กฎหมายว่าด้วยละเมิด ครั้งที่ ๑
คำสั่ง : โปรดกรอกข้อความให้สมบูรณ์
ข้อ ๑ พื้นฐานความรับผิดเพื่อละเมิด แบ่งออกเป็น ...กลุ่ม
กลุ่มที่ ๑ ได้แก่ มีมาตราดังต่อไปนี้
(๑) เรื่อง
(๒) เรื่อง
(๓) เรื่อง
(๔) เรื่อง
(๕) เรื่อง
กลุ่มที่ ๒ ได้แก่ มีมาตราดังต่อไปนี้
(๑) .................. เรื่อง
(๒) .................. เรื่อง
(๓) ................... เรื่อง
(๔) .................,. เรื่อง
(๕) ................... เรื่อง
(๖) ................... เรื่อง
กลุ่มที่ ๓ ได้แก่
มีมาตราดังต่อไปนี้
(๑) .................. เรื่อง
(๒) .................. เรื่อง
(๓) ................... เรื่อง
(๔) .................,. เรื่อง
(๕) ................... เรื่อง
ข้อ ๒ องค์ประกอบความรับผิดเพื่อละเมิด มีดังต่อไปนี้
โจทก์ต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
(๑) การพิสูจน์ความผิด ในเรื่องดังต่อไปนี้ (๓ ข้อ)
(๒) การพิสูจน์ความเสียหาย หมายถึง
(๓) ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล หมายถึง
ข้อ ๓. สืบเนื่องจาก ข้อ ๒ (๑)
๓.๑ การกระทำ หมายถึง ? ประเด็นสำคัญอยู่ที่ ?
๓.๒ การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการงดเว้นการกระทำ หมายถึง
๓.๓ การละเว้น ถือเป็นการกระทำด้วยหรือไม่
๓.๔ นายกิตติ คนวิกลจริต เอาไม้ฟาดศีรษะผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บ คนวิกลจริตนั้นมีความผิดตามกฎหมายอาญาแต่กฎหมายยกเว้นโทษ กรณีดังกล่าวฝ่ายจำเลยจะอ้างได้หรือไม่ว่า กรณีดังกล่าวเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามปวิอ. มาตรา ๔๖
๓.๕ มีคนร้ายเอามีดไล่แทงนายกิตติ ปรากฏว่านายกิตติได้ดึงตัวผู้เสียหายมารับมีดแทนตน ในคดีอาญานายกิตติมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย แต่ศาลยกเว้นโทษเนื่องจากจำเป็น ในคดีละเมิดอ้างความจำเป็นได้หรือไม่
กิตติบดี ใยพูล
วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552
แบบทดสอบละเมิด ๒
กฎหมายว่าด้วยละเมิด
คำสั่ง : ประเด็นที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นการพิเคราะห์เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ขอให้นักศึกษาพิจารณากรณีศึกษา ๕ เรื่อง
ขั้นตอนการพิเคราะห์ถึง เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล มีดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ ๑ ท่านต้องพิจารณาว่า – การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่ ? (ทฤษฎีเงื่อนไข)
๑.๑ ถ้าจำเลยไม่กระทำ โจทก์จะไม่ได้รับความเสียหาย
๑.๒ ปัจจัยหลักที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย มีที่มาจากโจทก์
