วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สรุปการบรรยาย เรื่อง การขอจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ (ธุรกิจสถาบันการเงิน)

การขอจัดตั้งและใบอนุญาตประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน
จริงที่................
สถาบันการเงินเป็นตัวกลางทางการเงินที่สำคัญที่สุด มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับ ภาคเศรษฐกิจต่างๆทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีความอ่อนไหวต่อความเสี่ยงและความผันผวน และสามารถส่งผ่านผลกระทบไปยังภาคเศรษฐกิจอื่นได้
ดังนั้น การพิจารณาให้ใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจประเภทนี้ ได้แก่
(๑) ศักยภาพในการประกอบธุรกิจ (เงินทุน/สภาพคล่อง)
(๒) คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ (ความน่าเชื่อถือ/ความชำนาญด้านการเงินการธนาคาร)
(๓) การครอบงำระบบเศรษฐกิจของประเทศ
(๔) ความสัมพันธ์ต่อรัฐบาล
ทั้งนี้ เนื่องจากธุรกิจดังกล่าวมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ

การพิจารณาให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์
หลักการ
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจในการให้ใบอนุญาต

(๒) ในการพิจารณาให้ใบอนุญาตประกอบการธนาคารพาณิชย์ กระทรวงการคลังและ ธปท. จะพิจารณาความเหมาะสมของ โครงสร้างผู้ถือหุ้น คุณสมบัติของกรรมการและผู้บริหารระดับสูง แผนปฏิบัติการและการควบคุมภายในและประมาณการทางการเงิน ซึ่งรวมถึงเงินกองทุนและ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตมีผู้ถือหุ้นใหญ่หรือบริษัทแม่เป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้กำกับดูแลในประเทศแม่ (Home Country Supervisor) ก่อน


มาตรา ๙ การประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์จะกระทำได้เฉพาะนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด โดยได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ในการอนุญาตดังกล่าวรัฐมนตรีจะกำหนดหลักเกณฑ์ตามที่เห็นสมควรก็ได้

การยื่นคำขอจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อประกอบธุรกิจตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับความเห็นชอบในการจัดตั้งจากรัฐมนตรีก่อน

เมื่อได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดแล้ว ให้บริษัทมหาชนจำกัดนั้นยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดต่อรัฐมนตรีโดยผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย

การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ตลอดจนเสียค่าธรรมเนียมตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย

คุณสมบัติของผู้ขอจัดตั้ง

(1) เป็นบริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์

(2) มีคุณภาพการจัดการจากผลการประเมินครั้งล่าสุดตามเกณฑ์ ที่ ธปท. กำหนด

(3) ดำรงเงินกองทุนสุทธิเป็นอัตราส่วนต่อสินทรัพย์เสี่ยงถ่วงน้ำหนัก ตามประกาศ ธปท. ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ณ วันสิ้นเดือนล่าสุดก่อนวันยื่นคำขอ

(4) มีอัตราส่วนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพต่อสินทรัพย์รวม ไม่เกินร้อยละ 15 ณ วันสิ้นเดือนล่าสุดก่อนวันยื่นคำขอ

(5) มีการกันเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ให้เพียงพอตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนดและตามผลการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือ ผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์

(6) ผู้มีสิทธิยื่นคำขอจะต้องไม่มีบุคคลอื่น เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นหลักรายใหม่ตั้งแต่วันที่รัฐมนตรี ลงนามในประกาศฉบับนี้จนถึงวันที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการ เว้นแต่เป็นกรณีการควบหรือรวมกิจการตามแผนการควบรวมที่รัฐมนตรีเห็นชอบต้องมีแผนที่จะควบหรือรวมกิจการหรือรับโอนสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดหรือส่วนใหญ่จากบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิต ฟองซิเอร์แห่งอื่นอย่างน้อย 1 แห่ง


การพิจารณาออกใบอนุญาต

(1)คณะกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินพิจารณาและเสนอรายชื่อต่อรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบภายใน 3 เดือน นับแต่ได้รับคำขอและเอกสารประกอบการพิจารณาครบถ้วนและรัฐมนตรีพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน นับแต่ได้รับผลการพิจารณาจากคณะกรรมการฯ

(2) เมื่อรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้วในการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แล้วให้ดำเนินการดังนี้

• กรณีที่มีสถาบันการเงินมากกว่า 1 แห่งภายในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน ให้บริษัทนั้นดำเนินการควบหรือรวมกิจการ ขายกิจการหรือคืนใบอนุญาตและ/หรือ โอนทรัพย์สินจากสถาบันการเงินอื่นภายใต้กลุ่มธุรกิจเดียวกันแล้วแต่กรณี ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ

กรณียื่นขอจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ให้บริษัทนั้นดำเนินการควบหรือรวมกิจการหรือรับโอนทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดหรือส่วนใหญ่จากบริษัทเงินทุนและ/หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์แห่งอื่นอย่างน้อย 1 แห่งตามแผนงานที่ได้รับความเห็นชอบและให้บริษัทเงินทุนและ/หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ที่ถูกควบหรือรวมกิจการหรือโอนสินทรัพย์และหนี้สินให้บริษัทแล้วทุกแห่งคืนใบอนุญาต ภายใน 1 ปีนับแต่ วันที่ได้รับความเห็นชอบ

• เสนอชื่อกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของธนาคารที่จะจัดตั้งขึ้นเพื่อ ธปท. ให้ความเห็นชอบก่อนเปิดดำเนินงาน

• ต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท


ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย

ณ วันเปิดดำเนินการต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 250 ล้านบาท

