กระบวนการยุติธรรมกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
---------------------------------------------
เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒
สถานที่ ห้องแก่นนคร โรงแรมเจริญธานี จ.ขอนแก่น
จัดโดย สถาบันพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม สำนักกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
---------------------------------------------
เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒
สถานที่ ห้องแก่นนคร โรงแรมเจริญธานี จ.ขอนแก่น
จัดโดย สถาบันพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม สำนักกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สำนักกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ได้จัดอบรมในหลักสูตรกระบวนการยุติธรรม เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการบริหารงานยุติธรรม โดยผมได้มีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้ารับการอบรม ในหัวข้อ “กระบวนการยุติธรรมกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน”
เปิดประเด็น
(๑) กระบวนการยุติธรรมควรให้การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนใช่หรือไม่ (OUGHT)
--ใช่--
(๒) กระบวนการยุติธรรมให้การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนหรือไม่ (IS)
--ไม่แน่ใจ--
เหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น เพราะ ความคาดหวังต่อกระบวนการยุติธรรม กับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นไม่สอดคล้องกัน
หลักการพื้นฐาน
(๑) กระบวนการยุติธรรม คืออะไร
กระบวนการยุติธรรม หมายความว่า ขั้นตอนหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายที่ให้ความเป็นธรรมต่อประชาชน
กระบวนการยุติธรรม สามารถแบ่งได้หลายทาง ได้แก่ กระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง กระบวนการยุติธรรมทางอาญา กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง กระบวนการยุติธรรมทางแรงงาน เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงเพียงทางอาญาและทางแพ่งเท่านั้น
· กระบวนการยุติธรรมทางอาญา หมายถึง ขั้นตอนหรือวิธีการปฏิบัติในคดีทางอาญา โดยกระบวนการยุติธรรมทางอาญานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำผู้ที่กระทำความผิดมาลงโทษตามโทษานุโทษที่บัญญัติไว้ตามกฎหมาย (มาตรา ๒ บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้) ซึ่งมีบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องได้แก่
ผู้เสียหาย (โจทก์) – ผู้ถูกกล่าวหา (จำเลย)
ผู้เสียหาย (โจทก์) – ผู้ถูกกล่าวหา (จำเลย)
ตำรวจ (เมื่อเกิดการกระทำที่เป็นความผิดทางกฎหมายอาญา)
อัยการ
ศาล
กรมราชทัณฑ์ (สถานพินิจและคุ้มครองเด็ก)
· กระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง หมายถึง ขั้นตอนหรือวิธีการปฏิบัติในคดีทางแพ่ง โดยกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งนี้ มีวัตถุประสงค์ให้ผู้กระทำผิด (ผิดนัด ผิดสัญญา – ละเมิด) ที่เรียกว่าลูกหนี้ ต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ซึ่งบุคลากรในกระบวนการนี้ประกอบด้วย
ผู้เสียหาย/เจ้าหนี้ (โจทก์)-ลูกหนี้ (จำเลย)
ศาล
กรมบังคับคดี
(๒) กระบวนการยุติธรรมกับหลักการขั้นพื้นฐาน
หลักการที่ ๑ กระบวนการยุติธรรมต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรม (Rule of Law)
หลักการที่ ๒ กระบวนการยุติธรรมต้องดำเนินตามกระบวนการทางกฎหมาย (Due Process of Law)
หลักการที่ ๓ กระบวนการยุติธรรมต้องยึดมั่นในธรรมาภิบาล (Good Governance)
หลักการที่ ๔ กระบวนการยุติธรรมต้องโปร่งใส (Transparency)
หลักการที่ ๕ กระบวนการยุติธรรมต้องตรวจสอบได้ (Accountability)
หลักการที่ ๖ กระบวนการยุติธรรมต้องยึดมั่นในความถูกต้องและชอบธรรม (Integrity)
(๓) ปัญหาของกระบวนการยุติธรรม ?
