วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน: ข้อ ๑๑

ข้อ ๑๑ สิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญา/การลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
๑. ทุกคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญา มีสิทธิได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นมีผิดตามกฏหมาย ซึ่งตนได้รับหลักประกันบรรดาที่จำเป็นสำหรับการต่อสู้คดี
๒. จะถือบุคคลใดว่ามีความผิดทางอาญา เนื่องด้วยการกระทำหรือละเว้นใด ๆ อันมิได้จัดเป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมาย หรือกฎหมายระหว่างประเทศ ในขณะได้กระทำการนั้นขึ้นไม่ได้ และจะมีบทลงโทษหนักกว่าที่มีกฎหมายใช้บังคับอยู่ในขณะที่ได้กระทำความผิดทางอาญานั้นไม่ได้
Article 11.
(1) Everyone charged with a penal offence has the right to be presumed innocent until proved guilty according to law in a public trial at which he has had all the guarantees necessary for his defence.
(2) No one shall be held guilty of any penal offence on account of any act or omission which did not constitute a penal offence, under national or international law, at the time when it was committed. Nor shall a heavier penalty be imposed than the one that was applicable at the time the penal offence was committed.

--------------------
กิตติบดี
ที่มาไฟล์วิดีโอ Youth for Human Rights International

2 ความคิดเห็น:

bankher กล่าวว่า...

" ทุกคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญา มีสิทธิได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นมีผิดตามกฏหมาย ซึ่งตนได้รับหลักประกันบรรดาที่จำเป็นสำหรับการต่อสู้คดี "


ผมไม่ค่อยเข้าใจกฎหมายเท่าไหร่นะครับ แต่เท่าที่ทราบปัจจุบันตำรวจสามารถจับกุมได้โดยใช้คำว่า

.......เหตุอันควรสงสัย.......

ผมไม่รู้ว่ามันจะขัดแย้งกับหลักสิทธิมนุษยชนข้อนี้หรือเปล่า เพราะตามที่เข้าใจ ผู้ต้องหาทุกคนถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีหลักฐานบอกว่าเขาผิดจริง แต่การใช้เหตุอันควรสงสัย คือการสันนิษฐานว่าเขาผิด ผมว่ามันขัดกันยังไงพิกล

สำคัญกว่านั้น ผมตั้งข้อสังเกตไว้ว่า หากจับกุมด้วยเหตุอันควรสงสัยแล้วดันปรากฎว่า ผู้ต้องหาไม่ผิด ผู้ต้องหามีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือการชดใช้ใดๆก็แล้วแต่ได้หรือไม่ หรือการกระทำดังกล่าวเป็นการปฏิบัติเพื่อนิติรัฐ จึงไม่ต้องสนใจว่าผู้ถูกปกครองจะเป็นอย่างไร

ตัวอย่างเช่นมีคนๆนึงถูกตำรวจตั้งข้อสังสยว่าอาจจะเป็นคนที่ขโมยของในห้างจึงใช้เหตุอันควรสงสัยในการจับกุม ปรากฎว่าพิสูจน์ทีหลังว่าไอ้หมอนั่นไม่ผิด เค้ามีสิทธิเรียร้องค่าเสียหาย ค่าทำขวัญหรืออะไรก็แล้วแต่ ได้หรือไม่ หรือเจ้าหน้าที่คนนั้นมีการถูกลงโทษอย่างไรหรือไม่ และโทษนั้นจะหนักพอที่จะทำให้คนอื่นกลัวแล้วไม่กล้าทำ หรือทำให้กระทำด้วยความรอบคอบขึ้นหรือไม่

เอ่อ...รู้สึกจะเยอะแล้วนะครับ พอก่อนดีกว่า ที่บล๊อคผมเองยังไม่เขียนเยอะขนาดนี้เลยครับ 5555+

กิตติบดี กล่าวว่า...

คุณ Bankher
ผมมี ๒ ประเด็น ที่จะขอแลกเปลี่ยน ได้แก่ (๑) กรณีหากมีเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้นั้นกระทำความผิด จนท.ก็มีอำนาจเพื่อรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของสังคม
และ (๒) การใช้อำนาจของจนท.ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายให้ไว้ที่เรียกว่า due process of law เช่น การอาศัยเหตุที่สงสัยต้องอยู่บนพื้นฐานของพยานหลักฐาน และคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ตรงนี่เป็นประเด็นสำคัญ เพราะ คุณจะปฏิบัติตาม due process ได้นั้น คุณจะต้องศรัทธาและเชื่อมั่นต่อสิทธิมนุษยชนเสียก่อน อย่างเช่น ข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลยังบริสุทธิ์ หากกระบวนการยุติธรรมยังไม่ถึงที่สุด คุณ bankher จะพบว่าในความเป็นจริง เราตีตราว่าผิดตั้งแต่บุคคลนั้นถูกปรักปรำ/กล่าวหาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการตั้งโต๊ะแถลงข่าว/โชว์ผลงานการจับกุม หรือการปฏิบัติเสมือนว่าถูกตัดสินว่าผิดแล้ว
///การใช้อำนาจอธิปไตยต้องอยู่บนพื้นฐานของการเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ
_______
กิตติบดี

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย "ความหมายของประชาธิปไตย" ตอน ๑

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย ตอน ๑ ศึกษาจากมุมมองของผู้ช่วยศาสตราจารย์จรัล  ดิษฐาอภิชัย  ประธานมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย/อจ.บรรยายรายวิชา...