วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

Banner : LAW KKU.



สังคมแห่งนิติรัฐ



รักษ์สิ่งแวดล้อม



สังคมแห่งนิติรัฐ



ส่งเสริม "วัฒนธรรมแห่งสิทธิมนุษยชน"



รณรงค์ "สังคมแห่งนิติรัฐ"


-------------------------
กิตติบดี

โรงเรียนสอนกฎหมายสอนอะไร ?




โรงเรียนสอนคนให้มีหลักการ ?

เมื่อผู้อาวุโสได้ไต่ถามว่า



คำถาม : ทำไมเขา/เธอถึงอยากเรียนนิติศาสตร์
คำตอบ : ผม/หนูอยากช่วยเหลือสังคม คนยากจน อยากเห็นความเป็นธรรมในสังคม จะนำความรู้ที่ได้รับไปประสิทธิประสาทความยุติธรรมให้ประเทศชาติ



บ้างอยากเป็นผู้พิพากษา บ้างก็อยากเป็นอัยการ บ้างอยากเป็นทนายความ ตำรวจ ทหาร บ้างก็อยากเป็นนักการเมืองไล่ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นยันนายกรัฐมนตรี



บ้างก็อยากเป็นนักธุรกิจที่มั่งคั่ง ตลอดจนอยากมีความรู้กฎหมายเพื่อปกป้องผลประโยชน์ในกิจการของตน



บ้างก็อยากจะตอบไปว่า ไม่รู้จะไปร่ำเรียนอะไร เลยเลือกเรียนนิติศาสตร์เพราะตนเองไม่ใช่ผู้ที่หลงใหลในตัวเลข รวมถึงภาษาอังกฤษก็บกพร่อง เลยมาเรียนกฎหมายที่เห็นใคร ๆ บอกว่าท่อง ๆ ๆ ๆและท่อง...จำอย่างเดียว เดี๋ยวก็จบ แต่ความย่อหน้านี้คงมีน้อยคนนักที่หาญกล้าตอบแก่ผู้อาวุโส (หากยังไม่คุ้นเคย)ส่วนใหญ่เพียงคิดแต่ทดไว้ในใจเสมอมา



บ้างก็ตอบว่า ผม/หนูเป็นลูกกตัญญูเรียนไปตามใจคุณพ่อคุณแม่ หรือบางรายเลือกเรียนเพราะชีวิตนี้เป็นผู้ตามที่ดี เพื่อนไปไหนเราไปด้วย อย่างนี้ก็มีให้เห็นอยู่มากราย

ว่าไปกระไรได้ ไม่ว่าจะมีเหตุผลร้อยแปดพันประการที่ทำให้เลือกเรียนนิติศาสตร์นั้น ย่อมไม่เท่ากับหนึ่งโอกาสที่ได้เข้าเรียน

ธานินทร์ กรัยวิเชียร ศาสตราจารย์กฎหมายที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า “อันวิชาชีพกฎหมายจะมีเกียรติภูมิสูงส่งเพียงไร วิชาการด้านกฎหมายจะพัฒนาไปเพียงไร และมหาวิทยาลัยตลอดจนสถาบันอบรมศึกษาวิชากฎหมายจะมีศักดิ์สูง เพราะได้รับการรับรองวิทยฐานะจากสถาบันกฎหมายในนานาประเทศหรือไม่เพียงไรนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการสร้างนักกฎหมาย และการวางรากฐานแห่งวิชาชีพกฎหมาย นั่นคือ การจัดการศึกษาวิชากฎหมายนั่นเอง”



ประมาณได้ว่า ผลไม้จะหวานชวนน่าลิ้มลอง ต้องขึ้นอยู่กับพันธุ์ไม้นั้นแล ซึ่งมาตรว่าหากต้นไม้นั้นเป็นพิษ ผลย่อมเป็นพิษตามเช่นกันฉันใด สถาบันการศึกษา (มหาวิทยาลัย)ที่สอนนิติศาสตร์จะไปสู่ความเป็นเลิศทางนิติศาสตร์ย่อมต้องพึงสังวรด้วยเช่นกันฉันนั้น


การจัดการศึกษานิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ นั้น เพื่อพร่ำสอนและคาดหวังให้นักศึกษาที่เรียนนิติศาสตร์จักเป็น “นักศึกษานิติศาสตร์” มิใช่เป็นแค่เพียงนักศึกษาที่รู้ตัวบทกฎหมายและ/หรือเพียงแค่วินิจฉัยกฎหมายได้เท่านั้นที่เรียกว่า “นักศึกษากฎหมาย” เพราะคำว่า “นิติศาสตร์” ไม่ใช่แค่ “กฎหมาย” ซึ่งคำว่า “นิติศาสตร์” มีความหมายที่ลุ่มลึกและพิสดารกว่าคำว่า “กฎหมาย” อยู่หลายช่วงตัวนัก ความข้อนี้ขอให้สังเกตว่า ทำไมในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ที่จะเข้าศึกษานิติศาสตร์ในระดับปริญญาตรีได้จะต้องสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีในสาขาหนึ่งสาขาใดมาก่อน หรือประเทศอังกฤษ การคัดเลือกผู้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยจะใช้วิธีการจัดสอบรวมของส่วนกลาง หรือบางมหาวิทยาลัยคัดเลือกโดยข้อสอบตรง โดยที่จะเลือกเฟ้นแต่เฉพาะนักศึกษาพวกหัวกะทิมาเรียนเท่านั้น หรือในประเทศในระบบประมวลกฎหมายอย่างเช่นประเทศฝรั่งเศสนั้น มีลักษณะคล้าย ๆ กับประเทศไทย แต่ความเข้มข้นของการศึกษาอยู่ที่ปีหนึ่งขึ้นปีที่สอง หากไม่มีความสามารถหรือไม่ตั้งใจเล่าเรียนจริง ๆ จะสอบไม่ผ่านขึ้นปีที่สอง คือ รับนักศึกษาเข้ามาก่อนแล้วใช้ความเข้มข้นของวิชาการและความขยันอดทนของนักศึกษาเป็นเครื่องคัดกรองนักศึกษาออกไปตั้งแต่อยู่ชั้นปีแรก หรือในประเทศเยอรมนี นักศึกษาจะได้ปริญญานิติศาสตร์หรือไม่นั้น เมื่อเรียนจบหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัย รัฐบาลจะเป็นผู้จัดทดสอบเพื่อวัดผลว่าเหมาะสมที่จะได้รับใบปริญญานิติศาสตร์หรือไม่

ที่เป็นเช่นนี้ เพราะผู้ที่ศึกษานิติศาสตร์เมื่อจบออกไปทำงานในสายวิชาชีพล้วนแต่มีเนื้อหาสารัตถะที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้คน จึงจำเป็นต้องอาศัยคนที่มีความรับผิดชอบในระดับสูง เพื่อไปรับใช้สังคม ไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความยุติธรรมให้แก่สังคม รวมไปถึงมีบทบาทในการเป็นผู้นำชุมชนไล่เรียงตั้งแต่ระดับรากไปจนกระทั่งชั้นสูงสุด ดังคำที่ว่า นิติศาสตร์หรือนีติศาสตร์ --- ศาสตร์แห่งผู้นำ---เป็นประจักษ์พยานสำคัญ ซึ่งความสำคัญดังกล่าว จึงทำให้ในการศึกษานิติศาสตร์ไม่ใช่เพียงแค่นักศึกษาผู้นั้นจะจำได้หมายรู้เพียงตัวบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรเท่านั้น



