วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สรุปการบรรยายละเมิด (๒) เรื่อง กฎหมายละเมิดไทย

กฎหมายละเมิดไทย 

ผมขอแยกเป็น ๒ ช่วงด้วยกัน ได้แแก่
ช่วงที่ ๑ ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ช่วงที่ ๒ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
 
(๑) ช่วงแรก
สมัยสุโขทัยและอยุธยา กฎหมายไทยได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ (มอญ) ซึ่งมีการกำหนดให้รัฐผู้ปกครองแผ่นดินมีหน้าที่ลงโทษอาญาแก่ผู้กระทำผิด และเช่นเดียวกันที่รัฐมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าทำขวัญให้แก่ผู้เสียหาย  และในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ มีกฎหมายลักษณะโจร มีหลักห้ามเจ้าทุกข์นำโจรมาลงโทษเอง  แสดงว่า แนวคิดทางนิติศาสตร์ในยุคดังกล่าว ห้ามแก้แค้นกันเอง ต้องให้รัฐเข้ามาจัดการเรื่องดังกล่าว โดยกำหนดให้รัฐมีอำนาจเรียกค่าพินัย (ค่าปรับ) จากผู้กระทำละเมิด โดยต้องส่งให้รัฐครึ่งหนึ่งและผู้เสียหายส่วนหนึ่ง ที่ต้องจ่ายให้รัฐเพราะถือว่าเป็นค่าอำนวยความยุติธรรม 

(๒) ช่วงสอง
ภายหลังรับอิทธิพลของกฎหมายตะวันตก และจัดทำร่างประมวลกฎหมาย (Code) ซึ่งถือว่าให้ความสำคัญแก่สิทธิของบุคคล (สิทธิที่เท่าเทียมกัน สิทธิในการถือครองกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์สิน)

การจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
พ.ศ.​๒๔๖๔ ร่างบรรพ ๑-๒ 
พ.ศ.​๒๔๖๖ บรรพ ๑-๒ ประกาศใช้
พ.ศ.​๒๔๖๗ บรรพ ๓ ประกาศใช้
ต่อมา ภายหลังจากที่ได้ตั้งคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายบรรพ ๑-๒  และได้มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการอีกครั้งเมื่อ ๑๑ พ.ย. ๒๔๖๘   โดยส่วนกฎหมายละเมิดนั้น ได้เริ่มที่มาตรา ๔๒๐ (ปัจจุบัน)
ส่วนบรรพ ๓ ได้มีการปรับปรุง  และได้มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑

พ.ศ.​๒๔๗๕ ประกาศใช้บรรพ ๕

พ.ศ.​๒๔๗๖ ประกาศใช้บรรพ ๖

พ.ศ.​๒๕๓๕ บรรพ ๑ และ ๕ ได้รับการปรับปรุงแก้ไข 

พ.ศ.​๒๕๕๑ บรรพ ๕ ได้รับการปรับปรุงแก้ไข 


จะเห็นได้ว่า หลักกฎหมายละเมิดได้เข้ามาสู่แนวคิดเรื่องหนี้ตั้งแต่เริ่มต้น  แต่ในส่วนการสอนกฎหมายละเมิดในช่วงแรกได้นำเอาอิทธิพลของระบบจารีตประเพณีมาสอน โดยกรมหลวงราชบุรีฯ โดยท่านเรียกละเมิดว่า "การประทุษร้ายส่วนแพ่ง" (ดูจากคู่มือกฎหมาย lecture ของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์) โดยบรรยายแยกเป็นเรื่อง ดังนี้

(๑) มูลแห่งคดีประทุษร้ายส่วนแพ่ง

(๒) การบุกรุก

(๓) ประมาทเลินเล่อ  (negligence)

(๔) อุบัติเหตุโดยแท้ (accident)

(๕) หน้าที่ความระมัดระวัง (duty of care)

(๖) ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล (causation)

(๗) การสร้างความเดือดร้อนรำคาญ (nuisance)

 อาจเป็นด้วยเหตุนี้ กลิ่นอายของคำพิพากษา/การปรับใช้กฎหมายละเมิดรับอิทธิพลจากศาลต่างประเทศในส่วนจารีตประเพณีนำมาอธิบายขยายความตัวบทกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น หลักความประมาทเลินเล่อ หลักความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ทฤษฎีผลโดยตรง ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม 


(๓) ร่างความรับผิดเพื่อละเมิด (มาตรา ๔๒๐-๔๓๗) 

มาตรา ๔๒๐  มีที่มาจาก BGB (ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน) มาตรา ๘๒๓

