วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สถาบันการเงิน : หลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลสถาบันการเงินตามบาสเซิล สอง

หลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลสถาบันการเงินตามบาสเซิล สอง

การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ในการกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงิน (ธนาคาร) ที่เป็นหลักการสากลของ Bank for International Settlement (BIS) หรือที่เรียกว่า บาสเซิล สอง Basel II
โดยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้นําแนวทางดังกล่าวบังคับใช้กับการกํากับดูแลธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย และให้มีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทั้งนี้ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการค้าระหว่างประเทศต่อไป ด้วยเหตุนี้ธนาคารพาณิชย์จำต้องปรับวิธีการดำเนินงานให้สอดรับกับหลักเกณฑ์ใหม่ดังกล่าวต่อไป

๑. หลักการของบาสเซิล สอง
หลักเกณฑ์ในการกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินที่ BIS ได้ปรับปรุงขึ้นจากหลักปฏิบัติเดิมที่ใช้มาตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๓๑ ซึ่งจะนํามาใช้กับสถาบันการเงินในประเทศสมาชิกกว่ ๑๓๐ ประเทศ มีวัตถุประสงค์รักษาเสถียรภาพ ความมั่นคงให้สถาบันการเงิน โดยมีการกำหนดให้สถาบันการเงินต้องดํารงเงินกองทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยง มีระเบียบปฏิบัติ ระบบควบคุมภายใน และต้องมีการเปิดเผยข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และยึดตามหลักธรรมาภิบาล

๒. หลักเกณฑ์ในการกำกับดูแล ประกอบด้วย ๓ หลักการ
หลักการที่ ๑ การดำรงเงินกองทนขั้นต่ำ
(Pillar 1: Minimum Capital Requirement)
หลักการที่ ๒ การกํากับดูแลโดยทางการ
(Pillar 2 : Supervisory Review Process)
หลักการที่ ๓ การใช้กลไกตลาดในการกํากับดูแล
(Pillar 3 : Market Discipline)
ในหลักการที่ ๑ มีการกำหนดให้ดำรงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงในสามเรื่อง ได้แก่
๑. ความเสี่ยงด้านเครดิต Credit Risk
๒. ความเสี่ยงด้านตลาด Market Risk และ
๓. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ Operation Risk
ในส่วนความเสี่ยงด้านเครดิตสามารถจำแนกได้ ๔ เรื่อง กล่าวคือ ความน่าจะเป็นในการผิดนัดชำระหนี้ ความสูญเสียที่เกิดจากการผิดนัดชําระหนี้ ยอดหนี้คงค้างที่ผิดนัดชําระ และระยะเวลาครบกําหนดของหนี้ หรือ ในส่วนของความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ที่มีมาตรการป้องกันความเสี่ยงอันเกิดจากบุคคล กระบวนการ ระบบและ ปัจจัยภายนอก

๓. หลักเกณฑ์สู่การนำไปปฏิบัติ
หลักการของบาสเซิล สองจะพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการความเสี่ยงของ สถาบันการเงิน โดยที่สถาบันการเงินเองจะต้องมีระบบการการบริหารความเสี่ยง วิธีการประเมินความเสี่ยง สร างระบบฐานข้อมูลลูกค้า และพัฒนาทักษะความรู้ของบุคลากร ทำให้สถาบันการเงินมีความเข้มแข็งสร้างความเชื่อมั่นขึ้น
กิตติบดี

ไม่มีความคิดเห็น:

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย "ความหมายของประชาธิปไตย" ตอน ๑

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย ตอน ๑ ศึกษาจากมุมมองของผู้ช่วยศาสตราจารย์จรัล  ดิษฐาอภิชัย  ประธานมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย/อจ.บรรยายรายวิชา...