กฎหมายว่าด้วยสถาบันการเงินฯ : ธนาคารแห่งประเทศไทย
ตราสัญลักษณ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
พระสยามเทวาธิราชในเหรียญเสี้ยว อัฐ โสฬส ที่ออกใช้ในรัชกาลที่ ๕ มาดัดแปลง และเพิ่มถุงเงินในพระหัตถ์เบื้องขวา ซึ่งเป็นเครื่องหมายถึงผู้คุมถุงเงินของชาติ อันเป็นหน้าที่หลักของธนาคารแห่งประเทศไทย พระแสงธารพระกรในพระหัตถ์ซ้าย เพื่อคอยปัดป้องผู้ที่มารุกราน แต่ได้เปลี่ยนตอนปลายจากรูปดอกไม้มาเป็นลายดอกบัว
keyword :
Independence Central Bank
ความเป็นอิสระ ธนาคารกลาง
หน้าที่ ความรับผิดชอบ
Independence Central Bank
ความเป็นอิสระ ธนาคารกลาง
หน้าที่ ความรับผิดชอบ
ข้อ ๑. ประวัติความเป็นมาของธนาคารแห่งประเทศไทย
ภายหลังมีการแก้ไขเพิ่มเติมอีก ทั้งนี้ เพื่อให้ “ธปท.” มีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพขึ้น ได้แก่
พ.ศ. ๒๔๘๗ (ฉบับที่ ๒) โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย
พ.ศ. ๒๕๐๔ (ฉบับที่ ๓) เหตุผลเนื่องจากมีการปรับปรุงเรื่องการดำรงเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ จึงแก้ไขกฎหมายให้สอดรับกัน
พ.ศ. ๒๕๕๑ (ฉบับที่ ๔) มีหลักการและเหตุผลดังต่อไปนี้
หลักการ
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ เพื่อ ปรับปรุงวัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ ทุน และเงินสำรองของธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้มี คณะกรรมการในการกำหนดนโยบายและมาตรการที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่แต่ละด้าน รวมทั้งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารงาน และกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และการกำกับดูแลธนาคารแห่งประเทศไทยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
เหตุผล
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงวัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ และโครงสร้างของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินภารกิจอันพึงเป็นงานของธนาคารกลางในการดำรงไว้ ซึ่งเสถียรภาพทางการเงิน เสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินและระบบการชำระเงิน ตลอดจน สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ประกอบกับสมควรให้มีคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เฉพาะที่จำเป็นในแต่ละด้าน ได้แก่ คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย คณะกรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน และคณะกรรมการระบบการชำระเงิน เพื่อให้การดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทยในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินและระบบสถาบันการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทันต่อเหตุการณ์และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจทาง การเงินของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการกิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย และการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของธนาคาร
รวมทั้งกำหนดการป้องกันการมีส่วนได้เสียของผู้ว่าการ กรรมการ พนักงานและลูกจ้างของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้การบริหารงานของธนาคารแห่งประเทศไทยมีความโปร่งใส นอกจากนั้นสมควรกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทยมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเงินและระบบสถาบันการเงินที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างรุนแรงต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและระบบการเงินส่วนรวม กำหนดประเภทสินทรัพย์และเครื่องมือในการดำเนินนโยบายเพื่อการดูแลเสถียรภาพทางการเงินและระบบสถาบันการเงิน และการบริหารจัดการสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่มประเภทเงินสำรองและมีระบบการจัดทำบัญชี การตรวจสอบ และการรายงานที่เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ และคล่องตัว
ข้อ ๒. ธนาคารกลางคืออะไร
ซึ่งแต่ละประเทศจะมีธนาคารกลาง แต่อาจจะแตกต่างกันในเรื่องของบทบาทหน้าที่ และภารกิจว่าจะมุ่งเน้นในเรื่องใด
ข้อ ๓. แสดงว่า “ธปท.” เป็นหน่วยงานราชการใช่หรือไม่
ตามกฎหมายให้ ”ธปท.” มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น และให้มีสภาพเป็นนิติบุคคล
หมายความว่า “ธปท.” มีอำนาจในการสร้างวัฒนธรรมและรูปแบบการบริหารจัดการเป็นการเฉพาะองค์กร
ข้อ ๔. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมดูแลกิจการของ “ธปท.” ใช่หรือไม่
ตามกฎหมายรัฐมนตรีฯ เป็นแต่เพียงผู้รักษาการตามกฎหมายและมีอำนาจออกกฎกระทรวงและประกาศตามกฎหมาย หรือกล่าวโดยสรุปได้ว่า รัฐมนตรีฯ เป็นเพียงผู้กำกับนโยบายมิใช่ผู้ที่มีอำนาจในการควบคุมดูแลกิจการ
สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวได้แก่ คณะกรรมการธปท.
