฐกิจและสถาบันการเงิน
๑.๑ เศรษฐกิจระดับโลกและวิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจ
๑.๒ พัฒนาการของระบบสถาบันการเงิน
๑.๓ ระบบสถาบันการเงินของประเทศไทย

บทที่ ๒ พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑
๒.๑ ความหมายของธุรกิจสถาบันการเงิน
๒.๒ การขอใบอนุญาตจัดตั้ง
๒.๓ โครงสร้าง และผู้ถือหุ้น
๒.๔ การประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน
๒.๔.๑ ธุรกิจธนาคารพาณิชย์
๒.๔.๒ ธุรกิจเงินทุน
๒.๔.๓ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
๒.๔.๔ ธุรกิจทางการเงินอื่น
๒.๕ การรับฝากเงิน
๒.๖ การให้สินเชื่อ
๒.๖.๑ นโยบายเรื่องสินเชื่อ
๒.๖.๒ การจัดชั้นสินเชื่อ
๒.๖.๓ การประเมินราคาหลักประกัน
๒.๖.๔ แนวทางการพิสูจน์สินเชื่อและการสอบทานภาระสินเชื่อ
๒.๗ ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ
๒.๗.๑ ธุรกรรมการค้ำประกัน
๒.๗.๒ ธุรกรรมการเช่าซื้อ
๒.๗.๓ ธุรกรรมการให้เช่าแบบลีสซิ่ง
๒.๗.๔ ธุรกรรมการซื้อขายล่วงหน้า
๒.๗.๕ ธุรกรรมด้านการประกันภัย
๒.๗.๖ ธุรกรรมการรับโอนลูกหนี้
๒.๗.๗ ธุรกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์
๒.๗.๘ ธุรกรรมแฟกตอริ่ง
๒.๗.๙ การให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

บทที่ ๓ ผู้บริหารสถาบันการเงิน
๓.๑ ผู้บริหารสถาบันการเงิน
๓.๒ หลักบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง
๓.๓ หลักความรับผิดชอบร่วมกัน
๓.๔ ผู้บริหารกับหลักธรรมาภิบาล
๓.๕ ความรับผิดที่เกิดจากการกระทำโดยทุจริตของผู้บริหารสถาบันการเงิน

บทที่ ๔ การกำกับดูแลสถาบันการเงินโดยทางการ
๔.๑ นโยบายการกำกับดูแลสถาบันการเงิน
๔.๒ การกำกับแบบรวมกลุ่ม
๔.๓ การกำกับลูกหนี้สถาบันการเงินรายใหญ่
๔.๔ การตรวจสอบ แก้ไข และควบคุมสถาบันการเงิน

บทที่ ๕ สถาบันการเงินกับแนวทางการบริหารความเสี่ยง
๕.๑ การดำรงเงินกองทุน
๕.๒ การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
๕.๓ แนวปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน

บทที่ ๖ การสร้างความเป็นธรรมต่อลูกค้าและคุ้มครองผู้บริโภค
๖.๑ การติดตามทวงหนี้
๖.๒ การกำหนดอัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม
๖.๓ ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม

บทที่ ๗ บทบาทของสถาบันการเงินในการส่งเสริมมาตรการการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

บทที่ ๘ ธนาคารแห่งประเทศไทย
๘.๑ บทบาทหน้าที่ของธนาคารกลาง
๘.๒ ความเป็นอิสระของธนาคารกลาง

(๒) การวัดและประเมินผล
สอบเก็บคะแนน ๔๐ คะแนน (ทดสอบย่อย/นัดหมายในชั้นเรียน ๘ ครั้งๆ ละ ๕ คะแนน)
สอบปลายภาค ๖๐ คะแนน (ไม่อนุญาตให้นำเอกสารเข้าห้องสอบ)

-------------------------
กิตติบดี

2 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

กราบเรียนท่านอาจารย์กิติบดีครับ
กระผมเป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ได้มีโอกาศติดตาม blog ของท่านอาจารย์มาระยะหนึ่งแล้ว ปัจจุบันกระผมได้ลงเรียนวิชากฎหมายสถาบันการเงินกับท่านอาจารย์สนิท นิติธรรมมาศ ซึ่งแนวทางการบรรยายของท่านก็เน้นการพูดคุยประสบการณ์ของท่านต่อเรื่องต่างๆเกี่ยวกับสถาบันการเงินและระบบการเงินการธนาคารของโลก ซึ่งทำให้กระผมได้เห็นมุมมองอื่นๆนอกจากมุมมองของกฎหมายสถาบันการเงินได้กว้างขวางขึ้น
แต่เมื่อกระผมได้ติดตาม blog ของท่านอาจารย์กิตติบดี กระผมมีความสนใจในเค้าโครงการสอนของท่านอาจารย์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นการจัดแนวทางการศึกษาที่เป็นระบบระเบียบ ซึ่งกระผมขออนุญาตพิมพ์เก็บไว้ใช้เป็นลำดับในการอ่านหนังสือและค้นคว้าหาข้อมูลตามหัวข้อนั้นๆ
กระผมจึงอยากกราบเรียนถามอาจารย์ว่า นอกจากใน blog นี้แล้ว กระผมจะสามารถศึกษาเนื้อหาวิชากฎหมายสถาบันการเงินของอาจารย์ได้จากที่ใดได้อีกบ้าง หรือหากอาจารย์จะกรุณาแนะนำแหล่งข้อมูลหรือหนังสือที่น่าสนใจก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
สุรวุฒิ

กิตติบดี กล่าวว่า...

คุณ chaiprapan
@ ขออนุญาตแชร์ข้อมูล ถึงการศึกษาวิชานี้หรือที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการเงิน ผมค่อนข้างเห็นด้วยว่า ควรวางพื้นฐานให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีอิทธิพลต่อนโยบายเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยอาศัยตัวกฎหมายเป็นบทเสริม เพราะหากเรียนแบบกฎหมายโดยแท้-เน้นที่กฎหมาย- เราอาจเข้าใจพลวัตทางเศรษฐกิจได้ยาก และมิติทางธุรกิจมักมองคนละมุมกับกฎหมาย เช่น เส้นแบ่งระหว่างความเสี่ยง (นักกฎหมาย) กับความเป็นไปได้ (นักธุรกิจ) อย่างกรณี ธุรกิจสถาบันการเงินจะเห็นได้ชัดในหลัก high risk high return
@ หรือกรณีศึกษาเรื่องเบี้ยกุดชุด ซึ่งผมสันนิษฐานว่า เพราะนักกฎหมายใช้กฎหมายการเงินอย่างปราศจากความเข้าใจ ฯลฯ
@ เนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันการเงิน ผมเขียนลงไว้พอสมควร แต่ในส่วนธปท.ยังไม่อัปเดต (ใช้กฎหมายเดิม) ส่วนในเทอมนี้จะทยอยเขียนตามหัวข้อที่จัดลำดับเป็นบท ๆ ไว้
@ ส่วนที่ขอมายินดีเสมอ มีตัวอย่างดี ๆ เอามาแชร์ให้เพื่อน ๆ ที่นี้ด้วยครับ
--------------
ขอบคุณ

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย "ความหมายของประชาธิปไตย" ตอน ๑

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย ตอน ๑ ศึกษาจากมุมมองของผู้ช่วยศาสตราจารย์จรัล  ดิษฐาอภิชัย  ประธานมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย/อจ.บรรยายรายวิชา...