๑.๓ หากผลที่เกิดขึ้นร้ายแรงกว่าที่จำเลยได้กระทำลงไป โจทก์ต้องพิสูจน์ว่า “หากไม่มีการกระทำของจำเลย ความเสียหายย่อมไม่เกิด”
ข้อพิจารณากรณี “Eggshell skull” rule
ขั้นตอนที่ ๒ ท่านต้องพิจารณาว่ามีเหตุแทรกแซงหรือไม่ กล่าวคือ เมื่อจำเลยกระทำความผิดแล้ว (ครบองค์ประกอบ) แต่ยังไม่เกิดผลร้าย (ความเสียหาย) แต่ก่อให้เกิดสภาพที่เสี่ยงต่อภยันตราย จนกระทั้งมีการกระทำอีกอย่างหนึ่งขึ้นมาแทรกแซงประกอบ จึงก่อให้เกิดวิบัติภัยขึ้น
เหตุแทรกแซงเกิดจาก
๒.๑ เหตุธรรมชาติ Force of nature
๒.๒ ตัวโจทก์เอง หรือ Innocent human force
๒.๓ บุคคลภายนอกที่กระทำโดยประมาทเลินเล่อ Negligent human force
หรือ จงใจกระทำ Intentional/criminal human force
----------------------------------------------------
กรณีศึกษา:
กรณีที่ ๑ นายสมชายยื่นปืนบรรจุกระสุนให้ด.ช.เคน อายุ ๑๐ ปี โดยด.ช.เคนได้นำปืนกระบอกนั้นกลับไปบ้านของตน และบิดาของด.ช.เคนได้สังเกตเห็นว่าลูกชายตนมีปืนดังกล่าว แต่ก็มิได้ห้ามปรามหรือเก็บปืนแต่อย่างใด ภายหลังด.ช.เคนใช้ปืนยิงผู้เสียหาย ผู้เสียหายจึงฟ้องร้องนายสมชาย ?
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
กรณีที่ ๒ นายกิตติขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อชนผู้เสียหาย ซึ่งเป็นคนเดินถนนทางเท้า ในขณะที่ผู้เสียหายล้มลงนอนกับพื้น ได้ถูกรถยนต์อีกคันหนึ่งชนทำให้ได้รับบาดเจ็บเพิ่มขึ้น แต่คนขับรถยนต์รายนั้นหนีไป ผู้เสียหายจึงฟ้องนายกิตติ ?
...............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
กรณีที่ ๓ สืบเนื่องจากกรณีที่ ๒ ในระหว่างการรักษาพยาบาลภายหลังจากได้รับบาดเจ็บ ปรากฏความว่า แพทย์ประมาทเลินเล่อทำให้ผู้เสียหายต้องถูกตัดขา จนเป็นผู้กายพิการ โดยผู้เสียหายฟ้องนายกิตติ ?
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
กรณีที่ ๔ นายกิตติลูกจ้างของบริษัทรับขนส่งสินค้า ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้การส่งสินค้าล่าช้ากว่ากำหนด ๑ วัน ซึ่งปกติผู้เสียหายต้องได้รับสินค้าก่อนวันที่มีพายุ แต่ปรากฏว่าการส่งล่าช้าดังกล่าวทำให้วันที่รถขนส่งสินค้ามาเจอกับพายุทำให้สินค้าได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติดังกล่าว ผู้เสียหายฟ้องบริษัทรับขนส่งสินค้าได้หรือไม่ ?
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
กรณีที่ ๕ นายกิตติออกจากรถยนต์ของตนโดยลืมกุญแจไว้ในรถยนต์ของตน (ประมาทเลินเล่อ) ทันใดนั้น คนร้ายได้เข้าไปในรถยนต์เพื่อลักรถยนต์คันดังกล่าว และขับออกไปอย่างเร็ว แต่ด้วยความรีบเร่งจึงขับไปชนผู้เสียหายจนได้รับบาดเจ็บ กรณีนี้ผู้เสียหายฟ้องร้องนายกิตติว่าประมาทเลินเล่อ ?