คณะกรรมการธปท. ประกอบด้วย
(๑) ประธานกรรมการคณะกรรมการธปท.
(๒) ผู้ว่าการธปท. เป็นรองประธานโดยตำแหน่ง
(๓) รองผู้ว่าการธปท. จำนวน ๓ คน
(๔) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(๕) ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง จำนวน ๕ คน
(๗) เลขานุการ
รวมทั้งสิ้น ๑๓ คน เป็นคณะกรรมการธปท.
ข้อ ๕. หมายความว่า คณะกรรมการธปท. ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการอำนวยการใช่หรือไม่
--ใช่—
ข้อ ๖. การบริหารจัดการและการดำเนินการของ “ธปท.”
กฎหมายให้อำนาจแก่ “ผู้ว่าการธปท.” เป็นผู้รับผิดชอบกิจการทั้งหมดของ “ธปท.”
กิจการทั้งหมด ได้แก่ กระทำกิจการต่าง ๆ เพื่อ
§ รักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ
§ รักษาเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน
§ รักษาเสถียรภาพของระบบการชำระเงิน
นอกจากนี้ กฎหมายให้รวมถึงการดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) การออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร
(๒) การกำหนดและดำเนินนโยบายการเงิน
(๓) การบริหารจัดการสินทรัพย์ของ “ธปท.”
(๔)การเป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล
(๕)การเป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน
(๖)การจัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงิน
(๗) การกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(๘) การบริหารจัดการตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา
(๙) การปฏิบัติตามตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
(๑๐) การจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์
นอกจากนี้ กฎหมายให้รวมถึงการดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) การออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร
(๒) การกำหนดและดำเนินนโยบายการเงิน
(๓) การบริหารจัดการสินทรัพย์ของ “ธปท.”
(๔)การเป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล
(๕)การเป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน
(๖)การจัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงิน
(๗) การกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(๘) การบริหารจัดการตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา
(๙) การปฏิบัติตามตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
(๑๐) การจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์
ข้อ ๗. เมื่อพิจารณาจากข้อ ๖. แสดงว่า ผู้ว่าการธปท. มีภารกิจสำคัญมากและกว้างขวาง
--ใช่— แต่กฎหมายมองว่า เรื่องต่าง ๆ ดังกล่าวต้องให้ “ธปท.” ดูแลอย่างองค์รวม เพราะแต่ละเรื่องล้วนมีความสัมพันธ์กัน
ข้อ ๘. แล้วมีตัวช่วยหรือไม่
ตามกฎหมายกำหนดให้ ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของ “ธปท.” มีคณะกรรมการชุดต่าง ๆ (นอกจากชุดคณะกรรมการธปท.) อีก ๓ ชุดได้แก่
(๑) คณะกรรมการนโยบายการเงิน เพื่อกำหนดและติดตามการดำเนินการตามนโยบายการเงินของประเทศ
- กำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินของประเทศ โดยคำนึงถึงแนวนโยบายแห่งรัฐสภาวะทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ
- กำหนดนโยบายการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา
- กำหนดมาตรการตามความจำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
- ติดตามการดำเนินมาตรการของ “ธปท.” ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
หลักสากล ในการเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบายการเงิน มีหลัก ๔ ประการ
๑. ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน
๒. ความเป็นอิสระของธนาคารกลางในการดำเนินนโยบายทางการเงิน
๓. ความโปร่งใสในการดำเนินนโยบายทางการเงิน
๔. ความรับผิดชอบที่ชัดเจนในเรื่องการตัดสินใจและการดำเนินนโยบายการเงิน