คำว่า นิติศาสตร์ หมายความว่า วิชาที่ว่าด้วยกฎหมาย แต่คำว่า กฎหมาย หมายความเพียงว่า บทบัญญัติหรือคำสั่งที่ตราขึ้นโดยผู้มีอำนาจที่ใช้บังคับในสังคม
จำแนกได้ว่า วิชานิติศาสตร์ ข้อเท็จจริง คุณค่า

เพราะ เมื่อนักศึกษานิติศาสตร์เป็นที่คาดหวังของสังคมและ/หรือจะต้องออกไปรับใช้สังคมตามที่พวกเขาชอบกล่าวอ้างตามพระบิดาแห่งกฎหมายไทยเสมอ ๆ ว่า My life is service (ชีวิตของข้าพเจ้าคือการรับใช้) ดังนั้นแล้ว ตลอดช่วงเวลาของการศึกษานักศึกษาจึงต้องอาศัยสรรพกำลังต่าง ๆ เพื่อให้ตนมีความรู้ในเนื้อหาของกฎหมายในรูปข้างต้นได้แก่วงกลมตรงกลาง กล่าวคือ นักศึกษาต้องรู้บทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างถ่องแท้เพื่อใช้ยึดเป็นหลักและต้องปักหลักนั้นให้มั่นคง แข็งแรง โดยอาศัยคำพิพากษาของศาลมาใช้เป็นอุทาหรณ์ประกอบให้เข้าใจบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ๆ อย่างแจ่มชัด และประยุกต์ใช้ได้อย่างแยบคาย

เท่านั้นหาเพียงพอไม่ นักศึกษาต้องสาวลึกให้ได้ว่า บทบัญญัตินั้น ๆ มีที่มาอย่างไร นักศึกษาจึงต้องทำงานอย่างหนักเพื่อหยั่งรากลึกถึงภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ จิตวิญญาณ หรือข้อเท็จจริงแห่งหลักกฎหมายนั้น ๆ ว่าคืออะไร ดังคำสุภาษิตจีนที่ว่า “ยิ่งโน้มคันศรยิ่งมากเพียงใด ลูกธนูที่ยิ่งออกไปยิ่งพุ่งตรงสู่เป้าหมายแรงยิ่งขึ้นเป็นทวี”



ลองตรองดูว่า เมื่อนักศึกษาตั้งหน้าตั้งตาอ่านหนังสือ ท่องตัวบท อ่านฎีกา นักศึกษาย่อมหมายรู้ได้ว่า “มาตรา ๑๕ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติว่า สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย” แต่เมื่อสังคมตั้งคำถามแก่นักศึกษาว่า “มนุษย์ที่เกิดจากการโคลนนิ่งมีสภาพบุคคลหรือไม่” นักศึกษาท่านนั้นหยุดตรึกตรองและวินิจฉัยอย่างเด็ดขาดตามบุคลิกนักกฎหมายว่า มนุษย์โคลนนิ่งไม่มีสภาพบุคคลเพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๑๕ เพราะขาดองค์ประกอบเรื่องการคลอด ดังนั้น จึงไม่มีสภาพบุคคล และนักศึกษากฎหมายท่านนั้นยังทรงแสดงภูมิรู้เป็นของแถมต่อไปอีกว่า เมื่อไม่มีสภาพบุคคลจึงทำให้ไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ...




แต่กระนั้น เด็กน้อยอาจสะกิดถามคุณแม่ของตนว่า แม่จ๋ามนุษย์โคลนนิ่งนั้นก็เหมือนกับเรามีชีวิตและจิตใจเหมือนกัน ทำไมถึงไม่ใช่มนุษย์หละ เด็กน้อยคนนั้นคงถามโดยสามัญสำนึกแบบเด็ก ๆ อย่างนี้กระมังที่ หลายต่อหลายคนค่อนขอดนักกฎหมายไทยว่า “เป็นพวกโง่ที่มีหลักการ”