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
---------------------
กิตติบดี ใยพูล
คำสั่ง : ประเด็นที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นการพิเคราะห์เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ขอให้นักศึกษาพิจารณากรณีศึกษา ๕ เรื่อง
ขั้นตอนการพิเคราะห์ถึง เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล มีดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ ๑ ท่านต้องพิจารณาว่า – การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่ ? (ทฤษฎีเงื่อนไข)
๑.๑ ถ้าจำเลยไม่กระทำ โจทก์จะไม่ได้รับความเสียหาย
๑.๒ ปัจจัยหลักที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย มีที่มาจากโจทก์
๑.๓ หากผลที่เกิดขึ้นร้ายแรงกว่าที่จำเลยได้กระทำลงไป โจทก์ต้องพิสูจน์ว่า “หากไม่มีการกระทำของจำเลย ความเสียหายย่อมไม่เกิด”
ข้อพิจารณากรณี “Eggshell skull” rule
ขั้นตอนที่ ๒ ท่านต้องพิจารณาว่ามีเหตุแทรกแซงหรือไม่ กล่าวคือ เมื่อจำเลยกระทำความผิดแล้ว (ครบองค์ประกอบ) แต่ยังไม่เกิดผลร้าย (ความเสียหาย) แต่ก่อให้เกิดสภาพที่เสี่ยงต่อภยันตราย จนกระทั้งมีการกระทำอีกอย่างหนึ่งขึ้นมาแทรกแซงประกอบ จึงก่อให้เกิดวิบัติภัยขึ้น
เหตุแทรกแซงเกิดจาก
๒.๑ เหตุธรรมชาติ Force of nature
๒.๒ ตัวโจทก์เอง หรือ Innocent human force
๒.๓ บุคคลภายนอกที่กระทำโดยประมาทเลินเล่อ Negligent human force
หรือ จงใจกระทำ Intentional/criminal human force
----------------------------------------------------
กรณีศึกษา:
กรณีที่ ๑ นายสมชายยื่นปืนบรรจุกระสุนให้ด.ช.เคน อายุ ๑๐ ปี โดยด.ช.เคนได้นำปืนกระบอกนั้นกลับไปบ้านของตน และบิดาของด.ช.เคนได้สังเกตเห็นว่าลูกชายตนมีปืนดังกล่าว แต่ก็มิได้ห้ามปรามหรือเก็บปืนแต่อย่างใด ภายหลังด.ช.เคนใช้ปืนยิงผู้เสียหาย ผู้เสียหายจึงฟ้องร้องนายสมชาย ?
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
กรณีที่ ๒ นายกิตติขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อชนผู้เสียหาย ซึ่งเป็นคนเดินถนนทางเท้า ในขณะที่ผู้เสียหายล้มลงนอนกับพื้น ได้ถูกรถยนต์อีกคันหนึ่งชนทำให้ได้รับบาดเจ็บเพิ่มขึ้น แต่คนขับรถยนต์รายนั้นหนีไป ผู้เสียหายจึงฟ้องนายกิตติ ?
...............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
กรณีที่ ๓ สืบเนื่องจากกรณีที่ ๒ ในระหว่างการรักษาพยาบาลภายหลังจากได้รับบาดเจ็บ ปรากฏความว่า แพทย์ประมาทเลินเล่อทำให้ผู้เสียหายต้องถูกตัดขา จนเป็นผู้กายพิการ โดยผู้เสียหายฟ้องนายกิตติ ?
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
กรณีที่ ๔ นายกิตติลูกจ้างของบริษัทรับขนส่งสินค้า ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้การส่งสินค้าล่าช้ากว่ากำหนด ๑ วัน ซึ่งปกติผู้เสียหายต้องได้รับสินค้าก่อนวันที่มีพายุ แต่ปรากฏว่าการส่งล่าช้าดังกล่าวทำให้วันที่รถขนส่งสินค้ามาเจอกับพายุทำให้สินค้าได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติดังกล่าว ผู้เสียหายฟ้องบริษัทรับขนส่งสินค้าได้หรือไม่ ?
