วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สิทธิมนุษยชน : รัฐธรรมนูญกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน


ประเด็น : รัฐธรรมนูญกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน (ตอนที่ ๑)

------------------------------------------------------


ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน มีสาระสำคัญ กล่าวคือ

(๑) ยึดถือวิถีทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(๒) การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

(๓) การส่งเสริมให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ

(๔) การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ


โดยเนื้อหาในส่วนของการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน นั้น ได้มีการวางหลักการว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง" รวมตลอดถึงความเสมอภาคกันในทางกฎหมาย "ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน"


โดยหมวดว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพนั้น รัฐธรรมนูญได้กำหนดเนื้อหาสาระไว้เป็น ๑๓ เรื่อง (ส่วน) ดังนี้

เรื่องที่ ๑ บททั่วไป

(๑) การใช้อำนาจของรัฐ
๑.๑ การใช้อำนาจขององค์กรของรัฐ ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพเป็นสำคัญ
๑.๒ ในการบริหารราชการแผ่นดิน การใช้อำนาจขององค์กรต่าง ๆ ได้แก่ รัฐสภา (ตรากฎหมาย) คณะรัฐมนตรี (การใช้บังคับกฎหมาย) ศาล (การปรับใช้กฎหมาย) องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (การใช้บังคับกฎหมาย/การปรับใช้กฎหมาย) หรือหน่วยงานของรัฐ (การใช้บังคับกฎหมาย) ต้องกระทำการอยู่บนพื้นฐานของการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

(๒) การอ้างสิทธิมนุษยชน
รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประชาชนสามารถอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญได้ รวมถึงเพื่อการใช้สิทธิทางศาล หรือยกเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ แต่การกล่าวอ้างนั้นต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น (--ต้องเคารพสิทธิของผู้อื่น--)

(๓) ห้ามการจำกัดสิทธิเสรีภาพ
การจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลจะกระทำมิได้ เว้นแต่เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

เรื่องที่ ๒ หลักความเสมอภาค

(๑) ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
- บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน "Equal in Law"
ข้อนี้ ไม่เว้นบุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ พนักงานและลูกจ้างขององค์กรของรัฐ
- ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน (ตรงนี้น่าตีความว่า "บุคคลมีสิทธิเท่าเทียมกัน" -- "Everyone")

(๒) การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
ห้ามเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะบุคคลนั้นมีสถานภาพที่แตกต่างกัน อาทิ
- ถิ่นกำเนิด
- เชื้อชาติ
- ภาษา
- เพศ
- อายุ
- ความพิการ
- สภาพทางกาย
- สุขภาพ
- สถานะของบุคคล
- ฐานะทางเศรษฐกิจ
- ฐานะทางสังคม
- ความเชื่อทางศาสนา
- การศึกษาอบรม
- ความคิดเห็นทางการเมือง
-------------------------------------------

กิตติบดี

ไม่มีความคิดเห็น:

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย "ความหมายของประชาธิปไตย" ตอน ๑

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย ตอน ๑ ศึกษาจากมุมมองของผู้ช่วยศาสตราจารย์จรัล  ดิษฐาอภิชัย  ประธานมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย/อจ.บรรยายรายวิชา...