(๑) พัฒนาการของสิทธิมนุษยชน
- สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์
- สิทธิมนุษยชนคือมโนธรรมที่คอยกำกับให้มนุษย์ประพฤติปฏิบัติอยู่ในครรลองครองธรรม
- คำกล่าวที่ว่า "ที่ใดมีสังคม ที่นั้นมีกฎ,ที่ใดมีสังคมที่นั้น มีผู้นำ" หมายความว่า เมื่อมนุษย์รวมอยู่กันเป็นชุมชน สังคม จำต้องมีผู้ปกครองทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากร รักษาความสงบเรียบร้อย และขจัดข้อพิพาทของพลเมือง โดยอาศัยกฎหมายเป็นเครื่องมือ ดังนั้น หากชุมชน/สังคมใดผู้นำใช้อำนาจโดยปราศจากมโนธรรม (ศีลธรรม) พลเมืองจะประสบกับความเดือดร้อน และปราศจากความมั่นคงในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน และหากประชาชนทนไม่ไหวก็จะรวมกลุ่มกันเรียกร้อง แสวงหาทางออกเพื่อปลดแอกจากความอยุติธรรม และโดยส่วนใหญ่แล้วจะต้องเอาชีวิต ร่างกายแลกมาพร้อมกับคำว่า "อิสรภาพ"
(๒) อิสรภาพ หรือเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ๔ ประการ ได้แก่
๒.๑ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น freedom of speech
๒.๒ เสรีภาพในการความเชื่อ freedom of belief
๒.๓ เสรีภาพที่พ้นจากความหวาดกลัว freedom from fear
๒.๔ เสรีภาพในสิ่งพึงปรารถนา freedom from want
(๓) เมื่อมนุษย์ถูกหยามเกียรติ์/เบียดเบียนบีฑา/กดขี่ข่มเหง
มนุษย์---เริ่มเรียกร้องและเพรียกหาความเป็นธรรม (สิทธิมนุษยชนระยะที่ ๑)
มนุษย์---เรียนรู้และแสวงหาความสุขจากสิทธิมนุษยชนของตน (สิทธิมนุษยชนระยะที่ ๒)
มนุษย์---ยึดมั่นในหลักการแห่งสิทธิมนุษยชนและเคารพสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น (สิทธิมนุษยชนระยะที่ ๓)
(๔) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน : มาตรฐานความสำเร็จร่วมกันแห่งประชาชาติ
มีทั้งหมด ๓๐ ข้อบท แบ่งได้เป็น ๔ ส่วนดังนี้
ส่วนที่หนึ่ง เจตนารมณ์และหลักการ
ปรากฎตามคำปรารภ (Preamble) และข้อ ๑-๒
ส่วนที่สอง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
เป็นสิทธิที่จำเป็นและสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ --(สิทธิที่มีมาแต่ดั่งเดิม)
ปรากฎตามข้อ ๓-๒๑
ส่วนที่สาม สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
เป็นสิทธิที่ทำให้มนุษย์สะดวกสบายในการดำรงชีวิต --(สิทธิที่มีมาแต่ภายหลัง)
ปรากฎตามข้อ ๒๒-๒๗
ส่วนที่สี่ ข้อบังคับและการบังคับใช้
ปรากฎตามข้อ ๒๘-๓๐
๔.๑ ส่วนที่หนึ่ง
เจตนารมณ์ ประกอบด้วย
๑. จงศรัทธาต่อสิทธิมนุษยชนว่าจะเป็นรากฐานแห่งเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพ(freedom, justice and peace)
๒. สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่มีมาแต่กำเนิด (เกียรติศักดิ์ประจำตัว) เสมอภาค และโอนให้แก่กันมิได้
๓. รัฐต้องมีมาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
๔. การบริหารราชการแผ่นดิน การบัญญัติกฎหมาย และการใช้กฎหมายต้องอยู่ภายใต้หลักนิติธรรม (กฎหมายธรรมชาติ)
๕. รัฐที่กระทำต่อพลเมืองขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนได้ชื่อว่าเป็นรัฐทรราช (เลว)
๖. ขอบเขตของคำว่า "รัฐ" ขยายตัวออกไปสู่ทุกองคาพยพของสังคม เริ่มจากตนเอง (ปัจเจกชน) ครอบครัว คนใกล้ชิด หมู่บ้าน ชุมชน สังคม ประเทศ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน หน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่ทั้งภาครัฐและเอกชน กล่าวคือ ทุกองคาพยพของสังคมต้องอยู่ภายใต้บริบทแห่งสิทธิมนุษยชน
หลักการแห่งสิทธิมนุษยชน
(๑) หลักการความเชื่อมั่นต่อคุณค่าความเป็นมนุษย์
มนุษย์ทุกคนมีอิสรภาพและเสมอภาคเท่าเทียมกัน
ข้อ 1
มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ
มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ
Article 1.
All human beings are born free and equal in dignity and rights.They are endowed with reason and conscience and should act towards one another in a spirit of brotherhood.
All human beings are born free and equal in dignity and rights.They are endowed with reason and conscience and should act towards one another in a spirit of brotherhood.
(๒) หลักการห้ามเลือกปฏิบัติต่อมนุษย์
Article 2.
Everyone is entitled to all the rights and freedoms set forth in this Declaration, without distinction of any kind, such as race, colour, sex, language, religion, political or other opinion, national or social origin, property, birth or other status. Furthermore, no distinction shall be made on the basis of the political, jurisdictional or international status of the country or territory to which a person belongs, whether it be independent, trust, non-self-governing or under any other limitation of sovereignty.
Everyone is entitled to all the rights and freedoms set forth in this Declaration, without distinction of any kind, such as race, colour, sex, language, religion, political or other opinion, national or social origin, property, birth or other status. Furthermore, no distinction shall be made on the basis of the political, jurisdictional or international status of the country or territory to which a person belongs, whether it be independent, trust, non-self-governing or under any other limitation of sovereignty.
สรุป ในบทเรียนครั้งที่ ๑และ๒ ขอให้ทุกท่าน ศรัทธาต่อสิทธิมนุษยชน และให้สิทธิมนุษยชนหยั่งลึกในทัศนคติ เรื่องคุณค่าของมนุษย์และความเสมอภาคเท่าเทียมกันของคน
--------------------------------------
ศรัทธาและเชื่อมั่น
กิตติบดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น