วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

กฎหมายสถาบันการเงิน : ขอบเขตการสอบปลายภาคการศึกษาต้น/๒๕๕๒

ประเด็นทบทวน-สรุปขอบเขตการสอบ (เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๒)

(๑) ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจสถาบันการเงินกับระบบเศรษฐกิจ
(รวมถึงบทบาทสำคัญของธุรกิจสถาบันการเงินกับการพัฒนาประเทศ) มีขอบเขตเนื้อหาดังต่อไปนี้
- ประเด็นธุรกิจสถาบันการเงิน
- วิวัฒนาการ (จากสังคมเกษตรกรรม เกษตรเพื่ออุตสาหกรรม และอุตสาหกรรม)
โดยจุดเริ่มต้นของสถาบันการเงินจากนโยบายทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน ในฐานะแหล่งทุน มาจนกระทั่งสถาบันการเงินเป็นกุญแจสำคัญในการเข้าสู่ตลาดทางการค้าและปรับบทบาทมาเป็นผู้ประกอบธุรกิจการค้าและลงทุน

- ความหมายของ "ธุรกิจสถาบันการเงิน"
จากธุรกิจทางการเงินแต่ละประเภท ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ ฯลฯ
ไปสู่การประกอบธุรกรรมทางการเงินที่หลากหลายและซับซ้อนขึ้น หรือที่เรียกว่า Universal Banking /Financial Supermarket (Bazaar)

- ประเภทของสถาบันการเงิน
ให้พิจารณาจากหลัก High risk high return ซึ่งมีผลทำให้แนวทางจากเดิมที่สถาบันการเงินยึดถือตามหลัก credibility มาเป็นการสร้างเสถียรภาพ/ความมั่นคง ตามหลัก stability แทน
โดยภายใต้ความซับซ้อนและความเสี่ยงที่มากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีมาตรการทางกฎหมายมารองรับการดำเนินงานของสถาบันการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่าง //ให้นศ.ศึกษาข้อเท็็จจริงกรณี The Lehman brother groups ของประเทสสหรัฐอเมริกา//

- เพราะเหตุใดถึงต้องปรับเปลี่ยนบทบาทเป็น Universal Banking
(อธิบาย) (๑) ธนาคารพาณิชย์เป็นตัวกลางของระบบเศรษฐกิจ
(๒) ธนาคารพาิชย์เป็นระบบเศรษฐกิจ

- มาตรการรองรับในการปรับตัวเป็น Universal Banking
(๑) แผนพฒนาระบบสถาบันการเงิน (แผนแม่บท)
(๒) การควบรวมกิจการ และโอนกิจการ
(๓) นโยบายรัฐการในการให้ใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์รายใหม่
(๔) การพัฒนาระบบตลาดทุน (ตลาดหลักทรัพย์)
(๕) การปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อประโยชน์ต่อบริบททางเศรษฐกิจ
ได้แก่ กฎหมายธุรกิจสถาบันการเงิน และกฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทย (ปี ๒๕๕๑)

------------------------------------------------
(๒) สาระสำคัญของกฎหมายธุรกิจสถาบันการเงิน
หลักการ (๑) หลักความเชื่อมั่น และ (๒) หลักการสร้างเสถียรภาพ --พิจารณาจากหมายเหตุท้ายกฎหมาย

๒.๑ หลักความเชื่อมั่น (ศรัทธา)
ประการแรก การขอใบอนุญาต
- รูปแบบองค์กรธุรกิจ ?
- Good Corporate Governance (GCG.)

ประการทีสอง คน (ในฐานะเจ้าของกิจการและผู้บริหาร)
- ศักยภาพ (เงิน)
- ความสามารถ (เชี่ยวชาญทางการเงิน)
- ความน่าเชื่อถือ (ดี/โปร่งใส)
ข้อพิจารณา กรณีผู้บริหารสถาบันการเงิน Board of Director
- พิจารณาจากผู้ที่มีอำนาจจริงในการกำหนดนโยบายของธนาคาร
- พิจารณาคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (credit / good faith/ conflict of interest / good governance)
- พิจารณาถึงหลักในการบริหารงานตามมาตรา ๒๗ ได้แก่ (๑) บุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง (Professional duty of care) และ (๒) หลักความรับผิดชอบร่วมกัน

ประการที่สาม โครงสร้างและผู้ถือหุ้น
- การควบคุมโครงสร้าง เพื่อป้องกันการครอบงำทางธุรกิจ และผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
- ผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๕ มีข้อยกเว้น?
- การถือครองหุ้นสถาบันการเงินในแต่ละรายต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ มีข้อยกเว้น​?