(๒) คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน เพื่อกำหนดและติดตามการดำเนินการตามนโยบายเกี่ยวกับการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
- กำหนดนโยบายเกี่ยวกับสถาบันการเงิน
- กำหนดนโยบายการเปิดและปิดสาขาสถาบันการเงิน
- กำหนดอัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆ ที่สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
- เสนอความเห็นและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันการเงินรายใหม่
(๓) คณะกรรมการระบบการชำระเงิน เพื่อกำหนดและติดตามการดำเนินการตามนโยบายเกี่ยวกับระบบการชำระเงิน และระบบการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน
- วางนโยบายเกี่ยวกับระบบการชำระเงินที่ธปท.กำกับดูแล และระบบการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงินเพื่อให้เกิดความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และกำกับดูแลเรื่องการจัดตั้งระบบการชำระเงิน
ข้อ ๙. คำว่า Don’t stay too close; don’t stay too far away ในทางการเศรษฐกิจคืออะไร
คำกล่าวนี้เป็นบทบาทและท่าที หรือความสัมพันธ์ระหว่างธปท.กับรัฐบาล
Don’t stay too close หมายถึง “ธปท.” ต้องมีความเป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง
Don’t stay too far away หมายถึง “ธปท.” เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทางเศรษฐกิจและระบบการเงินของรัฐบาล
ซึ่งในฐานะที่เป็นธนาคารกลาง ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องทำงานให้มีความโปร่งใส และดำเนินนโยบายการเงินอย่างมีหลักเกณฑ์ ไม่เอนเอียงไปตามกระแสหรือแรงกดดันทางการเมืองหรือเหตุผลอื่นๆ ที่มิใช่เป้าหมายที่เป็นที่ยอมรับของนโยบายการเงิน
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ว่าการธปท.กับรัฐบาลนั้น กฎหมายได้กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ที่จะกำกับดูแลโดยทั่วไปในกิจการของ “ธปท.”
และเพื่อประโยชน์ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การเงิน หรือระบบสถาบันการเงิน รัฐมนตรีและผู้ว่าการฯ อาจจัดให้มีการหารือร่วมกันเป็นครั้งคราวตามความเหมาะสมได้
ข้อ ๑๐. ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
--ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในด้านเศรษฐศาสตร์หรือด้านการเงินการธนาคาร—
ภารกิจ ผู้ว่าการฯ รับผิดชอบการบริหารจัดการกิจการและการดำเนินงานของ “ธปท.” ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ที่มา พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
**หลักการทำงาน ผู้ว่าการฯ ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นอิสระในการบริหารจัดการกิจการของ “ธปท.”
คุณสมบัติ ผู้ว่าการฯ ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย และไม่มีคุณลักษณะที่ไม่น่าเชื่อถือ ๙ ประการ
(๑) อายุเกินกว่า ๖๐ ปี
(๒) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๓) เป็นบุคคลล้มละลาย หรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (ทุจริต)
(๔)เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือลหุโทษ
(๕)เป็นพนักงานหรือลูกจ้าง
(๖)เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(๗) เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(๘) เป็นกรรมการหรือดำรงตำแหน่งใดในสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เว้นแต่เป็นการดำรงตำแหน่งที่กฎหมายบัญญัติไว้เฉพาะ
(๙) เป็นกรรมการ หรือ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการจัดการหรือมีส่วนได้เสียอย่างมีนัยสำคัญในนิติบุคคลซึ่งมีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับกิจการของ “ธปท.”
ข้อ ๑๑. วาระการดำรงตำแหน่งของผู้ว่าการฯ
ตามกฎหมายกำหนดให้ผู้ว่าการฯ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๕ ปี นับแต่วันที่ทรงแต่งตั้ง และอาจได้รับแต่งตั้งได้อีกไม่เกิน ๑ วาระ
กิตติบดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น