วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ข้อ ๓๐ การตีความ

หลักการ
การตีความ หรือการให้สิทธิใด ๆ จะต้องไม่ทำลายต่อหลักการแห่งสิทธิมนุษยชน


--------------------
กิตติบดี
ที่มาไฟล์วิดีโอ Youth for Human Rights International

ข้อ ๒๙ หน้าที่ในการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน

หลักการ
(๑) ยึดมั่นต่อการเคารพต่อหลักการแห่งสิทธิมนุษยชน
(๒) การใช้สิทธิของตนต้องไม่ล่วงละเมิดต่อสิทธิของผู้อื่น 

ต้องตระหนักรู้ว่า ผู้อื่นมีสิทธิอย่างไร มากกว่าการคำนึงถึงสิทธิของตน



--------------------
กิตติบดี
ที่มาไฟล์วิดีโอ Youth for Human Rights International

ข้อ ๒๘ ระเบียบทางสังคมต้องไม่ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน

หลักการ
ระเบียบทางสังคม กฎหมาย ทั้งภายในและระหว่างประเทศต้องไม่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน



--------------------
กิตติบดี
ที่มาไฟล์วิดีโอ Youth for Human Rights International



ข้อ ๒๗ สิทธิที่จะเข้าร่วมวัฒนธรรม ศิลปและวิทยาศาสตร์

หลักการ
(๑) ทุกคนพึงมีสิทธิที่จะเข้าร่วมทางวัฒนธรรม ศิลปะ และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เพื่อตนจะแสวงหาจินตนาการและความบันเทิงใจ
(๒) การสร้างสรรค์ผลงาน หรือสิ่งประดิษฐ์ใดย่อมได้รับความคุ้มครอง



--------------------
กิตติบดี
ที่มาไฟล์วิดีโอ Youth for Human Rights International

เอกสารประกอบการบรรยายวิชาสิทธิขั้นพื้นฐาน

นำเอกสารที่่แจกนักศึกษามาลงให้

ประเด็นการเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน (ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน)

ข้อ ๑- หลักการ

--กระบวนทัศน์เรื่องสิทธิมนุษยชน-- //สิทธิมนุษยชนจะสัมฤทธิ์ผลได้ก็ต่อเมื่อ มนุษย์ทุกคน ศรัทธาและเชื่อมั่น ต่อหลักสิทธิมนุษยชน เสมือนหนึ่งเป็นศีลธรรมประจำตัว

ขอย้ำว่า 

สิทธิมนุษยชนทุกข้อจะไร้ผล หากมนุษย์ไม่เชื่อมั่นและศรัทธาในคุณค่าแห่งสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของมนุษย์

ข้อ ๓-๒๑ สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

เป็นสิทธิที่จำเป็นและสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์

ข้อ ๒๒-๒๗ สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

                        เป็นสิทธิที่เติมเต็มคุณค่าชีวิตมนุษย์

ข้อ ๒๘-๓๐ การนำนโยบายเรื่องสิทธิมนุษยชนมาปฏิบัติ

ข้อ ๒๙ สิทธิมนุษยชนของผู้อื่นสำคัญกว่าสิทธิมนุษยชนของตนเอง(การเคารพต่อสิทธิมนุษยชนผู้อื่น)

ขอย้ำว่า เราต้องพึงระลึกเสมอว่า ผู้อื่นมีสิทธิ You have RIGHTS มิใช่ เรามีสิทธิ


*******************************

ข้อคิด พัฒนาการของสิทธิมนุษยชน แบ่งเป็น ๓ ระยะ ดังต่อไปนี้ (นศ.สามารถหยิบยกเอาข้อเท็จจริงมาเทียบเคียงได้)

ระยะที่ ๑ การเรียกร้องถึงเสรีภาพ ๔ ประการ  

ระยะที่ ๒ การเรียนรู้สิทธิเสรีภาพ

ระยะที่ ๓ การเรียนรู้ในหน้าที่ความรับผิดชอบและการเคารพสิทธิมนุษยชน

*******************************

------------------------

กิตติบดี

ข้อ ๒๖ สิทธิทางการศึกษา

หลักการ
(๑) ประชาชนมีสิทธิในการศึกษา 
(๒) รัฐต้องจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างให้เปล่า ส่วนการศึกษาขั้นสูงต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงโดยเสมอภาค


--------------------
กิตติบดี
ที่มาไฟล์วิดีโอ Youth for Human Rights International

ข้อ ๒๕ มาตรฐานการครองชีพ

หลักการ
(๑) ประชาชนต้องได้รับความคุ้มครองมาตรฐานค่าครองชีพให้เพียงพอต่อการดำรงชีพของตนและครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยพื้นฐาน (ปัจจัยสี่) การรักษาพยาบาล
(๒) ประชาชนต้องมีหลักประกันการมีงานทำ และการว่างงาน
(๓) มารดาและบุตรต้องได้รับความคุ้มครองและช่วยเหลือจากรัฐเป็นพิเศษ


--------------------
กิตติบดี
ที่มาไฟล์วิดีโอ Youth for Human Rights International

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย "ความหมายของประชาธิปไตย" ตอน ๑

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย ตอน ๑ ศึกษาจากมุมมองของผู้ช่วยศาสตราจารย์จรัล  ดิษฐาอภิชัย  ประธานมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย/อจ.บรรยายรายวิชา...