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
กรณีที่ ๕ นายกิตติออกจากรถยนต์ของตนโดยลืมกุญแจไว้ในรถยนต์ของตน (ประมาทเลินเล่อ) ทันใดนั้น คนร้ายได้เข้าไปในรถยนต์เพื่อลักรถยนต์คันดังกล่าว และขับออกไปอย่างเร็ว แต่ด้วยความรีบเร่งจึงขับไปชนผู้เสียหายจนได้รับบาดเจ็บ กรณีนี้ผู้เสียหายฟ้องร้องนายกิตติว่าประมาทเลินเล่อ ?
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
---------------------
กิตติบดี ใยพูล
ตัวอย่างข้อสอบวิชากฎหมายสถาบันการเงินฯ
ข้อสอบรายวิชาสถาบันการเงิน
ส่วนที่หนึ่ง ให้นักศึกษาทุกคนทำข้อสอบข้อ ๑ และ ๒ (ข้อละ ๑๕ คะแนน)
ข้อ ๑ . ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ให้ความหมายของคำว่า “ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หมายความถึง ธุรกิจแฟ็กเตอริง ธุรกรรมการใช้เช่าซื้อ ธุรกรรมการให้เช่าแบบลิสซิ่ง และธุรกรรมอื่นที่มีลักษณะการให้สินเชื่อตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด”
ดังนี้
(๑) โปรดอธิบายถึงสาระสำคัญทางกฎหมายของธุรกรรมแฟ็กเตอริง
(๒) ธุรกรรมการให้เช่าซื้อมีข้อแตกต่างกับธุรกรรมการให้เช่าแบบลิสซิ่ง อย่างไร
ข้อ ๒. โปรดอธิบายความหมายของผู้บริหารสถาบันการเงิน และความรับผิดชอบของผู้บริหารสถาบันการเงินในการบริหารงานสถาบันการเงินมีข้อกำหนดไว้อย่างไร รวมถึงคุณสมบัติต้องห้ามที่กฎหมายกำหนดไว้มีประการใดบ้าง
ส่วนที่สอง ข้อ ๓-๖ ให้นักศึกษาเลือกทำเพียง ๒ ข้อ (ข้อละ ๑๐ คะแนน)
ข้อ ๓. แนวทางปฏิบัติในการติดตามทวงหนี้ มีหลักการและแนวปฏิบัติอย่างไร
ข้อ ๔. เพราะเหตุใดในปัจจุบันจึงได้มีการอนุญาตให้ธุรกิจธนาคารพาณิชย์สามารถประกอบกิจการได้อย่างหลากหลายขึ้น และขอให้ยกตัวอย่างธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจธนาคารพาณิชย์มาให้ทราบ ๓ธุรกิจ
ข้อ ๕. บาสเซิล 2 (BASEL II) คืออะไร และโปรดอธิบายให้ทราบถึงรายละเอียดของแต่ละหลักการ (Pillar) ว่าเป็นอย่างไร
ข้อ ๖. พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยในการกำหนดโครงสร้างของคณะกรรมการและกรรมการชุดย่อยคณะต่าง ๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ในการบริหารงานสถาบันการเงิน ดังนี้
(๑) ขอให้ท่านอธิบายถึงหลักการและหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ และยกตัวอย่างคณะกรรมการ
(๒) ยกตัวอย่างคณะกรรมการชุดย่อย ๒ ชุด พร้อมอธิบายหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละชุด
--------------------------
กิตติบดี ใยพูล
ส่วนที่หนึ่ง ให้นักศึกษาทุกคนทำข้อสอบข้อ ๑ และ ๒ (ข้อละ ๑๕ คะแนน)
ข้อ ๑ . ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ให้ความหมายของคำว่า “ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หมายความถึง ธุรกิจแฟ็กเตอริง ธุรกรรมการใช้เช่าซื้อ ธุรกรรมการให้เช่าแบบลิสซิ่ง และธุรกรรมอื่นที่มีลักษณะการให้สินเชื่อตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด”
