สรุป สัปดาห์ที่ ๓ /ภาคปลาย ปี ๒๕๕๒
การเรียนรู้แบ่งเป็น ๓ ช่วง
ช่วงที่หนึ่ง (๕๐ นาที)
- อธิบายให้ทราบว่า พัฒนาการของสิทธิมนุษยชนมีทั้งหมด ๓ ขั้น ได้แก่
(๑) การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน คือ การปลูกฝังให้ประชาชนทุกคนมีกระบวนทัศน์เรื่องสิทธิมนุษยชน
/ปลูกฝังให้ ศรัทธา ในหลักการแห่งสิทธิมนุษยชนที่ว่า
"สิทธิมนุษยชนเป็นศักดิ์ศรีประจำตัวของมนุษย์ทุกคน"
"สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่เสมอกัน"
"สิทธิมนุษยชนไม่สามารถโอนให้แก่กันได้"
"สิทธิมนุษยชนเป็นมรดกของมวลมนุษยชาติ (มนุษย์ทุกคนเป็นครอบครัวเดียวกัน)"
บนหลักการ "มนุษย์มีศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์เหมือนกัน บนพื้นฐานความแตกต่าง"
ปลูกฝังให้ รักและเชื่อมั่น ในคุณค่าของมนุษย์ที่ว่า
"มนุษย์มีอิสรภาพตั้งแต่กำเนิด"
"มนุษย์มีความเท่าเทียมกันในสิทธิมนุษยชน"
"มนุษย์มีจิตวิญาณเป็นพี่เป็นน้องกัน"
(๒) คุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ระยะแรก
กล่าวคือ สิทธิมนุษยชนถือเป็นพันธกิจ หรือธรรมะของผู้ปกครองประเทศที่มีต่อพลเมืองของตน
ระยะต่อมา
กล่าวคือ สิทธิมนุษยชนถือเป็นพันธกิจ หรือธรรมะของเพื่อนมนุษย์
(๓) พัฒนาสิทธิมนุษยชน
กล่าวคือ การเติมเต็มคุณค่าความเป็นมนุษย์เพื่อส่งเสริม คุ้มครอง และพัฒนาชีวิต เสรีภาพ และความสุขให้มนุษย์ให้มีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี มิใช่เพื่อให้มีชีวิตรอดอยู่เท่านั้น
หมายเหตุ พัฒนาการข้างต้นเป็นลำดับการจาก ๑ ไปสู่ ๒ และ ๓ โดยถือเอา ๑ เป็นหัวใจสำคัญหรือฐานรากที่ทำให้สิทธิมนุษยชนในสังคมมีความยั่งยืน
---------------------------
ช่วงที่สอง (๓๐ นาที)
- เปิดสื่อวิดีทัศน์ เพื่อให้เห็นถึงที่มาและพัฒนาการของสิทธิมนุษยชน
สรุป
สิทธิมนุษยชนมีแหล่งกำเนิดจาก "ธรรมชาติของมนุษย์" (ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ / Natural Law School จนนำไปสู่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และสิทธิที่เป็นรูปธรรมต่าง ๆ)
"หากปราศจากปรัชญา (ความฉลาด + ความเห็นอกเห็นใจ) ไม่มีศาสนา, หากปราศจากศาสนา ไม่มีศีลธรรม, หากปราศจากศีลธรรม ไม่มีกฎหมาย"
เพราะฉะนั้น สิทธิมนุษยชนมีแหล่งที่มาจากปรัชญาของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวไว้แต่ต้นว่า
"สิทธิมนุษยชนต้องอาศัยการเรียนรู้ มิใช่กระบวนการสอน"
"สิทธิมนุษยชนไม่ใช่กฎหมาย"
"สิทธิมนุษยชนมิใช่พรหรือของขวัญจากผู้ปกครองประเทศ"
"สิทธิมนุษยชนไม่ใช่ของประเทศตะวันตก"
"สิทธิมนุษยชนไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทย"
"สิทธิมนุษยชนไม่ต้องรอให้ประเทศรวยก่อนถึงจะเรียกหาสิทธิเสรีภาพได้"
"สิทธิมนุษยชนไม่ใช่เครื่องต่อรองหรือหวงกันของผู้ปกครองประเทศ"
แต่ทว่า
สิทธิมนุษยชน เป็น...................