อะไรหละหรือทำให้เป็นอย่างนั้น เพราะนักศึกษานิติศาสตร์ไม่พยายามศึกษาถึงนิติศาสตร์ในทางคุณค่าและ/หรือพยายามค้นหาปรัชญาที่แฝงอยู่เบื้องหลังบทบัญญัติแห่งกฎหมาย



ฉะนั้น จะมีนักกฎหมายอยู่มากรายเมื่อสำเร็จการศึกษาไปทำงานประกอบอาชีพทางกฎหมาย มักจะใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือของตน จนละเลยคำตอบที่เคยพรั่งพรูให้แก่ผู้อาวุโสที่ถามเอาไว้ก่อนเข้าเรียนนิติศาสตร์ เช่น ใช้มาตรา ๔๒๓ ในทางละเมิด โดยหารู้ถึงคุณค่าของกฎหมายและ/หรือตระหนักถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชน หากแต่ใช้กฎหมายเพื่อประโยชน์ของตนและพวกพ้อง หรือเบียดเบียนบีฑาผู้ที่ไม่รู้กฎหมาย แม้ความดังกล่าวพ่อของแผ่นดินได้เตือนสตินักกฎหมายไว้แล้วว่า “กฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือของความยุติธรรม” อย่างนี้อีกกระมังที่ หลายคนจึงดูถูกนักกฎหมายว่า “เป็นพวกหัวหมอ”


ถึงเวลานี้....ยังมิอาจหยั่งทราบได้เหมือนกันว่า นักศึกษาที่เรียกตนเองว่า “นักศึกษานิติศาสตร์” จักได้รู้หรือยังว่า ตนเอง ต้องรู้อะไร ? ควรรู้อะไร ? และท้ายที่สุด อยากรู้อะไร ?


กิตติบดี

สรุปประเด็น : ข้อแนะนำในการจัดทำสัญญาทางธุรกิจ

หัวข้อบรรยาย

-หลักพื้นฐานแห่งสัญญา
-เนื้อหาสาระของสัญญา
-ความสมบูรณ์ของสัญญาการผิดสัญญา

ผู้ร่างสัญญาส่วนใหญ่มักร่างสัญญาจากความคุ้นชินมากกว่าข้อเท็จจริง จนบางครั้งสัญญาที่ถูกจัดทำขึ้นยุ่งยาก ไม่กระชับ และขาดความชัดเจนไม่ตรงตามเจตนารมณ์

หลักพื้นฐาน

๑. สัญญา คืออะไร

๒. สัญญาประเภทใดที่ต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร

๓. ทำอย่างไรให้สัญญามีผลผูกพัน

๔. ผลของการฝ่าฝืนสัญญา

ข้อพึงระวังในการจัดทำสัญญา

(๑) ปัญหาที่เกิดจากผู้ทรงสิทธิ์ ได้แก่
(ก) ความสามารถในการทำนิติกรรม

(ข) การแสดงเจตนา

(๒) ปัญหาที่เกิดจากตัวสัญญา ได้แก่
(ก) แบบของนิติกรรม

(ข) วัตถุประสงค์

(๓) ปัญหาที่เกิดจากตัววัตถุแห่งสิทธิ ได้แก่
(ก) กรรมสิทธิ์

(ข) ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย

หลักทั่วไปสำหรับการร่างสัญญาทางธุรกิจ


ข้อแนะนำ ประการเพื่อให้สัญญาทางธุรกิจมีผลบังคับตามกฎหมาย

๑. จงทำสัญญาทุกประเภทให้เป็นลายลักษณ์อักษร แม้กฎหมายไม่บังคับก็ตาม
๒. จงทำให้ง่ายที่สุด
๓. จงติดต่องานและเจรจาให้ถูกคน
๔. จงพิจารณาคู่สัญญา
๕. จงย้ำรายละเอียดที่ชัดเจนกับลูกความ
๖. จงกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับผลตอบแทน
๗. จงกำหนดเงื่อนเวลาต่าง ๆ โดยเฉพาะวันสิ้นสุดสัญญา
๘. จงกำหนดตกลงวิธีการยุติหรือไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
๙. จงเก็บเป็นความลับ

