พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๕๑ พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕ (ปัจจุบันถูกยกเลิก)
พ.ศ. ๒๕๕๑-ปัจจุบัน พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒. ทั้งสองกฎหมายมีความแตกต่างกันหรือไม่
---มี--- พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มีบทบาทในการสร้างความเชื่อมั่นต่อสถาบันการเงิน ส่วนพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ มีการเพิ่มเติมนอกเหนือจากนั้น คือการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันการเงิน
ข้อ ๓. ที่มาของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑
สืบเนื่องจากกฎหมายเดิมการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายแต่ละฉบับ ทำให้การกำกับดูแลมีมาตรฐานต่างกัน และประกอบกับ การเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจซึ่งมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนและผู้ฝากเงินที่มีต่อระบบสถาบันการเงินโดยรวม
ข้อ ๔. เมื่อมีการรวมกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจสถาบันการเงินให้มีมาตรฐานเดียวกันแล้ว กฎหมายเดิมที่กำกับดูแลธุรกิจทางการเงินยังคงมีผลอยู่หรือไม่
---กฎหมายดังต่อไปนี้ให้ถือว่ายกเลิก---
§ พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕
§ พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๒
§ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕,พ.ศ. ๒๕๒๘
§ พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕
§ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐
§ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๐
§ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑
§ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
พ.ศ. ๒๕๒๒
§ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๖
§ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘
§ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕
§ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕
§ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๐
§ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๐
§ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๑
ข้อ ๕. ธุรกิจสถาบันการเงินมีกี่ประเภท อย่างไร
๑. ธุรกิจธนาคารพาณิชย์
๒. ธุรกิจเงินทุน
๓. ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
๔. การประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
การประกอบธุรกิจที่ดำเนินธุรกรรมดังนี้ (๑) รับฝากเงิน* หรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ (คือ การระดมทุน) และ (๒) ใช้ประโยชน์จากเงินนั้นโดยวิธีหนึ่งวิธีใด เช่น ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ
* การรับฝากเงินของลูกค้า (ประชาชน) เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (การรับฝากทรัพย์)
การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ ซึ่งมิใช่การรับฝากเงินหรือรับเงินไว้ในบัญชีที่จะเบิกถอนโดยใช้เช็ค และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นโดยวิธีหนึ่งวิธีใด เช่น ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด
ข้อ ๘. ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หมายความว่าอย่างไร
การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่จะจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และ ใช้ประโยชน์จากเงินนั้นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) การให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์
(๒) การรับซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยวิธีขายฝาก
ข้อ ๙. ธุรกิจสถาบันการเงินแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร
---ใช่---
ธุรกิจธนาคารพาณิชย์นั้นให้หมายความรวมถึงธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์
ข้อ ๑๑. การประกอบธุรกิจสถาบันการเงินเป็นไปอย่างเสรีตามหลักการค้าเสรีหรือไม่ อย่างไร
---ไม่---
เนื่องจาก การประกอบธุรกิจดังกล่าว อาจมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ* ดังนั้น รัฐจึงเข้ามาจำกัดการประกอบธุรกิจนี้ ซึ่งหลักสากลถือเป็นข้อยกเว้นของหลักการค้าเสรี
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
* การประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการระดมเงินจากประชาชนโดยการรับฝากเงินหรือโดยวิธีอื่นใด ให้สินเชื่อ หรือธุรกิจทางการเงิน จึงมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม.