ปัญหาของกระบวนการยุติธรรม ได้ถูกหยิบยกพูดกันหลายเวที ในรอบหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา จนนำไปสู่วลีของคำว่า “การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม” สรุปได้ความว่า
๑. กระบวนการยุติธรรมขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย
๒. กระบวนการยุติธรรมไม่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๓. กระบวนการยุติธรรมบกพร่องต่อหลักการขั้นพื้นฐานข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อรวมกัน
ฉะนั้น จึงมีความจำเป็นต้องจำแนกตัวกระบวนการยุติธรรม ออกเป็น “กระบวนการ/ขั้นตอน” และ “บุคลากรในกระบวนการ”
๑. กระบวนการ/ขั้นตอนขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย
๒. กระบวนการ/ขั้นตอนไม่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๓. กระบวนการ/ขั้นตอนบกพร่องต่อหลักการขั้นพื้นฐานข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อรวมกัน
และเช่นกัน
๑. บุคลากรขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย
๒. บุคลากรไม่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๓. บุคลากรบกพร่องต่อหลักการขั้นพื้นฐานข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อรวมกัน
๒. บุคลากรไม่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๓. บุคลากรบกพร่องต่อหลักการขั้นพื้นฐานข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อรวมกัน
ท่านจะเห็นได้ว่า ตัวกระบวนการ กับ ตัวบุคลากร มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ หากกระบวนการขาดประสิทธิภาพ แต่บุคลากรมีประสิทธิภาพ ระบบไม่เอื้อต่อการทำงาน มันก็ไม่เวิร์ค ในทางกลับกันกระบวนการมีประสิทธิภาพ แต่คนไร้ประสิทธิภาพ ก็เช่นเดียวกัน ฉะนั้น ในทางอุดมคติมันต้องพัฒนา แก้ไขควบคู่กัน แต่ในความเป็นจริงถ้าจะต้องเลือก ก็คงถ่ายน้ำหนักไปที่ “วางระบบ” มากกว่า “ตัวคน” ทั้งนี้ เพราะ กระบวนการที่ดีจะความชัดเจนให้แก่ประชาชน ในการมีหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้ได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรม
(๔) จุดเริ่มของกระบวนการยุติธรรม
ผมขอฉายให้เห็นภาพรวมถึง ขั้นตอนการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรม ดังนี้
อำนาจอธิปไตย แบ่งอำนาจเป็น ๓ อำนาจ ได้แก่
๑. อำนาจบริหาร
ทำหน้าที่ บริหารราชการแผ่นดิน ประกอบด้วย
กระทรวงยุติธรรม รวมถึงหน่วยงานในสังกัด อาทิ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมพินิจและคุ้มครองเด็ก กรมราชทัณฑ์ ปปง. ปปส. กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
๒. อำนาจนิติบัญญัติ
ทำหน้าที่ ตรากฎหมายและตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ ได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
๓. อำนาจตุลาการ
ทำหน้าที่ พิจารณาพิพากษาอรรถคดี และปรับใช้กฎหมาย ได้แก่ ศาล (อันประกอบด้วย ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลทหาร และศาลชำนัญพิเศษอื่น)
หัวใจสำคัญที่สุดอยู่ที่ หลักการที่ว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของพลเมือง” ซึ่งตามรัฐธรรมนูญใช้คำว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย” หมายความว่า การใช้อำนาจของทั้งสามอำนาจนั้น ต้องเพื่อประโยชน์ของพลเมือง หรืออย่างน้อยที่สุดผู้ใช้อำนาจนั้น ต้องเกรงใจต่อเจ้าของอำนาจอธิปไตย
ดังนั้น จุดเริ่มต้นของกระบวนการยุติธรรม ควรเริ่มตั้งแต่กระบวนการยกร่างกฎหมาย ตรากฎหมาย (อำนาจนิติบัญญัติ) มาสู่การใช้อำนาจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม (อำนาจบริหาร) และท้ายสุดกระบวนพิจารณาพิพากษาคดี (อำนาจตุลาการ) ซึ่งต้องยึดโยงและสัมพันธ์กับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(๕) กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
อ้างอิง : ความตอนหนึ่งในคำประกาศเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๑ เนื่องในการเสวนา ๖๐ ปี สิทธิมนุษยชนสากลกับคดีที่ดินคนจน
อ้างอิง : ความตอนหนึ่งในคำประกาศเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๑ เนื่องในการเสวนา ๖๐ ปี สิทธิมนุษยชนสากลกับคดีที่ดินคนจน
มีดังนี้ “.....เช่นนี้แล้ว ปัจจัยสำคัญที่จะยุติปัญหาดังกล่าวได้ คือ สังคมโดยรวมต้องรับรู้ เข้าใจ และตระหนักถึงปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และจะทวีความรุนแรงขึ้นในอนาคต และพร้อมที่จะร่วมกันผลักดันให้เกิดการปฏิรูปที่ดินขึ้นในสังคมไทย โดยเร็วที่สุด ทั้งโดยการนำเสนอต่อรัฐบาล และรัฐสภาให้เร่งตรากฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร การดำเนินนโยบายกระจายการถือครองที่ดิน โดยผ่านมาตรการจัดเก็บภาษีที่ดินแบบก้าวหน้า และการจำกัดขนาดการถือครองที่ดิน เป็นต้น ในขณะเดียวกัน กระบวนการยุติธรรม ต้องให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการถือครองทำประโยชน์ที่ดินของประชาชนอย่างเป็นธรรม โดยคำนึงถึงหลักแห่งความเป็นจริง และบริบททางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไป หาไม่แล้ว ประชาชนโดยส่วนใหญ่จะยังคงเป็นผู้ถูกกระทำอยู่เช่นเดิม...”