ตรวจสอบ : Contract Terms


(๑) ผู้ทรงสิทธิ์
ปัจเจกชน หรือองค์กรธุรกิจ ?
ถ้าเป็นองค์กรธุรกิจ เป็นประเภทใด ? (ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด กิจการร่วมค้า บริษัทมหาชนจำกัด หรือ อื่นๆ )
เป็นผู้ที่มีอำนาจกระทำในนามองค์กรธุรกิจหรือไม่ ?
มอบอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?
แน่ใจได้อย่างไรว่าผูกพันกับองค์กรธุรกิจ ?

นอกจากนี้ ยังต้องตรวจสอบ
ที่อยู่ของคู่สัญญา
วัตถุประสงค์ของสัญญา
สิ่งที่อยู่ในใจของคู่สัญญา

(๒) ตัวสัญญา
เรื่องทั่วไป (แบบฟอร์มทั่วไป)
หน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย
สิทธิของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย
วัน เวลา และระยะเวลาต่าง ๆ ที่สำคัญ
จำนวนเงิน (อักษร/ตัวเลข)
จำนวนปริมาณ
เงื่อนไขการจ่ายเงิน
งวด เงื่อนเวลา
ภาษีอากร ค่าธรรมเนียม
ดอกเบี้ย เบี้ยปรับ
การรับรองหรือรับประกัน
การปฏิเสธความรับผิด (พรบ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม)
ข้อจำกัดความรับผิด

ความเสียหาย
การจัดเตรียมสิ่งของต่าง ๆ
การผิดสัญญา
อนุญาโตตุลากการ และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
รัฐบัญญัติ
การบังคับใช้กฎหมายหรือศาล
ลายมือชื่อ
การรับรองลายมือชื่อ (กรณีคนต่างชาติ)

(๓) ตัววัตถุแห่งสิทธิ์
ทรัพย์สินต้องตรวจสอบให้ชัดเจนและถูกต้อง

สุดท้ายให้ตรวจสอบอีกครั้ง เรื่อง Contract Terms

ข้อพึงปฏิบัติ
ü เริ่มต้นจากอาศัยแบบฟอร์มสำเร็จรูป และปรับใช้อย่างเหมาะสมแก่สถานการณ์
ü ตั้งชื่อสัญญา ให้ตรงกับเจตนา
ü เขียนชื่อ-ที่อยู่ของคู่สัญญาให้ถูกต้อง
ü เขียนวันที่ทำสัญญาไว้ย่อหน้าแรก
ü ใช้สามัญสำนึกในการเขียนสัญญา
ü ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและชัดเจน
ü ให้คำจำกัดความต่อศัพท์เทคนิค
ü ทบทวนคำว่า และ – หรือ
ü สอบถามลูกความในประเด็นที่สงสัยหรือไม่ชัดเจน
ü ใช้ปากกาสีเข้มลงลายมือชื่อ ไม่ใช้ดินสอหรือลายเส้นจากสำเนาเด็ดขาด
ü ตรวจสอบชื่อคู่สัญญากับลงลายมือชื่อต้องตรงกัน
ü เก็บสำเนาสัญญาไว้ทุกครั้ง

พึงระลึกไว้เสมอว่า ผลแพ้-ชนะในคดีแพ่ง (สัญญาทางธุรกิจ) ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ปลายทาง แต่อยู่ที่จุดเริ่มต้น ฉะนั้น จงรอบคอบและพิถีพิถันในการจัดทำสัญญา