มาตรทางศีลธรรมที่บังคับ/กำกับการใช้อำนาจของรัฐ การใช้สิทธิของปัจเจกชน กฎหมาย แต่ไม่ถึงขนาดบังคับหรือกำกับให้คิด เพราะถ้าถึงขนาดนั้นจะเป็นโลกุตรธรรม (มโนธรรม)
ควบคุมและกำกับมิให้การใช้อำนาจของรัฐ การใช้สิทธิของปัจเจกชน และกฎหมาย ไปลิดรอนสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น
สิทธิมนุษยชน เป็น ..................
ชีวิต เสรีภาพ และความสุขของมนุษย์ เพราะฉะนั้น มนุษย์มีเสรีภาพที่จะคิดได้อย่างอิสรชน ตราบเท่าทียังไม่ลงมือกระทำ (ใช้สิทธิ/อำนาจ) ไปก้าวล่วงในชีวิต เสรีภาพ และความสุขของมนุษย์คนอื่น
---------------------------
ช่วงที่สาม (๒ ชั่วโมง)
- ชมภาพยนตร์เรื่อง Shawshank Redemption ชื่อภาษาไทยดีมาก ๆ ว่า "มิตรภาพ ความหวัง ความรุนแรง"
-ใบกิจกรรม-
Ss. เป็นชื่อเรือนจำ ตัวละคร เรด (คนเล่าเรื่อง), ดูเฟรน, ผู้บัญชาการเรือนจำ,ผู้คุม และบรรดาเพื่อนนักโทษ
เนื้อเรื่องและบทตัวละคร สามารถสะท้อนในแง่สิทธิมนุษยชนได้ดังนี้
-เรด นักโทษชรา ผู้ที่ไม่กล้าแม้แต่จะคิด หรือมีความหวัง ซึ่งก็เหมือน ๆ กับนักโทษทั่ว ๆ ไป และมีนักโทษรายหนึ่งต้องฆ่าตัวตายเมื่อได้รับการทัณฑ์บน เพราะความหดหู่ และความกลัว
-ดูเฟรน นักโทษ ผู้ที่ไม่ยอมให้คุกมาขังอิสรภาพทางความคิด และความหวัง
เหมือนดั่งว่า "คุกขังเขาได้ แต่หัวใจอย่าปรารถนา"
- ผู้บัญชาการเรือนจำ/ผู้คุม --ผู้ใช้อำนาจที่ปราศจากธรรมะ
บทสรุปจากภาพยนตร์ นศ.ได้เรียนรู้อะไร ? -ดูหนัง ดูละคร ย้อนดูตนเองและสังคม
---------------------
กิตติบดี
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย "ความหมายของประชาธิปไตย" ตอน ๑
กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย ตอน ๑ ศึกษาจากมุมมองของผู้ช่วยศาสตราจารย์จรัล ดิษฐาอภิชัย ประธานมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย/อจ.บรรยายรายวิชา...
-
โรงเรียนสอนกฎหมายภายใต้บริบทของสังคมไทย หากจะกล่าวถึงสัญลักษณ์ในแวดวงกฎหมายหรือคนในกระบวนการยุติธรรมคงหนีไม่พ้นรูปตราชู หรือเทพีถือตราชู เพ...
-
การแบ่งประเภทกฎหมาย มีดังนี้ (๑) พิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี (๒) พิจารณาโดยพิจารณาจากลักษณะแห่งการใช้กฎหมาย ๑. การแบ่งแยกประเภทโดย...
-
สรุป สัปดาห์ที่ ๓ /ภาคปลาย ปี ๒๕๕๒ การเรียนรู้แบ่งเป็น ๓ ช่วง ช่วงที่หนึ่ง (๕๐ นาที) - อธิบายให้ทราบว่า พัฒนาการของสิทธิมนุษยชนมีทั้งหมด...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น