หลังจากการดำเนินการแล้วอย่างน้อย 3 ปี สามารถยื่นคำขอปรับสถานะให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ได้เท่าเทียมกับธนาคารพาณิชย์อื่นตามหลักเกณฑ์การจัดตั้งธนาคารพาณิชย์เดิมโดยอนุโลมและต้องมีเงินกองทุนชั้นที่ 1 ไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท


ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ
คุณสมบัติของผู้ขอจัดตั้ง

(1) เป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในไทย หรือมีสำนักงานวิเทศธนกิจในประเทศไทย

(2)เป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ให้ความร่วมมือกับทางการเป็นอย่างดีและมีบทบาทในการพัฒนา เศรษฐกิจและพัฒนาความรู้ในระบบการเงินไทย

(3) เป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศขนาดใหญ่ มีชื่อเสียง ฐานะมั่นคง และมีผลการดำเนินงานดีและจดทะเบียนในประเทศที่มีมาตรฐานการกำกับ ควบคุมสถาบันการเงินเป็นอย่างดี และน่าเชื่อถือ

(4)เป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศเป็นอย่างดี หรือมีบทบาทในศูนย์กลางการเงินโลก รวมทั้งมีบทบาทในการพัฒนาธุรกิจการเงินระหว่างประเทศในประเทศที่สถาบันการเงินต่างประเทศนั้น

(5) เป็นธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับไทยทั้งทาง ด้านการเงิน การค้า และการลงทุน หรือมีแนวโน้มที่จะมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับไทยเป็นจำนวนมากในอนาคต

(6) เป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่จดทะเบียนในประเทศที่ธนาคารกลางและหน่วยงานกำกับสถาบันการเงินของประเทศนั้นมีความสัมพันธ์อันดีกับ ธปท.

(7)เป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่จดทะเบียนในประเทศที่เปิดโอกาสให้ธนาคารพาณิชย์ไทยเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศนั้น

การพิจารณาออกใบอนุญาต

(1)คณะกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินพิจารณาและเสนอรายชื่อต่อรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบภายใน 3 เดือน นับแต่ได้รับคำขอและเอกสารประกอบการพิจารณาครบถ้วนและรัฐมนตรีพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน นับแต่ได้รับผลการพิจารณาจากคณะกรรมการฯ

(2)ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดำเนินการจัดตั้ง และยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ประกอบการ ธนาคารพาณิชย์ต่อรัฐมนตรีภายใน 1 ปี นับแต่ได้รับการเห็นชอบ เว้นแต่ได้รับพิจารณาผ่อนผันจาก ธปท.ทั้งนี้ไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่ครบกำหนดให้ดำเนินการเสร็จสิ้น

(3) ต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท นับแต่วันเปิดดำเนินการ

สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
สรุปคุณสมบัติของผู้ขอจัดตั้ง

(1) สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศที่ประสงค์ขอยกฐานะเป็นสาขาเต็มรูปแบบ

(2)เป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ให้ความร่วมมือกับทางการเป็นอย่างดีและมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจและพัฒนาความรู้ในระบบการเงินไทย

(3) เป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศขนาดใหญ่ มีชื่อเสียง ฐานะมั่นคง และมีผลการดำเนินงานดี และจดทะเบียนในประเทศที่มีมาตรฐานการกำกับ ควบคุมสถาบันการเงินเป็นอย่างดี และน่าเชื่อถือ

(4)เป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศเป็นอย่างดีหรือมีบทบาทในศูนย์กลางการเงินโลก รวมทั้งมีบทบาทใน การพัฒนาธุรกิจการเงินระหว่างประเทศในประเทศที่ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศนั้น

(5) เป็นธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับไทยทั้งทางด้านการเงิน การค้า และการลงทุน หรือมีแนวโน้มที่จะมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับไทยเป็นจำนวนมาก ในอนาคต

(6) เป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่จดทะเบียนในประเทศที่ธนาคารกลางและหน่วยงานกำกับสถาบันการเงินของประเทศนั้นมีความสัมพันธ์อันดีกับ ธปท.

(7)เป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่จดทะเบียนในประเทศที่เปิดโอกาสให้ธนาคารพาณิชย์ไทยเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศนั้น

การพิจารณาออกใบอนุญาต

(1)คณะกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินพิจารณาและเสนอรายชื่อต่อรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบภายใน 3 เดือน นับแต่ได้รับคำขอได้รับคำขอและเอกสารการพิจารณาครบถ้วนและรัฐมนตรีพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน นับแต่ได้รับผลการพิจารณาจากคณะกรรมการฯ

(2)ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดำเนินการจัดตั้ง และยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ต่อรัฐมนตรีภายใน 6 เดือน นับแต่ได้รับการเห็นชอบ เว้นแต่ได้รับ การผ่อนผัน

(3)ต้องดำรงสินทรัพย์ไว้ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท ตามชนิด วิธีการและ เงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดนับแต่วันเปิดดำเนินการ
---จึงสรุปได้ว่า การที่กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณสมบัติในการขอใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไว้ข้างต้น เพื่อคัดกรองหรือจำกัดเสรีภาพในการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ให้มีเฉพาะผู้ประกอบการที่มีความพร้อม/ศักยภาพ เพราะเป็นทราบกันดีว่า ธุรกิจธนาคารพาณิชย์เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจประเภทนี้ล้มมิได้---
(แหล่งข้อมูล : พรบ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑)
กิตติบดี

ไม่มีความคิดเห็น:

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย "ความหมายของประชาธิปไตย" ตอน ๑

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย ตอน ๑ ศึกษาจากมุมมองของผู้ช่วยศาสตราจารย์จรัล  ดิษฐาอภิชัย  ประธานมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย/อจ.บรรยายรายวิชา...