ดังนี้
(๑) โปรดอธิบายถึงสาระสำคัญทางกฎหมายของธุรกรรมแฟ็กเตอริง
(๒) ธุรกรรมการให้เช่าซื้อมีข้อแตกต่างกับธุรกรรมการให้เช่าแบบลิสซิ่ง อย่างไร
ข้อ ๒. โปรดอธิบายความหมายของผู้บริหารสถาบันการเงิน และความรับผิดชอบของผู้บริหารสถาบันการเงินในการบริหารงานสถาบันการเงินมีข้อกำหนดไว้อย่างไร รวมถึงคุณสมบัติต้องห้ามที่กฎหมายกำหนดไว้มีประการใดบ้าง
ส่วนที่สอง ข้อ ๓-๖ ให้นักศึกษาเลือกทำเพียง ๒ ข้อ (ข้อละ ๑๐ คะแนน)
ข้อ ๓. แนวทางปฏิบัติในการติดตามทวงหนี้ มีหลักการและแนวปฏิบัติอย่างไร
ข้อ ๔. เพราะเหตุใดในปัจจุบันจึงได้มีการอนุญาตให้ธุรกิจธนาคารพาณิชย์สามารถประกอบกิจการได้อย่างหลากหลายขึ้น และขอให้ยกตัวอย่างธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจธนาคารพาณิชย์มาให้ทราบ ๓ธุรกิจ
ข้อ ๕. บาสเซิล 2 (BASEL II) คืออะไร และโปรดอธิบายให้ทราบถึงรายละเอียดของแต่ละหลักการ (Pillar) ว่าเป็นอย่างไร
ข้อ ๖. พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยในการกำหนดโครงสร้างของคณะกรรมการและกรรมการชุดย่อยคณะต่าง ๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ในการบริหารงานสถาบันการเงิน ดังนี้
(๑) ขอให้ท่านอธิบายถึงหลักการและหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ และยกตัวอย่างคณะกรรมการ
(๒) ยกตัวอย่างคณะกรรมการชุดย่อย ๒ ชุด พร้อมอธิบายหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละชุด
--------------------------
กิตติบดี ใยพูล
สาสน์จากคณบดี : ต้อนรับนักศึกษา รุ่นที่ ๖/๒๕๕๒
ทางสโมสรนักศึกษาฯ ได้ขอให้ผมเขียนสาส์นเพื่อนำไปลงในหนังสือต้อนรับนักศึกษาใหม่ ปีพ.ศ. ๒๕๕๒ ความดังนี้
สาสน์จากคณบดี
เมื่อครั้นอดีตกาล ผู้ปกครองประเทศจำต้องศึกษาหาความรู้ในศาสตร์ ๓ แขนง ประกอบด้วย เทววิทยา แพทยศาสตร์ และนิติศาสตร์ ซึ่งนับเป็นสดมภ์หลักในการสร้างศรัทธาแห่งภาวะผู้นำและอำนาจ โดยวิชานิติศาสตร์หรือกฎหมายนั้น ถือเอาเนื้อหาสาระเรื่องความยุติธรรมเป็นสำคัญ ซึ่งผู้ปกครองได้อาศัยกฎหมายเป็นเครื่องมือในการกำกับความเป็นระเบียบ แบบแผนทางสังคม และผู้ปกครองที่ได้ชื่อว่าเป็น Philosopher King หรือ มหาราชย์ หรือผู้ปกครองที่ดีนั้น จักต้องใช้หลักธรรมะเป็นเครื่องสะกดและกำกับการใช้อำนาจ ให้เป็นไปในทางที่เป็นคุณประโยชน์กับปวงชน หาไม่แล้ว หากการใช้อำนาจนั้นขาดซึ่งเมตตาธรรม หรือได้ฉ้อฉลเฉไฉออกไปในทางที่ลุ่มหลงกับอำนาจ ประชาชนก็จะถูกเบียดเบียนบีฑา จนสังคมต้องเผชิญกับความหายนะและเสื่อมสูญไป