มาตรา ๔๒๑ มีที่มาจาก BGB มาตรา ๒๒๖

มาตรา ๔๒๒  มีที่มาจาก BGB มาตรา ๘๒๓ วรรคสอง

มาตรา ๔๒๓  มีที่มาจาก BGB มาตรา ๘๒๔ เป็นเรื่องหมิ่นประมาทในทางแพ่ง

มาตรา ๔๒๔  มีที่มาจากกฎหมายสวิสเซอร์แลนด์ 

มาตรา ๔๒๕  มีที่มาจาก BGB มาตรา ๘๓๑ และกฎหมายญี่ปุ่น มาตรา ๗๑๕

มาตรา ๔๒๖  มีที่มาจากกฎหมายสวิสเซอแลนด์ มาตรา ๕๕ วรรคสอง และกฎหมายญี่ปุ่น มาตรา ๗๑๕ วรรคสาม

มาตรา ๔๒๗  ร่างจากเราเอง

มาตรา ๔๒๘   มีที่มาจากกฎหมายญี่ปุ่น

มาตรา ๔๒๙   มีที่มาจาก BGB มาตรา ๘๒๗-๘๒๙ กฎหมายฝรั่งเศส มาตรา ๑๓๑๐ และกฎหมายญี่ปุ่น มาตรา ๗๑๒-๗๑๓

มาตรา ๔๓๐  มีที่มาจาก BGB มาตรา ๘๓๒ และกฎหมายญี่ปุ่น มาตรา ๗๑๔

มาตรา ๔๓๒   มีที่มาจาก BGB มาตรา ๘๓๐   กฎหมายญี่ปุ่น มาตรา ๗๑๙ และกฎหมายสวิสเซอแลนด์ มาตรา ๕๐

มาตรา ๔๓๓ มีที่มาจาก BGB มาตรา ๘๓๓ และกฎหมายสวิสเซอร์แลนด์ มาตรา ๕๖

มาตรา ๔๓๔  มีที่มาจาก BGB มาตรา ๘๒๓-๘๒๖ และมาตรา ๘๔๐ วรรคสาม กฎหมายญี่ปุ่น มาตรา ๗๑๗และกฎหมายฝรั่งเศส มาตรา ๑๓๘๖

มาตรา ๔๓๕   มีที่มากฎหมายสวิสเซอร์แลนด์ มาตรา ๕๙

มาตรา ๔๓๖  มีที่มากฎหมายบราซิล

มาตรา ๔๓๗  มีที่มาจากกฎหมายฝรั่งเศส มาตรา ๑๓๘๔ และกฎหมายบราซิล มาตรา ๑๕๒๗


(๔) พื้นฐานความรับผิดเพื่อละเมิด 

ความรับผิดเพื่อละเมิด สามารถแบ่งได้เป็น ๓ กลุ่มได้แก่


กลุ่มที่ ๑ ละเมิดที่เกิดจากการกระทำของตนเอง (ละเมิดโดยแท้-Fault Liability) ประกอบด้วย

มาตรา ๔๒๐ ละเมิดโดยแท้

มาตรา ๔๒๑ การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นบทขยายความของมาตรา ๔๒๐ (โดยผิดกฎหมาย)

มาตรา ๔๒๒  บทสันนิษฐานความผิด เป็นบทขยายความมาตรา ๔๒๐

มาตรา ๔๒๓ ละเมิดโดยการกล่าว/ไขข่าวเท็จ

มาตรา ๔๒๘ ผู้รับจ้างกระทำละเมิด

มาตรา ๔๓๒ ความรับผิดกรณีผู้ทำละเมิดหลายคน


กลุ่มที่ ๒  ละเมิดที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่น (Vicarious Liability) ประกอบด้วย

มาตรา ๔๒๕ ละเมิดที่เกิดจากการกระทำของลูกจ้าง

มาตรา ๔๒๖ สิทธิไล่เบี้ย

มาตรา ๔๒๗ ละเมิดที่เกิดจากตัวแทน

มาตรา ๔๒๙ ละเมิดที่เกิดจากผู้เยาว์หรือคนวิกลจริต

มาตรา ๔๓๐ ละเมิดที่เกิดจากผู้อยู่ในความดูแล

มาตรา ๔๓๑ สิทธิไล่เบี้ย


กลุ่มที่ ๓ ความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์สิน (Presumption of fault /strict liability)

มาตรา ๔๓๓ ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์

มาตรา ๔๓๔ ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างชำรุด บกพร่อง

มาตรา ๔๓๕ มาตรการป้องกัน

มาตรา ๔๓๖ ความเสียหายอันเกิดจากสิ่งของตกหล่น

มาตรา ๔๓๗ วรรคหนึ่ง ความเสียหายอันเกิดจากยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล

วรรคสอง ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากทรัพย์อันตราย


-------------------------------------------
กิตติบดี


ไม่มีความคิดเห็น:

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย "ความหมายของประชาธิปไตย" ตอน ๑

กฎหมาย การเมืองและสังคมไทย ตอน ๑ ศึกษาจากมุมมองของผู้ช่วยศาสตราจารย์จรัล  ดิษฐาอภิชัย  ประธานมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย/อจ.บรรยายรายวิชา...