วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สิทธิมนุษยชน : ปฐมบทแห่งสิทธิมนุษยชน

ปฐมบทแห่งสิทธิมนุษยชน
เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนโลก ๑๐ ธันวาคม
United Nations and Human Rights:





อาจจะกล่าวอย่างย่นย่อได้ถึง แนวทางสากลที่ทั่วโลกให้การยอมรับว่า สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เป็นสิทธิประจำตัวของมนุษย์ และควรได้รับการหวงกันมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดถูกลิดรอน นั้น ปรากฏขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ยุติลง ซึ่งในปีคริสต์ศักราช ๑๙๔๑ กลุ่มสันนิบาตชาติได้มีพันธสัญญาร่วมกันที่เรียกว่า “Atlantic Charter” ที่จะคุ้มครองเสรีภาพของมนุษย์ไว้ ๔ ประการ ได้แก่

๑. มนุษย์ต้องมีเสรีภาพในการแสดงออด (พูด) (Freedom of speech)
๒. มนุษย์ต้องมีเสรีภาพที่จะเชื่อในศาสนา ลัทธิ และพิธีกรรม (Freedom of worship)
๓. มนุษย์ต้องมีเสรีภาพในสิ่งที่พึงปรารถนา (Freedom of want)
๔. มนุษย์ต้องมีเสรีภาพจากความหวาดกลัว (Freedom of fear)


ซึ่งในห้วงเวลานั้นเอง ในหลายพื้นที่บนโลกนี้ ได้เกิดระบบการปกครองประเทศแบบเบ็ดเสร็จ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของภัยแดง ภัยเขียว ภัยเหลือง ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นล้วนเป็นที่มาของปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ ทาส ผู้ลี้ภัย อันเป็นที่มาของการฆ่าคนอย่างทารุณกรรมและปราศจากเหตุผล

บทเรียนต่อมาที่ทำให้มวลมนุษยชาติต้องหวนกลับมาทบทวนถึงชีวิต ร่างกาย สภาพความเป็นอยู่ ความปลอดภัยของมวลมนุษย์ มากกว่าที่จะคำนึงถึงความมั่งคั่งทางสรรพกำลัง ได้แก่ บทเรียนแห่งความสูญเสีย ล่มสลายอันเป็นผลพวงจากภัยพิบัติจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ ภาพของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในประเทศเยอรมนี ความรุนแรงและป่าเถื่อนเดินทางข้ามทวีปไปยังฮิโรชิมา และนางาซากิ ซึ่งเป็นผลทำให้หลายแสนชีวิตต้องถูกลบเงาไปจากโลกใบนี้ในช่วงปีคริสต์ศักราช ๑๙๔๕ ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ บรรดาผู้นำประเทศต่าง ๆ ได้ร่วมมือดำเนินการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น The Declaration by the United Nations - Washington, D.C., January 1, 1942 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสรรและยังความสงบสุข สันติภาพให้แก่ครอบครัวมนุษย์ก็ตามที


ซึ่งภายหลังอีก ๓ ปี บรรดาผู้นำประเทศสมาชิกดั่งเดิมจำนวน ๕๐ ประเทศจึงได้ร่วมลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติโดยประกาศจุดยืนแห่งสหประชาชาติว่า :


ความสำเร็จของสหประชาชาตินั้น ปรารถนาอย่างแรงกล้าให้บรรดาประเทศทั้งหลายร่วมมือกันในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิขั้นมูลฐานของมนุษย์ ศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษย์ สิทธิที่เสมอภาคกัน ความยุติธรรมในสังคม เสรีภาพขั้นมูลฐานโดยไม่จำแนกแยกแยะในเชื้อชาติ เพศ ภาษา และ/หรือ ศาสนา



ในปีคริสต์ศักราช ๑๙๔๕ ที่ประชุม ณ กรุงซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการจัดตั้งกลุ่มงานทำหน้าที่ร่างกฎเกณฑ์กติกาอันเป็นสากลระหว่างประเทศขั้น โดยมีตัวแทนจากกลุ่มองค์กรเอกชนกว่า ๔๐ องค์กรจากหลายประเทศ ซึ่งเป็นตัวแทนทั้งฝ่ายศาสนจักร องค์กรพิทักษ์และคุ้มครองสตรีเพศ ชนกลุ่มน้อย ให้กำหนดกติการะหว่างประเทศร่วมกัน


โดยในปีคริสต์ศักราช ๑๙๔๖ สหประชาชาติได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีนาง อิลิเนอร์ รูสเวลส์ สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งสหรัฐอเมริกา และคณะผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อินเดีย สหราชอาณาจักร เบลเยี่ยม เป็นอาทิ เพื่อจัดทำร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน การร่างใช้เวลากว่า ๒ ปี จนกระทั่งวันที่ ๑๐ ธันวาคม คริสต์ศักราช ๑๙๔๘ ได้มีมติยอมรับและประกาศใช้ร่างดังกล่าวเป็นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน....




กิตติบดี

ไม่มีความคิดเห็น:

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย "ความหมายของประชาธิปไตย" ตอน ๑

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย ตอน ๑ ศึกษาจากมุมมองของผู้ช่วยศาสตราจารย์จรัล  ดิษฐาอภิชัย  ประธานมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย/อจ.บรรยายรายวิชา...