เมื่อครั้นอดีตกาล ผู้ปกครองประเทศจำต้องศึกษาหาความรู้ในศาสตร์ ๓ แขนง ประกอบด้วย เทววิทยา แพทยศาสตร์ และนิติศาสตร์ ซึ่งนับเป็นสดมภ์หลักในการสร้างศรัทธาแห่งภาวะผู้นำและอำนาจ โดยวิชานิติศาสตร์หรือกฎหมายนั้น ถือเอาเนื้อหาสาระเรื่องความยุติธรรมเป็นสำคัญ ซึ่งผู้ปกครองได้อาศัยกฎหมายเป็นเครื่องมือในการกำกับความเป็นระเบียบ แบบแผนทางสังคม และผู้ปกครองที่ได้ชื่อว่าเป็น Philosopher King หรือ มหาราชย์ หรือผู้ปกครองที่ดีนั้น จักต้องใช้หลักธรรมะเป็นเครื่องสะกดและกำกับการใช้อำนาจ ให้เป็นไปในทางที่เป็นคุณประโยชน์กับปวงชน หาไม่แล้ว หากการใช้อำนาจนั้นขาดซึ่งเมตตาธรรม หรือได้ฉ้อฉลเฉไฉออกไปในทางที่ลุ่มหลงกับอำนาจ ประชาชนก็จะถูกเบียดเบียนบีฑา จนสังคมต้องเผชิญกับความหายนะและเสื่อมสูญไป
เมื่อปัญญาของมนุษย์ต้องประกอบด้วยหัวสมองและหัวใจฉันใด กฎหมายต้องควบคู่กับความยุติธรรมด้วยฉันนั้น ดังนั้น ในการศึกษาวิชากฎหมายหรือการประกอบวิชาชีพกฎหมาย จึงจำเป็นต้องศึกษากฎหมายไปพร้อม ๆ กับการฝึกจิตสำนึกเรื่องความยุติธรรม โดยถือความยุติธรรมเป็นจิตวิญญาณหลักของนักนิติศาสตร์ ดังมีผู้กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาของวงการกฎหมายและ/หรือนักกฎหมายมิใช่อยู่ที่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม หากอยู่ที่การปลูกจิตสำนึกของนักกฎหมายเป็นสำคัญ
เมื่อคุณธรรมของผู้ปกครองประเทศพึงปกครองแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของมหาชน โดยยึดหลักธรรมะ อันประกอบด้วย เมตตาธรรมและกรุณาธรรมแล้วนั้น นักนิติศาสตร์หรือผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายพึงต้องอุทิศตนเพื่อรับใช้สังคมส่วนรวม โดยยึดภูมิธรรมดังกล่าวเฉกเช่นกัน
เมื่อตระหนักรู้เช่นนั้นแล้ว ผมเชื่อมั่นว่า นักศึกษากฎหมายของเรา จักเต็มเปี่ยมไปด้วยความกระหาย อยากรู้ ควรรู้ และต้องรู้ ในสรรพวิชากฎหมายอย่างคร่ำเคร่ง เอาจริงเอาจัง ประกอบกับตื่นตัวที่จะอุทิศตนเพื่อทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น เพราะเขาและเธอจะถือเป็นโอกาสในการฝึกความกล้าแกร่งทางจริยธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมออกไปสู่โลกภายนอก ในฐานะนักกฎหมายรุ่นใหม่ที่เป็นความหวังของประเทศในการพลิกฟื้นสังคมไทย ให้มีพื้นฐานทางสังคมที่เข้มแข็งและมีโครงสร้างที่เป็นธรรมต่อไป
เมื่อมีจุดหมายชัดเจนต้องตรงกัน ผมในนามคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสปลูกสร้างพวกท่านให้เติบโตเป็นนักกฎหมายที่มีคุณภาพ และสุดท้ายนี้ ขอฝากข้อท้าทายให้พิจารณาดังนี้
จักทำอย่างไรให้ตระหนักว่า การศึกษาเพียงเพื่อให้ได้ปริญญาบัตร
มีคุณค่าน้อยกว่าเพื่อมีความรู้ออกไปรับใช้สังคม
จักทำอย่างไรให้ตระหนักว่า การเข้าสู่วิชาชีพเพื่อปรับเปลี่ยนสถานภาพทางสังคมของตน
มีคุณค่าน้อยกว่าการมีโอกาสสร้างความเป็นธรรมให้สังคม
จักทำอย่างไรให้ตระหนักว่า เนื้อหาสาระของวิชานิติศาสตร์อยู่ที่ความยุติธรรม
มิใช่ความมั่งคั่งทางวัตถุและความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ
จักทำอย่างไรให้ตระหนักว่า นักกฎหมายที่ปราศจากหลักธรรมะ
มีความเลวร้ายยิ่งกว่าอาชญากร
ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บทเริ่มต้นบนเส้นทางสายนักยุติธรรม
