วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สรุปประเด็น : ข้อแนะนำในการจัดทำสัญญาทางธุรกิจ

หัวข้อบรรยาย

-หลักพื้นฐานแห่งสัญญา
-เนื้อหาสาระของสัญญา
-ความสมบูรณ์ของสัญญาการผิดสัญญา

ผู้ร่างสัญญาส่วนใหญ่มักร่างสัญญาจากความคุ้นชินมากกว่าข้อเท็จจริง จนบางครั้งสัญญาที่ถูกจัดทำขึ้นยุ่งยาก ไม่กระชับ และขาดความชัดเจนไม่ตรงตามเจตนารมณ์

หลักพื้นฐาน

๑. สัญญา คืออะไร

๒. สัญญาประเภทใดที่ต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร

๓. ทำอย่างไรให้สัญญามีผลผูกพัน

๔. ผลของการฝ่าฝืนสัญญา

ข้อพึงระวังในการจัดทำสัญญา

(๑) ปัญหาที่เกิดจากผู้ทรงสิทธิ์ ได้แก่
(ก) ความสามารถในการทำนิติกรรม

(ข) การแสดงเจตนา

(๒) ปัญหาที่เกิดจากตัวสัญญา ได้แก่
(ก) แบบของนิติกรรม

(ข) วัตถุประสงค์

(๓) ปัญหาที่เกิดจากตัววัตถุแห่งสิทธิ ได้แก่
(ก) กรรมสิทธิ์

(ข) ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย

หลักทั่วไปสำหรับการร่างสัญญาทางธุรกิจ


ข้อแนะนำ ประการเพื่อให้สัญญาทางธุรกิจมีผลบังคับตามกฎหมาย

๑. จงทำสัญญาทุกประเภทให้เป็นลายลักษณ์อักษร แม้กฎหมายไม่บังคับก็ตาม
๒. จงทำให้ง่ายที่สุด
๓. จงติดต่องานและเจรจาให้ถูกคน
๔. จงพิจารณาคู่สัญญา
๕. จงย้ำรายละเอียดที่ชัดเจนกับลูกความ
๖. จงกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับผลตอบแทน
๗. จงกำหนดเงื่อนเวลาต่าง ๆ โดยเฉพาะวันสิ้นสุดสัญญา
๘. จงกำหนดตกลงวิธีการยุติหรือไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
๙. จงเก็บเป็นความลับ

ตรวจสอบ : Contract Terms


(๑) ผู้ทรงสิทธิ์
ปัจเจกชน หรือองค์กรธุรกิจ ?
ถ้าเป็นองค์กรธุรกิจ เป็นประเภทใด ? (ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด กิจการร่วมค้า บริษัทมหาชนจำกัด หรือ อื่นๆ )
เป็นผู้ที่มีอำนาจกระทำในนามองค์กรธุรกิจหรือไม่ ?
มอบอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?
แน่ใจได้อย่างไรว่าผูกพันกับองค์กรธุรกิจ ?

นอกจากนี้ ยังต้องตรวจสอบ
ที่อยู่ของคู่สัญญา
วัตถุประสงค์ของสัญญา
สิ่งที่อยู่ในใจของคู่สัญญา

(๒) ตัวสัญญา
เรื่องทั่วไป (แบบฟอร์มทั่วไป)
หน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย
สิทธิของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย
วัน เวลา และระยะเวลาต่าง ๆ ที่สำคัญ
จำนวนเงิน (อักษร/ตัวเลข)
จำนวนปริมาณ
เงื่อนไขการจ่ายเงิน
งวด เงื่อนเวลา
ภาษีอากร ค่าธรรมเนียม
ดอกเบี้ย เบี้ยปรับ
การรับรองหรือรับประกัน
การปฏิเสธความรับผิด (พรบ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม)
ข้อจำกัดความรับผิด

ความเสียหาย
การจัดเตรียมสิ่งของต่าง ๆ
การผิดสัญญา
อนุญาโตตุลากการ และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
รัฐบัญญัติ
การบังคับใช้กฎหมายหรือศาล
ลายมือชื่อ
การรับรองลายมือชื่อ (กรณีคนต่างชาติ)

(๓) ตัววัตถุแห่งสิทธิ์
ทรัพย์สินต้องตรวจสอบให้ชัดเจนและถูกต้อง

สุดท้ายให้ตรวจสอบอีกครั้ง เรื่อง Contract Terms

ข้อพึงปฏิบัติ
ü เริ่มต้นจากอาศัยแบบฟอร์มสำเร็จรูป และปรับใช้อย่างเหมาะสมแก่สถานการณ์
ü ตั้งชื่อสัญญา ให้ตรงกับเจตนา
ü เขียนชื่อ-ที่อยู่ของคู่สัญญาให้ถูกต้อง
ü เขียนวันที่ทำสัญญาไว้ย่อหน้าแรก
ü ใช้สามัญสำนึกในการเขียนสัญญา
ü ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและชัดเจน
ü ให้คำจำกัดความต่อศัพท์เทคนิค
ü ทบทวนคำว่า และ – หรือ
ü สอบถามลูกความในประเด็นที่สงสัยหรือไม่ชัดเจน
ü ใช้ปากกาสีเข้มลงลายมือชื่อ ไม่ใช้ดินสอหรือลายเส้นจากสำเนาเด็ดขาด
ü ตรวจสอบชื่อคู่สัญญากับลงลายมือชื่อต้องตรงกัน
ü เก็บสำเนาสัญญาไว้ทุกครั้ง

พึงระลึกไว้เสมอว่า ผลแพ้-ชนะในคดีแพ่ง (สัญญาทางธุรกิจ) ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ปลายทาง แต่อยู่ที่จุดเริ่มต้น ฉะนั้น จงรอบคอบและพิถีพิถันในการจัดทำสัญญา

กิตติบดี

ไม่มีความคิดเห็น:

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย "ความหมายของประชาธิปไตย" ตอน ๑

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย ตอน ๑ ศึกษาจากมุมมองของผู้ช่วยศาสตราจารย์จรัล  ดิษฐาอภิชัย  ประธานมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย/อจ.บรรยายรายวิชา...