ข้อ ๑๒. การจัดตั้งธุรกิจสถาบันการเงินเป็นอย่างไร
การประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์จะกระทำได้เฉพาะนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด โดยได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ในการอนุญาตดังกล่าวรัฐมนตรีจะกำหนดหลักเกณฑ์ตามที่เห็นสมควรก็ได้
เช่นเดียวกัน หากธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศจะตั้งสาขาเพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยตามพระราชบัญญัตินี้ได้ เมื่อได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ในการอนุญาตดังกล่าว รัฐมนตรีจะกำหนดหลักเกณฑ์ตามที่เห็นสมควรก็ได้และให้ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศแสดงหนังสือยินยอมให้ยื่นคำขอจัดตั้งสาขาจากหน่วยงานผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศนั้นต่อรัฐมนตรีโดยผ่านธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย
เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว กฎหมายกำหนดให้สถาบันการเงินต้องใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า “ธนาคาร” “บริษัทเงินทุน” หรือ “บริษัทเครดิตฟองซิเอร์” นำหน้า ตามที่ระบุในใบอนุญาต แล้วแต่กรณี
สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต ห้ามใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจทางการเงินว่า“ธนาคาร” “เงินทุน” “การเงิน” “การลงทุน” “เครดิต” “ทรัสต์” “ไฟแนนซ์” “บริษัทเครดิตฟองซิเอร์”หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน
ข้อ ๑๓. โครงสร้างสถาบันการเงิน เป็นอย่างไร
มีการกำหนดถึง (๑) หุ้นและผู้ถือหุ้น และ (๒) ผู้บริหารสถาบันการเงิน
ข้อ ๑๔. โครงสร้างเรื่องหุ้นและผู้ถือหุ้นเป็นอย่างไร
(๑) หุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิของสถาบันการเงินต้องเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อผู้ถือมีมูลค่าของหุ้นไม่เกินหุ้นละหนึ่งร้อยบาท
(๒) สถาบันการเงินอาจออกหุ้นบุริมสิทธิที่ไม่มีสิทธิออกเสียง หรือหุ้นบุริมสิทธิอื่นได้เมื่อได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(๓) สถาบันการเงินต้องมีจำนวนหุ้นที่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยถืออยู่ไม่ต่ำกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และต้องมีกรรมการเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด บุคคลใดถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่งไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ตั้งแต่ร้อยละห้าขึ้นไปของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด บุคคลนั้นต้องรายงานการถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นดังกล่าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
การถือหุ้นให้รวมถึงหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย หมายถึง
บุคคลใดจะถือหุ้นได้ตั้งแต่ร้อยละ ๕- ๑๐ มีเงื่อนไขว่า หากเกินร้อยละ ๕ ต้องแจ้งให้ทางการทราบ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ และการถือครองหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นให้หมายความถึง
บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับอีกบุคคลหนึ่งในลักษณะดังต่อไปนี้
(๑) เป็นคู่สมรส
(๒) เป็นบุตรหรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(๓) เป็นบริษัทที่บุคคลนั้นหรือบุคคลตาม (๑) หรือ (๒) มีอำนาจในการจัดการ
(๔) เป็นบริษัทที่บุคคลนั้นหรือบุคคลตาม (๑) หรือ (๒) มีอำนาจควบคุมคะแนนเสียง
ส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
(๕) เป็นบริษัทที่บุคคลนั้นหรือบุคคลตาม (๑) หรือ (๒) มีอำนาจควบคุมการแต่งตั้งหรือ
ถอดถอนกรรมการ
(๖) เป็นบริษัทลูกของบริษัทตาม (๓) หรือ (๔) หรือ (๕)
(๗) เป็นบริษัทร่วมของบริษัทตาม (๓) หรือ (๔) หรือ (๕)
(๘) เป็นตัวการ ตัวแทน หรือ
(๙) บุคคลอื่นที่มีลักษณะตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
ในกรณีที่บุคคลใดถือหุ้นในบริษัทใดตั้งแต่ร้อยละยี่สิบขึ้นไปของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริษัทนั้นเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามิได้เป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕. ผู้บริหารสถาบันการเงินมีความหมายอย่างไร
ผู้บริหารฯ คือผู้ที่มีอำนาจในการจัดการธุรกิจนั้น (อำนาจในการควบคุมนโยบาย)
“ผู้มีอำนาจในการจัดการ” หมายความว่า
๑) ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ กรรมการที่เป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินหรือ
บริษัท แล้วแต่กรณี หรือผู้ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
๒) บุคคลซึ่งสถาบันการเงินหรือบริษัททำสัญญาให้มีอำนาจในการบริหารงานทั้งหมดหรือ
บางส่วน หรือ
๓) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีอำนาจควบคุมหรือครอบงำผู้จัดการหรือกรรมการ หรือการ
จัดการของสถาบันการเงินหรือบริษัท ให้ปฏิบัติตามคำสั่งของตนในการกำหนดนโยบายหรือการ