จักทำอย่างไรให้ตระหนักว่า การศึกษาเพียงเพื่อให้ได้ปริญญาบัตร
มีคุณค่าน้อยกว่าเพื่อมีความรู้ออกไปรับใช้สังคม
จักทำอย่างไรให้ตระหนักว่า การเข้าสู่วิชาชีพเพื่อปรับเปลี่ยนสถานภาพทางสังคมของตน
มีคุณค่าน้อยกว่าการมีโอกาสสร้างความเป็นธรรมให้สังคม
จักทำอย่างไรให้ตระหนักว่า เนื้อหาสาระของวิชานิติศาสตร์อยู่ที่ความยุติธรรม
มิใช่ความมั่งคั่งทางวัตถุและความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ
จักทำอย่างไรให้ตระหนักว่า นักกฎหมายที่ปราศจากหลักธรรมะ
มีความเลวร้ายยิ่งกว่าอาชญากร
ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บทเริ่มต้นบนเส้นทางสายนักยุติธรรม
---------------------------
นายกิตติบดี ใยพูล
วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒
เขียนที่ สำนักงานคณบดี
วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒
เขียนที่ สำนักงานคณบดี
สิทธิขั้นพื้นฐาน : การค้ามนุษย์
มหาวิทยาลัยได้รับการประสานความร่วมมือจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อให้บรรจุเนื้อหากฎหมาย พิธีสารเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ดังนั้น ในรายวิชาสิทธิขั้นพื้นฐาน ในส่วนภาคเนื้อหาแห่งสิทธิ ผู้บรรยายจะนำกติกาสากล เอกสารสากลที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมาสอดแทรกต่อไป
สำหรับเนื้อหา/เอกสารจะได้เขียนนำลงบล็อกในไม่ช้านี้
กิตติบดี
สำหรับเนื้อหา/เอกสารจะได้เขียนนำลงบล็อกในไม่ช้านี้
กิตติบดี
แผนการสอน ๑/๒๕๕๒
แผนการสอนรายวิชา สิทธิพื้นฐานและประชาสังคม
ประจำภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๕๒
--------------------------------------------
ประจำภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๕๒
--------------------------------------------
๑. รหัสวิชา ๐๐๐ ๑๔๑ สิทธิพื้นฐานและประชาสังคม ๓ หน่วยกิต
๒. วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน ไม่มี
๓. วันและเวลา กลุ่มที่ ๑ วันจันทร์ เวลา ๑๕.๐๐ น. – ๑๘.๐๐ น. ห้อง PS 02316 PS 02
กลุ่มที่ ๒ วันอังคาร เวลา ๑๓.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น. ห้อง PS 02316 PS 02
๔. ผู้สอน นายกิตติบดี ใยพูล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์
๕. วันและเวลาเข้าพบเพื่อขอคำปรึกษา
วันและเวลาก่อนและ/หรือเลิกเรียน หรือ นัดหมายล่วงหน้า
เบอร์โทรศัพท์ (คณะ) ๐๔๓ ๒๐๓-๑๘๑
๖. คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาถึงพัฒนาการ แนวคิด และหลักการเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ กลไกและเครื่องมือในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั้งสากลและภายในประเทศ อาทิ ในส่วนสากล ประกอบด้วย ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สิทธิเด็ก สิทธิสตรี ฯลฯ ในส่วนภายในประเทศ ประกอบด้วย สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ กลไกในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ รวมถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