กิตติบดี

กฎหมายสัญญาทางธุรกิจ : ขอบเขต

กฎหมายเกี่ยวกับสัญญาธุรกิจ : หลักพื้นฐาน
Business Contract Law: The Basics

---------------------

พื้นฐานของสัญญา
§ สัญญาคืออะไร
§ ทำไมต้องเขียนสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
§ ใครเป็นผู้มีหน้าที่เขียนสัญญาธุรกิจ
§ การทำสัญญากับภาครัฐเป็นสัญญาธุรกิจใช่หรือไม่
§ มูลเหตุของการฝ่าฝืนสัญญา
§ การบังคับตามสัญญา

งานที่ปรึกษาและสัญญาธุรกิจ ● ให้บริการโดยให้คำปรึกษาด้านกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ โดยผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น โทรศัพท์, โทรสาร, อีเมล์ หรือ โดยการพบนอกสถานที่ เป็นต้น ● ให้บริการรับจัดทำสัญญาทางธุรกิจทุกประเภท โดยสามารถทำเป็นภาษาต่างประเทศได้ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และ ภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น

งานด้านจดทะเบียนและใบอนุญาต ให้บริการงานจดทะเบียนทุกประเภท ซึ่งได้แก่:-• งานจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท ร้านค้า• งานจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไข ห้างหุ้นส่วน บริษัท ร้านค้า• งานจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน บริษัท ร้านค้า• งานจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และ การขอบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีของห้างหุ้นส่วน บริษัท ร้านค้า• งานจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า• งานจดทะเบียนสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์• งานจดทะเบียนที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง)• การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต่างชาติ• ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างชาติ • การซื้อและขายคอนโดมิเนียมของคนต่างชาติ • ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว และ การขออยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวต่อไป (ต่อวีซ่า) • การขอมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยของคนต่างด้าว• การจดทะเบียนสมรสระหว่างคนต่างด้าวกับคนไทย และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคนต่างด้าว• งานขอใบอนุญาตขับขี่ให้กับคนต่างชาติ• งานขอใบอนุญาตต่างๆ จากหน่วยงานราชการ เช่น ใบอนุญาตร้านอาหาร, ใบอนุญาตสุรา และ ยาสูบ เป็นต้น• งานขึ้นทะเบียนประกันสังคม

งานด้านทนายความ ● ให้บริการเป็นทนายความดำเนินคดีต่างๆ เช่น คดีแพ่ง, คดีอาญา, คดีครอบครัว, คดีแรงงาน, คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ● รับเป็นตัวแทนในการเจรจาประนอมหนี้สินกับธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงิน ต่างๆ● ให้บริการดำเนินการบังคับคดี ในเขต กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

งานบริการอื่นๆ • งานแปลเอกสารต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น• งานตรวจสอบต่างๆ ได้แก่ :-- ความเป็นนิติบุคคลของห้างหุ้นส่วน บริษัทฯ เช่น หลักฐานการจดทะเบียนบริษัท (หนังสือรับรองของบริษัท), ผู้ถือหุ้นของบริษัท, ผู้เป็นหุ้นส่วน (หนังสือรับรองของห้างหุ้นส่วน)- สถานะทางการเงินของห้างหุ้นส่วน บริษัทฯ เช่น งบการเงินประจำปี เป็นต้น- ตรวจสอบที่อยู่ของบุคคลที่จะดำเนินคดีทางศาล- ตรวจสอบชื่อผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง • งานคัดเอกสารสำคัญ เช่น หนังสือรับรองของห้างหุ้นส่วน บริษัท, บัญชีผู้ถือหุ้นของบริษัท, เป็นต้น• งานยื่นแบบชำระประกันสังคมรายเดือน ของสถานประกอบการ• งานบริการอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวไว้ข้างต้น



กิตติบดี

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย "ความหมายของประชาธิปไตย" ตอน ๑

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย ตอน ๑ ศึกษาจากมุมมองของผู้ช่วยศาสตราจารย์จรัล  ดิษฐาอภิชัย  ประธานมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย/อจ.บรรยายรายวิชา...