ดำเนินงานของสถาบันการเงินหรือบริษัท
ข้อ ๑๖. เพราะเหตุใดกฎหมายจึงต้องกำกับดูแลในเรื่องโครงสร้างไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือตัวผู้บริหารสถาบันการเงิน
เพราะธุรกิจสถาบันการเงินมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ การกำกับดูและเรื่องหุ้น เพื่อป้องกันการครอบงำธุรกิจ และระบบเศรษฐกิจของประเทศ ส่วนเรื่องผู้บริหาร เพื่อสร้างหลักประกันและความน่าเชื่อถือให้แก่ประชาชน
ข้อ ๑๗. แล้วผู้บริหารสถาบันการเงินที่มีคุณลักษณะน่าเชื่อถือควรมีคุณสมบัติอย่างไร
กฎหมายได้อาศัยหลักความน่าเชื่อ หลักสุจริตอย่างยิ่ง หลักการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และหลักความโปร่งใส (ธรรมาภิบาล) โดยกำหนดห้ามมิให้สถาบันการเงินแต่งตั้งหรือยอมให้บุคคลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
เป็นหรือทำหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน
(๑) เป็นบุคคลล้มละลายหรือพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายมาแล้วไม่ถึงห้าปี
(๒) เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต ไม่ว่า
จะมีการรอการลงโทษหรือไม่ก็ตาม
(๓) เคยถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ องค์การ หรือหน่วยงานของรัฐฐานทุจริตต่อหน้าที่
(๔) เคยเป็นผู้มีอำนาจในการจัดการซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอน
ใบอนุญาต เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(๕) เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบัน
การเงิน ตามมาตรา ๘๙ (๓) หรือมาตรา ๙๐ (๔) หรือตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(๖) เป็นกรรมการ ผู้จัดการ พนักงาน หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงินแห่งอื่น
อีกในเวลาเดียวกัน เว้นแต่ได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(๗) เป็นผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการนอกเหนือจากตำแหน่งกรรมการของบริษัทที่
ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการค้ำประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงินนั้น เว้นแต่
(ก) เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินซึ่งไม่ใช่กรรมการที่เป็นผู้บริหาร
(ข) เป็นกรณีที่ได้รับยกเว้นตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(๘) เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น
หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นใดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ
กำหนด
(๙) เป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยหรือเป็นผู้ที่พ้นจากการเป็นพนักงานของธนาคาร
แห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด เว้นแต่ได้รับแต่งตั้งจาก
ธนาคารแห่งประเทศไทยให้เข้าไปแก้ไขฐานะการเงินหรือการดำเนินการของสถาบันการเงิน หรือ
เป็นการดำรงตำแหน่งในสถาบันการเงินที่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
ทั้งนี้ พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย หรือผู้ที่พ้นจากการเป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย
แต่ยังต้องห้ามไม่ให้รับตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดดังกล่าว ไม่มีสิทธิ
ที่จะได้รับสิทธิในการซื้อหุ้นของสถาบันการเงินนั้น
นอกจากนี้ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกำหนดขึ้นภายหลังได้
ข้อ ๑๘. หน่วยงานใดเป็นผู้กำกับดูแล
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ปัจจุบัน)
ข้อ ๑๙. การดำเนินการของผู้บริหารสถาบันการเงินอาศยหลักการใด
ในการดำเนินกิจการของสถาบันการเงิน กรรมการต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง และต้องรับผิดชอบร่วมกันในการบริหารงานสถาบันการเงินนั้น หรือ Professional Liability
ข้อ ๒๐. นอกจากเรื่องดังกล่าว มีอะไรที่ผู้บริหารต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษหรือไม่
---มี---
ได้แก่ (๑) การให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมถึง (๒) การจัดทำและเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่แท้จริงของสถาบันการเงิน โดยต้องเปิดเผยให้ผู้ถือหุ้น ผู้ฝากเงิน และประชาชนได้รับทราบและสามารถตรวจสอบได้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด และ (๓) การให้สถาบันการเงินเรียกประชุมผู้ถือหุ้นภายในสี่เดือนนับแต่สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือน เมื่อปรากฏว่าสถาบันการเงินนั้นประสบการขาดทุนจนทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาหกเดือนตามมาตรา ๖๗ ลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละห้าสิบของทุนที่ชำระแล้ว และให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนที่ชำระแล้วเพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินตามความเป็นจริง
กิตติบดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น