๗. วัตถุประสงค์
นักศึกษาจะได้ทราบและเข้าใจถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน รวมตลอดถึงหน้าที่ของพลเมือง โดยผ่านการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมในระดับของประเทศไทย ระดับโลก สามารถวิเคราะห์วิจารณ์พลวัตทางสังคมที่มีผลกระทบต่อสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนได้อย่างเชื่อมโยง
๘. การประเมินและวัดผล
คะแนนเก็บ (กิจกรรม/งาน) ๔๐ คะแนน
สอบกลางภาค ๒๐ คะแนน
สอบไล่ปลายภาค ๔๐ คะแนน
รวม ๑๐๐ คะแนน
๑๐. สื่อการสอนและเอกสารประกอบการบรรยาย
ติดตามได้ที่ http://kittibodee.blogspot.com/
ในส่วน : สิทธิมนุษยชน
๑๑. หัวข้อบรรยาย
บทที่ ๑ บทนำ
แนะนำรายละเอียดของวิชา ภาพรวมของรายวิชา
บทที่ ๒ ภาคประวัติศาสตร์
พัฒนาการเรื่องสิทธิมนุษยชน แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนกลไกในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับสากลและภายในประเทศ
บทที่ ๓ ภาคคุณค่าและหลักการ
หลักการแห่งสิทธิมนุษยชน
สิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ความเสมอภาค
บทที่ ๔ ภาคเนื้อหาแห่งสิทธิมนุษยชน
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
กฎหมาย พิธีสารเกี่ยวกับการค้ามนุษย์
สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
บทที่ ๕ ภาคข้อเท็จจริง : ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
ประเด็นศึกษาต่าง ๆ อาทิ สิทธิเด็ก การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ชนกลุ่มน้อย
สุขภาพ สิทธิชุมชนท้องถิ่น แรงงานต่างด้าว สันติภาพและการลดความรุนแรง เชื้อชาติ ศาสนา การพัฒนาที่ยั่งยืนสตรี อายุ ความแตกต่างทางร่างกาย การศึกษา ความโน้มเอียงทางเพศ ฯลฯ
หมายเหตุ กำหนดการอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย "ความหมายของประชาธิปไตย" ตอน ๑
กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย ตอน ๑ ศึกษาจากมุมมองของผู้ช่วยศาสตราจารย์จรัล ดิษฐาอภิชัย ประธานมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย/อจ.บรรยายรายวิชา...
-
โรงเรียนสอนกฎหมายภายใต้บริบทของสังคมไทย หากจะกล่าวถึงสัญลักษณ์ในแวดวงกฎหมายหรือคนในกระบวนการยุติธรรมคงหนีไม่พ้นรูปตราชู หรือเทพีถือตราชู เพ...
-
การแบ่งประเภทกฎหมาย มีดังนี้ (๑) พิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี (๒) พิจารณาโดยพิจารณาจากลักษณะแห่งการใช้กฎหมาย ๑. การแบ่งแยกประเภทโดย...
-
สรุป สัปดาห์ที่ ๓ /ภาคปลาย ปี ๒๕๕๒ การเรียนรู้แบ่งเป็น ๓ ช่วง ช่วงที่หนึ่ง (๕๐ นาที) - อธิบายให้ทราบว่า พัฒนาการของสิทธิมนุษยชนมีทั้งหมด...