ยกตัวอย่างข้างต้น เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า บางทีกฎหมาย/กระบวนการยุติธรรมก็ไปลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่น ออกกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดเขตป่าไม้ ซึ่งมีผลกระทบให้ผู้คนในพื้นที่ที่ถูกขีดเส้นต้องกลายเป็นผู้กระทำความผิด และดำเนินขั้นตอนทางกฎหมาย โดยไม่คำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่ เช่น กำหนดวงเงินประกันสูง เป็นต้น
ที่เป็นเช่นนั้น เพราะเรามองทุกอย่างเป็นกระบวนการ เป็นสายพานส่งต่อ ๆ กันไป @–กระทำผิดกฎหมาย –-จับกุม— ส่งฟ้อง—เข้าสู่กระบวนพิจารณาคดีในชั้นศาล—ตัดสิน—ลงโทษ ถ้าพบว่ามีความผิด--@ สุดท้ายมันมาประดังในชั้นสุดท้าย คือ ระบบงานราชทัณฑ์ ซึ่งเกิดปัญหาคนล้นเรือนจำ เพราะฉะนั้น หากพิจารณาการบริหารงานยุติธรรมแบบย้อนกลับ เราจะลดจำนวนผู้ต้องขังได้อย่างไร
๑. ต้องสร้างกลไก/มาตรการในการลดจำนวนคดีเข้าสู่กระบวนการ
๒. ต้องสร้างกลไก/มาตรการในการนำจำนวนคดีออกจากกระบวนการ
๓. ต้องสร้างกลไก/มาตรการกลั่นกรองข้อเท็จจริงก่อนเข้าสู่กระบวนการ
ไม่ใช่เริ่มต้นจาก Process ในกระบวนการยุติธรรม ต้องเริ่มจากการออกกฎหมาย อย่างที่กล่าวในหลักการว่า การใช้อำนาจต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ
การตรากฎหมาย ต้องไม่ให้สร้างปัญหาของการเพิ่มจำนวนผู้กระทำความผิด หรืออย่างน้อยรัฐต้องมีบทเฉพาะกาลเพื่อใช้จำแนกผู้กระทำก่อนหรือฝ่าฝืนกฎหมายในภายหลังให้ชัดเจน
การใช้อำนาจของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเกรงใจประชาชน ตรงนี้สำคัญเพราะเป็นเรื่องของทัศนคติ : อำนาจนิยม หรือ เสรีนิยม เช่น ระบบการออกหมายจับหรือการคุมขังบุคคล ซึ่งในปัจจุบันรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ “การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ” โดยในความเป็นจริงนั้น เจ้าหน้าที่ก็ดำเนินการตามกฎหมาย ตามขั้นตอน ตามระเบียบ –ไม่ผิดกฎหมาย— แต่ไม่คำนึงถึงความเหมาะควร เช่น จับในเวลากลางคืน กับผู้ต้องหาที่ไม่ได้เป็นอาชญากรรมร้ายแรงอะไร หรือแม้แต่ การใช้ดุลพินิจในการออกหมายจับก็ตาม ขาดมิติของการใช้อำนาจที่คำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของมนุษย์ เพราะคุ้นชินกับทัศนคติฝ่ายอำนาจนิยม ---หมายเหตุ หลักนิติรัฐ มิใช่ใช้อำนาจที่มีตามกฎหมาย แต่หากอยู่ที่การใช้อำนาจต้องอยู่บนพื้นฐานแห่งคุณธรรม
พอจับกุมบุคคลเพื่อนำมาสอบสวนค้นหาความจริง ต้องปฏิบัติโดยสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และจะปฏิบัติกับเค้าเสมือนเป็นผู้กระทำผิดไม่ได้ นี่ไม่นับรวมถึงการปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากสอบสวนแล้วปรากฏว่า พยานหลักฐานในสำนวนอ่อน หรือไม่สามารถกล่าวหาเค้าได้ ก็ต้องปล่อย
พอมาถึงชั้นอัยการ ซึ่งตามกระบวนการแล้ว มีหน้าที่ในการตรวจสอบความจริงของชั้นเจ้าพนักงาน ต้องกลั่นกรองข้อเท็จจริง/สำนวนคดีว่ากระทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย/ระเบียบ และน่าเชื่อถือรับฟังได้หรือไม่เพียงใด –บทบาทในการตรวจสอบตรงนี้ สามารถลดจำนวนปริมาณคดีและพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างมาก เช่น ใช้อำนาจตามกฎหมายในการไม่สั่งฟ้อง การชะลอการฟ้องคดี หรือบทบาทในการไกล่เกลี่ยคู่กรณี เป็นต้น
เมื่อคดีนำเข้าสู่การพิจารณาในชั้นศาล ศาลต้องตรวจสอบความจริงทั้งก่อนประทับรับฟ้อง และในชั้นพิพากษาคดีความ
ฉะนั้น ผมเห็นว่า ในการใช้อำนาจผ่านกระบวนการยุติธรรม จักต้องควบคู่ไปกับการคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตรงนี้ก็ตรงกับ มาตรา ๒๖ รธน. ได้เขียนไว้ชัดว่า การใช้อำนาจโดยองค์กรรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ
-------------------------
ข้อน่าคิด ส่วนมากบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม มักยึดหลักว่า อะไรถูกก็ว่าตามถูก สิ่งใดผิดก็ว่าไปตามผิด ---แต่ขอเพิ่มอีกหน่อยได้ไหมว่า ถูกก็ว่าไปตามถูก (ไม่เถียง) แต่อะไรที่ผิด ก็แก้ไขให้มันถูกมิได้หรือ ? เพราะกระบวนการยุติธรรมคงมิใช่มีไว้แปลงสภาพคนให้เป็นนักโทษ หากอยู่ที่กระบวนการยุติธรรมต้องเอื้อต่อการพัฒนาคน สังคม เศรษฐกิจและการเมือง เราต้องเห็นถึงความผิดปกติของการจำคุกแม่ที่ขโมยลูกขนุนเพื่อให้ลูกกิน มากกว่าการปรับใช้กฎหมายครบองค์ประกอบฐานความผิดลักทรัพย์ เหมือนกับการล่อซื้อกรณีนักศึกษาขายบริการทางเพศ แล้วถูกดำเนินคดีตามขั้นตอนแห่งกระบวนการยุติธรรม