ประการที่สี่ การตรวจสอบโดยทางการ
- การตรวจสอบและสอบทางการให้สินเชื่อ (มาตรา ๔๘-๕๒) และการกำกับทั่วไป (มาตรา ๘๐-๘๓)
- มาตรการทางกฎหมายในการรองรับความเสี่ยง (ตามหลักเกณฑ์บาสเซิล ๒)
ได้แก่ การดำรงเงินกองทุนและสินทรัพย์สภาพคล่อง (มาตรา ๒๙-๓๒)
การจัดชั้นสินทรัพย์และการกันเงินสำรอง (มาตรา ๖๐-๖๒)
การบริหารสินทรัพย์และการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (มาตรา ๖๓-๖๕)
- การเข้าควบคุมและแก้ไขสถานะ
ได้แก่ (๑) มาตรการให้สถาบันการเงินต้องจัดทำบัญชีและรายงาน สอบบัญชีตามมาตรฐานวิชาชีพและหลักสากล
(๒) การนำระบบบริหารจัดการที่ดี ตามมาตรา ๘๔
(๓) การแต่งตั้งผู้ตรวจการสถาบันการเงิน (การเตือน/การมีคำสั่งห้าม/การมีคำสั่งถอดถอน/การมีคำสั่งแก้ไข/การระงับการดำเนินการ/การสั่งควบคุม และการสั่งปิดสถาบันการเงิน ///ขอให้เทียบเคียงกับกรณีที่ยกตัวอย่างในชั้นเรียน Federal Deposit Insurance Corporation, FDIC (สถาบันประกันเงินฝาก) และกรณีการจัดตั้ง Bridge Bank เพื่อแก้ไขปัญหาธนาคารที่ปิดกิจการ

๒.๒ การสร้างเสถียรภาพของสถาบันการเงิน
มีประเด็นพิจารณาดังนี้
- การดำรงเงินทุนสำรอง
- การควบรวมโอนกิจการ
- การขยายขอบเขตธุรกิจสถาบันการเงินและธุรกรรมทางการเงิน (ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ)
------------------------------------------------------
(๓) กฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทย
หลักการ ธนาคารกลาง?
ระบบการเงินภายในประเทศที่ดำเนินงานโดยคณะรัฐบาล ?
(Owned by the national government)
เป็นเครื่องมือในการบริหารนโยบายทางการเงินของรัฐบาล? (มาตรา ๒๔)

- หลัก don't stay too close and don't stay too faraway.
- ประเด็น ความเป็นอิสระของธนาคารกลาง (Independent Central Bank) ?
- ความรับผิดชอบของผู้ว่าการ/วาระการดำรงตำแหน่ง/คุณสมบัติ/การแบ่งส่วนงานเป็นคณะกรรมการชุดต่าง ๆ (นโยบายทางการเงิน/นโยบายสถาบันการเงิน/ระบบการชำระเงิน)

หมายเหตุ : มาตราที่น่าสนใจ ได้แก่ มาตรา ๕, ๗, ๘, ๑๗, ๒๔, ๒๕, ๒๘, ๒๘/๗, ๒๘/๑๐, ๒๘/๑๒, ๒๘/๑๓-๑๘, และหมายเหตุท้ายกฎหมาย

--------------------------------------------
สำหรับนักศึกษาที่ยังขาดส่งงานไม่ครบตามที่มอบหมาย ให้ติดต่อก่อนวันสอบ

ขอให้โชคดีในการสอบทุกท่าน
(กิตติบดี)

สิทธิขั้นพื้นฐานฯ : พัฒนาการสิทธิมนุษยชนจากนามธรรมไปสู่รูปธรรม

เอกสารประกอบการบรรยายรายวิชาสิทธิขั้นพื้นฐานฯ

สิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ - ศีลธรรม - กฎหมาย - การเมืองการปกครอง และหลักการสิทธิมนุษยชน

(๑) สิทธิตามธรรมชาติ (ศีลธรรม) ศาสนา กฎหมาย และการปกครอง
หากปราศจากปรัชญา ไม่จำต้องกล่าวถึงศาสนา,
หากปราศจากศาสนา ไม่จำต้องกล่าวถึงศีลธรรม,
หากปราศจากศีลธรรม ไม่จำต้องกล่าวถึงกฎหมาย


(๒) บุคคลที่ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ
บุคคลที่กล้าหาญต่อสู้กับอำนาจที่ไม่ชอบธรรมเพื่อให้ตนได้มีอิสรภาพ = มนุษย์ที่อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี
บุคคลที่กล้าหาญต่อสู้กับอำนาจที่ไม่ชอบธรรมเพื่อให้มวลชนได้มีอิสรภาพ = มหาบุรุษ

มหาตมะ คานธี : ตอบโต้อำนาจชั่วร้ายโดยสัตยาเคราะห์ และอหิงสาธรรม


มาร์ติน ลูเธอร์ คิงจูเนียร์ "I have a DREAM"
I have a dream that one day this nation will rise up and live out the true meaning of its creed: "We hold these truths to be self-evident: that all men are created equal."



(๓) เหตุการณ์ที่ทำให้กระทบต่อมโนธรรมของมนุษย์


(๔) การจัดทำเอกสารแห่งสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม
ปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน Universal Declaration of Human Rights





สิทธิมนุษยชนของปัจเจกชนสำคัญ แต่ของผู้อื่นมีค่ายิ่งกว่า
--------------------
กิตติบดี

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย "ความหมายของประชาธิปไตย" ตอน ๑

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย ตอน ๑ ศึกษาจากมุมมองของผู้ช่วยศาสตราจารย์จรัล  ดิษฐาอภิชัย  ประธานมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย/อจ.บรรยายรายวิชา...