หรือเหมือนกับกรณีนักศึกษาถูกแจ้งความจับข้อหาลักรถจักรยานยนต์ของเพื่อน เพราะความอยากได้ด้วยอารมณ์ชั่ววูบ ด้วยความคะนองของวัยรุ่น และผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความ ในชั้นตำรวจนักศึกษายอมรับสารภาพ แต่คดีไม่อาจยอมความได้ อัยการส่งฟ้อง ศาลตัดสินมีความผิด และนักศึกษารายนั้นมีประวัติอาชญากรติดตัว (ผิดว่าไปตามผิด ?—หรือ—ผิดก็แก้ไขให้มันถูกได้ไหม?)
-----------------------
บทส่งท้าย
ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งอยู่ที่ “การปลูกฝังทัศนคติของผู้ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม” เพราะบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมจำนวนไม่น้อยทีเดียวที่เป็นนักกฎหมาย ซึ่งโดยระบบการศึกษากฎหมายในปัจจุบัน ได้ถูกเกลื่อนกลืนตามองค์กรวิชาชีพค่อนข้างมาก (ในบางที่ถ้าไม่กล้าหาญพอ อาจถึงขนาดถูกครอบงำได้) จนทำให้ขาดมิติของการสอนให้ทราบถึงคุณค่าหรือคุณธรรมที่อยู่เบื้องหลังกฎหมาย : ผมเห็นว่าไม่เสียหายอะไร หากการศึกษาวิชานิติศาสตร์จะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นอีกปีหรือสองปี แต่ทำให้นักกฎหมายเป็นผู้ใช้อำนาจอย่างที่หัวสมองสัมพันธ์กับหัวใจ
-----------------------------------------------------------------
มีผู้กล่าวไว้ว่า : ประเทศที่เจริญแล้ว เค้าพยายามทำให้หุ่นยนต์เหมือนมนุษย์
แต่ประเทศที่ยังไม่พัฒนา เค้าพยายามทำให้มนุษย์เป็นหุ่นยนต์
--------------------------------------------------
หมายเหตุ
มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
หมายเหตุ
มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา ๒๖ การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
มาตรา ๓๙ บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่
กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่
กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้
(วรรคสอง) ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด
(วรรคสาม) ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้น เสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้
มาตรา ๔๐ บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้
(๑) สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง
(๒) สิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่องการได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย การได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสารอย่างเพียงพอ การเสนอ
ข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และพยานหลักฐานของตน การคัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการ การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะ และการได้รับทราบเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย คำพิพากษา หรือคำสั่ง
(๓) บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม
(๔) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพยานในคดีมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และการไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง
(๕) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย และพยานในคดีอาญา มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง และความช่วยเหลือที่จำเป็นและเหมาะสมจากรัฐ ส่วนค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ให้เป็นไป
ตามที่กฎหมายบัญญัติ
(๖) เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ
(๗) ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง
รวดเร็ว และเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
(๘) ในคดีแพ่ง บุคคลมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเหมาะสมจากรัฐ
-------------------------------------------------------------
กิตติบดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น